การดูแลด้านมิติแห่งจิตใจ เราทำอะไรได้ และ เราได้ทำอะไร ในห้องฉุกเฉิน


บางวันภาระงานช่างแสนหนักอึ้ง  ( มีผู้ป่วยอาการหนักมาพร้อมกันทีละหลายราย  ) ก็ได้แต่บอกกับตัวเองว่านี่เป็นบทพิสูจน์ในการเรียนรู้ที่จะคิดบวกอีกครั้งแล้วกระมังว่า  ตอนนี้เราจะมองมันในแง่ไหน  และเราจะ เผชิญหน้ากับมันอย่างไรให้ผ่านไปด้วยดี  คิดทีละเรื่องแก้ปัญหาทีละเรื่อง   ลองคิดให้ช้าลงลองทำให้ช้าลงตามที่อาจารย์พัฒนาบอกแล้วบางทีมันก็มีอะไรแทรกเข้ามาอีกหลายๆเรื่อง   เราก็ถามน้องที่ได้ไปอบรม SHA มาด้วยกันว่า   เราจะเอาเรื่องไหนก่อนดีนะ

                       บางครั้งในภาวะวิกฤติที่ทุกคนต่างวุ่นวายกับการช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยทางกาย  แล้วจิตใจนั้นเล่า

ใครจะช่วยเยียวยาพวกเขาเหล่านั้น ข้าพเจ้านึกถึงคำที่อาจารย์สกล  สิงหะ เคยบอกไว้ว่า 

    “  ตัวเราเองเท่านั้นที่จะรู้ว่าเราได้ทำอะไรหรือไม่ได้ทำอะไร  เราทำอะไรได้และเราทำอะไรไม่ได้ งานเราอาจจะ ยุ่งหรือวุ่นวายเสียจนเราคิดว่ามันแทบไม่มีโอกาสหรือเวลาที่จะได้เยียวยาใคร     หากเพียงเราคิดและตั้งใจว่าจะทำ

งานเยียวยาและการดูแลด้านมิติแห่งจิตใจ    ในผู้ป่วยเหล่านั้นอาจมีเพียงสักคนที่เรามองเห็นเขาแล้วเรารับรู้ หรือสัมผัสได้ว่าเขาต้องการการเยียวยาจากเราอย่างแท้จริง   ก็ขอให้เราได้ทำอย่างน้อยเพียง 1 รายในวันนั้นก็นับว่าเพียงพอและคุ้มค่าแล้ว ”

หมายเลขบันทึก: 426695เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2011 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ใจ สัมผัสได้ ด้วยใจ สวดมนต์แผ่เมตตาให้เขาไปด้วย ช่วยเขาไปเต็มที่ แค่นี้ก็ดีสุดๆแล้วนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท