วิธีป้องกันอันตรายน้ำมันทอดซ้ำ+น้ำมันมือสอง


กรุงเทพธุรกิจตีพิมพ์เรื่อง "น้ำมันใสๆ ใส่มะเร็ง", เนื้อเรื่องเกี่ยวกับน้ำมันมือสอง (น้ำมันทอดอาหารใช้แล้ว นำไปกรอง ฟอกจางสี ให้ดูคล้ายใหม่), และอันตรายจากน้ำมันโพลาร์สูง (น้ำมันทอดซ้ำหลายครั้ง) ในไทย

แนะนำให้อ่านต้นฉบับที่นี่ > [ น้ำมันใสๆ ใส่มะเร็ง ]

โครงการสำรวจสถานการณ์และพฤติกรรมน้ำมันทอดซ้ำในประเทศไทย โดยสถาบันวิจัยสังคม จุฬาฯ ทำการศึกษาใน 50 เขต(กทม.) และ 8 จังหวัดทั่วไทย (สิงหาคม 2553) พบว่า คนไทยใช้น้ำมันทอดซ้ำที่บ้าน 29.2%

อาหารทอดขายในกรุงเทพฯ ใช้น้ำมันทอดซ้ำ 54.66% และที่พิษณุโลก นครราชสีมา ลำปางพบเกิน 60%
.
อ.ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร กล่าวว่า น้ำมันใหม่มีสารโพลาร์ 5-6%, สารนี้จะเพิ่มถ้าทอดซ้ำด้วยความร้อนสูง (ทอดน้ำมันท่วม) โดยค่าปกติไม่ควรเกิน 25%
.
การทอดซ้ำเพิ่มสารโพลาร์ที่เสี่ยงความดันเลือดสูง และสารก่อมะเร็ง
.
น้ำมันใสและน้ำมันดำ(สีคล้ำ)ในไทยมีสารโพลาร์ใกล้เคียงกัน เนื่องจากมีการผลิต "น้ำมันมือสองเถื่อน" โดยนำน้ำมันเก่าไปกรอง ฟอกจางสีด้วยสารเคมี
.
มีการนำน้ำมันมือสองไปทาเส้นก๋วยเตี๋ยว เพื่อไม่ให้เส้นติดกัน และผสมในอาหารสัตว์ เพื่อขุนสัตว์ให้อ้วนเร็ว ซึ่งยังไม่ทราบว่า จะส่งผลอย่างไรต่อคนในระยะยาว
.
วิธีลดความเสี่ยงจากน้ำมันทอดซ้ำ และน้ำมันมือสองได้แก่
.
(1). "ลด-ละ-เลิก" การกินอาหารทอด-อาหารเส้นนอกบ้าน (ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ฯลฯ)
.
การกินอาหารทำเองที่บ้านอย่างน้อย 1 มื้อ/วัน ช่วยลดโอกาสได้รับสารพิษ และถ้าจำเป็นต้องซื้ออาหารเป็นประจำ, ควรหุงข้าวเอง โดยใช้ข้าวกล้องอย่างน้อย 1 มื้อ/วัน (เส้นใย-ไฟเบอร์-สารต้านอนุมูลอิสระ-สารอาหารในข้าวกล้องมีสูงกว่าข้าวขาวมากมาย)
 
 
 
 
(2). ถ้ากินอาหารเส้น (ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ฯลฯ) นอกบ้าน, ควรเลือกร้านที่ไม่ใช้หม้อต้มน้ำซุปแบบเชื่อมด้วยสารตะกั่ว (ใช้แก๊สเชื่อมสเตนเลส)
 
เลือกก๋วยเตี๋ยวน้ำมากกว่าแห้ง เนื่องจากก๋วยเตี๋ยวแห้งจะต้องใช้น้ำมันผสมกันเส้นติดคอ ทำให้ได้รับน้ำมันเพิ่มขึ้น
.
กินน้ำซุปในก๋วยเตี๋ยวให้น้อย เพื่อลดโอกาสได้รับสารตะกั่วจากหม้อต้มซุป และลดโอกาสได้รับน้ำมันทอดซ้ำ (น้ำมันส่วนหนึ่งจะละลายออกจากเส้นไปอยู่ในน้ำ)
.
 
(3). ลดเนื้อลงอย่างน้อย 1/2 เพื่อลดโอกาสได้รับน้ำมันมือสองที่ใช้ขุนสัตว์ให้อ้วน และลดไขมันสัตว์ เช่น ตัดไขมันสัตว์ออกก่อนปรุงอาหาร กินหมูไม่ติดมันแทนหมู 3 ชั้น ฯลฯ
.
เนื้อสัตว์ที่ผ่านการผลิตมาตรฐาน เช่น ของ C.P. ฯลฯ น่าจะมีความปลอดภัยสูงกว่าเนื้อสัตว์ที่ไม่รู้ที่มา
.
ควรกินโปรตีนจากพืชแทนสัตว์อย่างน้อย 1/2 เช่น เต้าหู้ โปรตีนเกษตร ถั่ว นมไขมันต่ำหรือนมไร้ไขมัน นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม (นมถั่วเหลืองที่ไม่เสริมแคลเซียมมีแคลเซียมต่ำ คือ 5-8% ของที่ร่างกายต้องการใน 1 วันต่อ 1 กล่อง)
.

(4). บะหมี่-เส้นหมี่-ก๋วยเตี๋ยวสำเร็จรูป น่าจะปลอดภัยกว่าก๋วยเตี๋ยวทั่วไป ทว่า... มักจะมีเกลือสูง และใช้น้ำมันปาล์ม

วิธีที่น่าจะดี คือ กินน้ำไม่เกิน 1/2 และทิ้งน้ำที่เหลือไป เพื่อลดโอกาสได้รับเกลือโซเดียม (เพิ่มเสี่ยงความดันเลือดสูง) หรือน้ำมันปาล์มมากเกิน
.
(5). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ และลดน้ำหนัก (ถ้าน้ำหนักเกิน)
.
สารโพลาร์และสารก่อมะเร็งจากน้ำมันทอดซ้ำส่วนใหญ่สะสมในเนื้อเยื่อไขมัน ยิ่งอ้วนยิ่งสะสมมาก
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านอยู่รอดปลอดภัยจากน้ำมันทอดซ้ำ-น้ำมันมือสอง และมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.
หมายเลขบันทึก: 426640เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2011 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จะพยายามดำเนินการตามนี้นะครับ

เพราะว่าชอบของมัน

เสียด้วย

ก๋วยจั๊บพอได้ไหมครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท