การวินิจฉัยชุมชนอย่างมีส่วนร่วม 1


เชื่อมต่อจากเครือข่ายทันตแพทย์ผู้นำสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก จับมือเครือข่ายเภสัชกรรมปฐมภูมิ หาพี่น้องผองเพื่อน ๆ สหวิทยาการมากกว่าแค่แวดวงสุขภาพ มาศึกษาชุมชนแบบมีส่วนร่วม

สงสัยจะถูกโฉลกเลข 6  ผ่านปี 2547 มาตั้งนาน  รอบปี 2554 นี้ ยังทำงานเริ่มที่ 6 จังหวัดอีก  ที่คงเดิม คือ หนองบัวลำภู  ขอนแก่น  หนองคาย  เพิ่มด้วย  เลย  กาฬสินธ์  ร้อยเอ็ด  ที่กระชับสัมพันธ์แน่นมาจากเครือข่ายทันตแพทย์ผู้นำสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก  แต่รอบนี้ต้องหาเพื่อนเภสัชกร  พยาบาล  และสหวิทยาการที่มากกว่าด้านสุขภาพมาร่วมด้วยยิ่งดี

วันที่  10 - 12  มกราคม  2554 ที่ห้องร่มไทร  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู  จึงเป็นที่เริ่มเรียน  การวินิจฉัยชุมชนแบบมีส่วนร่วม  ครั้งที่ 2 ของผู้เขียน  หลังจากเรียนปี 2547 แล้วเอามาใช้แค่บางส่วน  พร้อม ๆ เป็นพี่เลี้ยงกลุ่มไปด้วย

  หาเพื่อนให้ตรงป้ายชื่อ ทำความรู้จัก

พี่ฝน  ทพญ.วรางคณา  อินทโลหิต  ผู้รับผิดชอบจัดอบรม Node อิสานบน   วิทยากรหลัก คือ อ.โกวิท  พรหมวิหารสัจจา  และ อ.ภาสกร  บัวศรี  หรือ อ.หนาย  พี่เลี้ยงกลุ่มก็มี  หมอมิ้ง  ทพ.พีระยุทธ  เตโชฬาร  รพ.ภูกระดึง   พี่เถ่า  ทพญ.พัชราลักษณ์  เถื่อนนาดี  รพ.บ้านฝาง และผู้เขียน  แบ่งกลุ่มหอย  ปู กุ้ง

 หลังอาจารย์บรรยายกระบวนคิดเชิงระบบ  หลักการการทำงานโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  องค์ประกอบของชุมชน  เทคนิคการศึกษาชุมชนต่าง ๆ แล้ว  กลุ่มแรกระดมสมอง  นำเสนอการแตกองค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม

 กลุ่มสอง  องค์ประกอบชุมชนด้านสังคม

  กลุ่มสาม  ด้านเศรษฐกิจ

  รุ่งขึ้นไปบ้านถ้ำกองเพล  ทีมชุมชนแนะนำตัว  อาจารย์และทีมชุมชนเองช่วยกันแบ่งเป็นผู้ให้ข้อมูล  แต่ตอนเอาไปทำจริงที่พื้นที่ของเรา  ต้องช่วยกันศึกษา  เก็บข้อมูลของชุมชนด้วยกัน

  เดินรอบหมู่บ้าน

  บ้านดั้งเดิม  ยุคแรกก่อตั้ง  มีไม้มาก

  หลักบ้าน

  สนทนากลุ่ม  เก็บข้อมูลด้านเศรษฐกิจ

  แผนวาดทรัพยากร

  ถ้ามีเวลาสร้างสัมพันธ์  จนไว้เนื้อเชื่อใจ  ก็จะเป็นสัมภาษณ์แบบเจาะลึก  วันนี้ก็เป็นสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง (Semi Structure Interview: SSI)  ตามที่เราแตกองค์ประกอบหรือแตกโครงกระดูกมาก่อนแล้ว

ฝนตก  ลมแรง  หนาว  พักทานข้าวรอบกองไฟ

  จริง ๆ ควรเริ่มวิเคราะห์ในหมู่บ้าน  ขาดอะไรจะได้เก็บข้อมูลเพิ่ม  นี่คือแบบฝึกหัด  อาจารย์ชมว่าเก่ง  พวกเรามีประสบการณ์มาบ้าง  ตื่นเช้าอีกวัน  นำเสนอ  แผนวาดสวยมาก  ไม่น่าเชื่อว่าทำวันเดียว  กลุ่มสังคมก็ข้อมูลละเอียดดี

  กลุ่มเศรษฐกิจก็ข้อมูลเพียบ

  สุดท้าย  ที่ปรึกษาตลอดกาล  ทพญ.สุรัตน์  มงคลชัยอรัญญา  สำนักทันตสาธารณสุข  กรมอนามัย  "เปลี่ยนความคิด  ชีวิตจึงเปลี่ยน"

กลับมาเขียนโครงการเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งจากรากฐานของชุมชน  อำเภอสระใคร  จังหวัดหนองคาย  ปี 2554  กิจกรรมแรก คือ ประชุมเชิงปฏิบัติการ  วินิจฉัยชุมชนแบบมีส่วนร่วม  ที่อำเภอสระใครทำ  4  ชุมชน  เพิ่งจัดเมื่อ 2 - 3 , 11  กุมภาพันธ์นี่เอง  แล้วตอนหน้าจะเล่าความสนุกสนาน  การสร้างทีมที่ต้องก้าวข้ามวัฒนธรรมของต่างหน่วยงาน  ความไม่รู้บางอย่างที่เป็นครู 

รออ่านนะคะ

ราตรสวัสดิ์ค่ะ

ธิรัมภา

หมายเลขบันทึก: 425982เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2011 02:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะคุณหมอ

  ตามมาชมกิจกรรมดีๆค่ะ น่าสนใจมาก

  เป็นกำลังใจในการทำงานค่ะ

 สุขสันต์วันแห่งความรักนะค่ะ

 

 

สวัสดีค่ะคุณถาวร

ขอบคุณนะคะที่แวะมาเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ

วันหยุดนี้น้าจะเขียนได้อีกตอน

อ้อ

ตามมาชมเจาะลึกชุมชน

ขอชื่นชมนะคะ

ขอบคุณนะคะ...คุณครู Ico48

ในโครงการนี้มีคุณครูมาเป็นวิทยากรกระบวนการด้วยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท