การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550


แก้ไขเพื่อใคร ใครได้ประโยชน์สูงสุด

รัฐธรรมนูญ 2550 รัฐธรรมนูญของประชาชน ???

หลบกระแสร้อน ๆ จากการเมืองระหว่างประเทศ มาดูกระแสการเมืองภายในกันก่อนดูกว่า ซึ่งดูเหมือนตอนนี้ความสนใจจะไปอยู่กันแถบชายแดน

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นวันสำคัญวันหนึ่งทางการเมืองไทย ที่น่าจับตามองครับ เพราะเสมือนหนึ่งว่าเป็นวันชี้ชะตา รูปแบบการเมืองไทยในอนาคตอันใกล้เช่นเดียวกัน ชี้ชะตาหน้าตารัฐบาลหน้าได้เช่นกัน เพราะเป็นการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 190 และ 93-98 วาระ 3 ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์

 ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนหน้าที่เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ก่อนที่มีการโหวตในวาระที่ 1 มีบรรยากาศของฝุ่นคาวทางการเมืองกันอย่างไรบ้าง แต่ก็เรียบร้อยโรงเรียนประชาธิปัตย์ไปแล้ว ในการลงมติวาระ 2 รับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 93-98 กับสูตร 375+125  ด้วยคะแนน 298 : 211 คน งดออกเสียง 35 ไม่ลงคะแนน 3

 

มีลูกศิษย์ถามผมว่าผมคิดอย่างไรกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

มีความคิดเห็นอย่างไรกับสูตรของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ก่อนที่ผมจะตอบว่าผมรู้สึก นึกคิดอย่างไรกับประเด็นดังกล่าว ก็เลยไปหาข้อมูลที่อธิบายได้ในทางสถิติว่าประชาชนเขาคิดอย่างไร กันก่อนจะดีกว่ากับเรื่องของรัฐธรรมนูญ

 สำนักงานสถิติแห่งชาติ ร่วมกับคณะกรรมการ พิจารณาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการ ปฎิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ประชากรกลุ่มตัวอย่างประมาณ 6000 คน ทั่วประเทศ ในระหว่างวันที่ 1-12 ตุลาคม 2553 กระจายทุกจังหวัด

พบว่าผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไข เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 พบว่า
    ประชาชนร้อยละ 50.2 อ่านรัฐธรรมนูญฯ และร้อยละ 49.8 ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญฯ เลย     เรื่องความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฯ อยู่ในระดับน้อยจนแทบจะไม่มีความรู้ หรือไม่เข้าใจ ร้อยละ 37.7 และ  ร้อยละ 37.3 ตามลำดับ                

ส่วนเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พบว่า ประชาชนร้อยละ 34.1เห็นว่าควรมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ      ร้อยละ 12.9 เห็นว่าไม่ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ

ในประเด็นของการแก้ไขในมาตราที่ 190  ไม่ค่อยให้ความสนใจกันเท่าที่ควร ทั้งที่มีความสำคัญ เพราะเป็นเรื่องใหญ่ระดับประเทศ เป็นเรื่องของรัฐต่อรัฐ

แต่ประเด็นที่คนส่วนใหญ่ให้ความสนใจดูเหมือนเป็นเรื่องของที่มาของส.ส. มากกว่าในมาตรา 93-98 ซึ่งในรธน.ปัจจุบันใช้ 2 ระบบรวมกัน คือ แบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ

ในประเด็นของการแบ่งเขตเลือกตั้งนั้น

เห็นด้วยกับสาระที่แก้ไข     ร้อยละ 39.7

เห็นด้วยกับสาระเดิมไม่ต้องแก้ไข ร้อยละ 33.0

ส่วนในแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งใช้แบบกลุ่มจังหวัดนั้นพบว่า

เห็นด้วยกับสาระที่แก้ไข     ร้อยละ 37.6

เห็นด้วยกับสาระเดิมไม่ต้องแก้ไข ร้อยละ 29.7

แต่ที่วิ่งกันฝุ่นตลบมันอยู่ที่ประเด็นของจำนวน ส.ส.

สาระเดิม : ระบุว่า ส.ส. ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 480 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเขตเดียวหลายคน จำนวน 400 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนจำนวน 80 คน โดยแบ่งเป็น 8 กลุ่มจังหวัดกลุ่มจังหวัดละ 10 คน

สาระที่แก้ไข : เสนอให้มี ส.ส. ทั้งหมด จำนวน 500 คน มาจากการเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียว จำนวน 375 คน และจากบัญชีรายชื่อโดยใช้บัญชีรายชื่อเพียงบัญชีเดียวทั้งประเทศ จำนวน 125 คน โดยไม่มีการกำหนดเกณฑ์คะแนนเสียงขั้นต่ำสำหรับบัญชีรายชื่อ

จากการสำรวจพบว่า

เห็นด้วยกับสาระที่แก้ไข     ร้อยละ 33.8

เห็นด้วยกับสาระเดิมไม่ต้องแก้ไข ร้อยละ 31.3

ถ้าตอบแบบนักการเมืองที่ ชอบอ้างประชาชน คุณคิดว่าตอบอย่างไร

แต่ตอบแบบครู ก็ต้องถามย้อนกลับไปยังนักเรียน ว่า "นักเรียนจะได้รับประโยชน์อย่างไร จากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะจำนวนและที่มาส.ส. "

ถ้าเป็นคุณ

++++++++++++++++

++++++++++++++

++++++++++

+++++

+++

++

+

คุณจะตอบอย่างไร???

เพื่อให้การแก้ไขดังกล่าวผ่านการมีส่วนร่วม โดยเฉพาะเรื่องของการรับรู้ของประชาชน ซึ่งก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นเดียวกัน

หมายเลขบันทึก: 425407เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2011 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ

เพราะความวุ่นวายทางการเมืองไม่รู้จบสิ้นทำให้พวกเราต้องรับความเดือดร้อนเต็ม ๆ เลยนะคะ

สวัสดีครับคุณครูคิม

เห็นชอบครับ5555+++

การเมืองไม่นิ่ง ประชาชนเป็นผู้รับเคราะห์ชัดเจนครับ

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยมมาเยือน

เรียบร้อยไปด้วยดีหรือเปล่าไม่แน่ใจครับ

แต่ก็ผ่านวาระ 3 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... มาตรา 93-98 (ที่มาของส.ส. สูตร 375 + 125 )  วาระ 3   ที่ประชุมมีมติด้วยคะแนนเห็นชอบ  347   ไม่เห็นชอบ    37  เสียง  งดออกเสียง  42      ซึ่งถือว่าเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งตามที่ได้กำหนดไว้ 312 เสียง ผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา93-98  ที่มาของส.ส.    โดยส.ส.พรรคเพื่อไทย วอร์กเอ้าส์  ไม่เข้าร่วมประชุม
        
 ก่อนหน้านี้  ที่ประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ...    ที่ประชุมมีมติด้วยคะแนน 397 ต่อ 19 เสียง  งดออกเสียง 10   ซึ่งถือว่าเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งตามที่ได้กำหนดไว้ 312 เสียง ผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ว่าด้วยประเภทหนังสือสัญญาระหว่างประเทศที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา 

จากนี้ จะต้องนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมที่ผ่านวาระ 3   ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย  ภายใน 20 วัน เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป

อ้างอิงจาก มติชนออนไลน์

  • สวัสดีค่ะ
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                        

  • มาชื่นชมกิจกรรมดีๆ
  • และมีข่าวดีมาบอก

สวัสดีค่ะคุณบินหลาดง

  • สุขสันต์วันครอบครัวนะคะ

สวัสดีครับคุณบุษราIco48

คุณIco48 เบดูอิน

คุณIco48 คุณยาย

ขอบคุณมากๆ ครับสำหรับไมตรีจิตและกำลังใจครับ

ในหลวงโปรดเกล้าฯรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไข มาตรา 190 และมาตรา 93-98 ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาวันนี้ (4 มี.ค.54) อ้างอิง TNN_Hotnews

รักและเคารพเสมอ

อัญชนก

 

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมเยือนหลังจากห่างหายไปนาน แต่ยังระลึกถึงกันเหมือนเดิมค่ะ
  • วันนี้ได้นำหนูน้อยน่ารักมาแนะนำกันค่ะ อย่างไงก็ฝากไว้ในอ้อมอกอ้อมใจอีกคนนะค่ะ 
  • ด้วยความระลึกถึงค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                                   ภาพขนาดย่อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท