ภาษาเมืองล้านนาวันละคำตอน "หุย"


คำว่า "หุย" คืออาการที่ผู้คนส่งเสียงโหยไห้วิงวอนเป็นเสียงยาวเยือกเย็นฟังแล้วโศกเศร้า

ค่ำลงเย็นลงแสงยามพลบโพล้เพล้ผู้คนในหมู่บ้านได้ยินเสียงไห้หุยเยือกเย็นโหยหวลยาวยืด   หุย....หุย...หุย.....เสียงดังเริ่มต้นแล้วอ่อนล้าเลือนหายแผ่วเบาเป็นห้วง ๆฟังแล้วเสียงกัดเสียงเย็นวังเวงในหัวใจลึกๆ..ผู้ที่มีประสบการณ์ย่อมรู้ดีว่านั่นคือเสียงหุยหรือโหยไห้ของผู้หญิงที่ผีก้ะหรือผีปอบเข้าสิง บรรดาชาวบ้านต่างวิ่งไปหาต้นเสียงเพื่อต้องการทราบว่าผีก้ะเข้าสิงใครกันนะ...

แต่บางครั้งเสียงหุยไห้เกิดขึ้นจากเสียงร้องไห้โหยหาของผู้คนหลายๆคนนั่นแสดงว่าผู้คนที่โหยหุยนั้นคือญาติพี่น้อง   ลูกหลานของผู้เสียชีวิตใหม่ๆหรือเพิ่งสิ้นลมหายใจต่างร่ำไห้โหยหวล โดยเปล่งเสียงร้องหุยหาเสียใจแบบยาวยืด...

พี่น้องเราหลายคนที่อยู่ต่างแดน  เมื่อไปเที่ยวตามเมืองล้านนามักสงสัยว่าคำว่า "หุย" กับคำว่า "ไห้" มันต่างกันอย่างไร?

หากเราลองพิเคราะห์ดูแล้วคำว่า "ไห้" คืออาการที่คนร้องไห้   มักมีอาการสะอึกสะอื้นแผดเสียงสั้นๆฮือๆ..ๆ....ๆอาจเป็นอาการที่แสดงถึงการเจ็บปวดเนื้อตัว ที่ถูกตี เฆี่ยน ฟาด  หรืออาจเป็นการไม่พอใจ  ไม่ถูกใจ ไม่ต้องการที่จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้จึงร้องไห้สะอึกสะอื้น  หรือบางคนอาจแอบร้องไห้แบบน้ำตาซึมตาแดงกระซิกๆ

ส่วนคำว่า "หุย" นี่สิ มันส่งเสียงโหยหวลสุดๆแบบลืมตัว จนทำให้ผู้ได้ยินขนลุก โดยเฉพาะเสียงหุยของคนที่ผีก้ะกำลังเข้าสิง แบบที่เรียกกันว่า "หุยเสียงกัดเสียงเย็น" มันมีทั้งเสียงหวิวหวีดวิงวอนโศกเศร้า ได้ยินแล้ววังเวงแท้บางครั้งเรียกกันว่า "เสียงหุยดังจ้อกๆ"

ด้วยเสียงหุยที่ฟังแล้ววังเวงฟังแล้วมีเสียงคล้ายหุยๆๆๆๆ หวีดหวิวแต่มีเสน่ห์ม่วนงันแฝงอยู่นี่เองศิลปินที่เก่งเพลงซอจึงนำท่วงทำนองเสียงโหยหวลมาใส่ลงในคำค่าวแล้วอ่านเอื้อนค่าวนั้นเป็นเสียงโหยไห้รำเปิงกึ๊ดเติงหา(รำพึงคิดถึง)เรียกกันว่า"จ๊อย"

บ่อยครั้งเรามักได้ยินคนที่มีอาการไม่สมประกอบเมื่อเผลอสติลืมตัวโดยเฉพาะคนที่เป็นโรคลมผิดเดือนหรือโรคไม่ได้อยู่ไฟอาจมีอาการทั้งไห้ๆหุยๆระคนปนกันดูๆแล้วน่าสงสารแท้เน้อ...

มันมีข้อต่างอยู่บ้างที่ว่าการร้องไห้นั่นนะอาจเป็นการที่ดีใจสุดๆจนร้องไห้...หรืออย่างน้อยดีใจแล้วก็น้ำตาซึม..แต่ไม่มีใครนะที่ดีใจแล้วหุยวิงวอน..เออนี่แหละตรงนี้นี่เองข้อแตกต่างระหว่างไห้กับหุย......

โอ้ย..กว่าจะลงเอยได้ต้องเล่าวกวนหลายรอบแทบจะไห้จะหุยเลยเน้อหมู่เฮา

หมายเลขบันทึก: 425342เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2011 20:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีครับ คุณครูNikhom..ที่เคารพ..ผมดีใจอย่างมากที่ได้มีโอกาสอ่านเรื่องราวต่างๆที่เป็นวิถีชีวิตของคนไทย(ล้านนา)อันทรงคุณค่า..ด้วยความบังเอิญ ที่ผมพยายามศึกษาค้นคว้ารวบรวม ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของคนไทย ที่เรียกว่า มวยไทย โดยหวังว่า จะค้นหาวิธีการสร้างสุขภาพของคนไทย แบบวิถีไทย..ซึ่งมุ่งเน้น การพัฒนาจากภายในจิตใจ..ขอขอบพระคุณ สำหรับมรดกภูมิปัญญาอันล้ำค่า ที่คุณครูได้บันทึกถ่ายทอดไว้ ด้วยจิตเมตตากรุณาต่อลูกหลานไทย..หากมีโอกาสอยากจะมาขอกราบฝากตัวเป็นลูกศิษย์คุณครูด้วยสักคน ครับ..

ไหว้สาครับลุงรักชาติราชบุรี...ขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้.....

แม่ไม้มวยไทยที่ผมศึกษามีสามขุมที่เท้าจะต้องสับเปลี่ยนในการฝึก....

แต่ในภูมิปัญญาล้านนาในการต่อสู้เรียกกันว่า "เจิง" หมายถึงชั้นเชิง แม่ไม้ต่างๆ    มีทั้งเจิง(แม่ไม้)ห้าขุม    เจ็ดขุม   สิบสองขุม    บางครูมีถึง สิบเจ็ดขุมแล้วแต่ครูคิดสร้างสรรค์

เจิงมีทั้งเจิงดาบ  เจิงหอก   เจิงฆ้อน   เจิงมือเปล่า    เจิงป้อดหรือเจิงก้อม(สั้น)สิ่งเหล่านี้เป็นศิลปะป้องกันตัวทั้งส้นครับ

แต่น่าเสียดายปัจจุบันหาคนที่สืบทอดได้ยาก  ส่วนมากมักเรียนแล้วนำความรู้ไปหากินในการแสดง หรือบางครั้งการสอนก็เรียกเก็บเงินแพงๆ มันเป็นสนิมกัดกร่อนศิลปะล้านนาน่าเสียดายแท้

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน......พรหมมา

สวัสดีค่ะลุงหนานมาเยี่มค่ะ การหุยนั้น สมัยใหม่ได้ยินกันมากๆกับการดีใจถูกใจสุดๆ  ก็จะกรี๊ดร้อง จะอันเดียวกับ หุย  ไหมคะ  ใครพูดไรถูกใจก็ หุย  เอ๊กๆๆๆ เสียงดังๆๆ  อิอิ 

ไหว้สาคุณรินดาครับ...

การกรีดร้องดีใจบ่ใช่หุยเพราะมันไม่มีเสียงโหยหวลกัดเย็น..การดีใจเภาษาล้านนาเราเรียกกันว่า  "หวีก"...เท่านั้น

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน...พรหมมา

  • สวัสดีค่ะ
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ

                        

ไหหว้สาครับคุณบุษรา...

ขอบคุณที่เข้ามาแว่อ่านและอวยพร ขอให้มีความสุขเช่นกันครับ...

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน....พรหมมา

สวัสดีเจ้า ลุงหนานพรหมมาเจ้า

ซ้ำว่าอยู่คนเดียว พอมาอ่านความหมายว่า หุย  ก็ทำหื้อขนคิงลุกเหมือนกั๋นน่อเจ้า ตึงเงียบตึงงัน ท่าจะได้เปิดทีวีเป๋นกู้แล้วเจ้า   จะรออ่านแหมเจ้า  ขอบคุณเจ้า...

สวัสดีครับคุณเมียวดี....

หันชื้อแล้วนึกว่ามาจากเมืองพม่า...เป๋นคนยองหละปูนน้อ...

เปิดทีวีผ่อแล้วก็ม่วนคนเดียว..เน้อ....อย่าไปผ่อหนังผีก็แล้วกั๋นเจ้า....เกิดว่าหุยแล้วไผมามาผ่อกอยอิหล้า.....

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน.....พรหมมา

  • ไม่อยากได้ทั้งไห้ ทั้งหุยเลยเจ้า ลุงหนาน
  • วันนี้วันมาฆบูชาไปทำบุญที่วัดมาแล้ว
  • กำลังจะไปทำทานโดยการไปเยี่ยมลูกศิษย์ตัวเล็กๆเด็กป.๑
  • ที่ป่วย ติดเชื้อที่ขั้วหัวใจ ปอดบวม และตับ นอนพุงป่อง น่าสงสาร
  • เย็นนี้ว่าจะไปเวียนเทียน กุศลผลบุญคงจะส่งผลให้ข้าเจ้าม่วนอ๊กม่วนใจ๋ดีพ่องเน้อ..
  • ไปตวยกันก่อเจ้า ลุงหนาน..

 

สวัสดีเจ้าต้นส้มแสนรัก.....

ขออนุโมทนาตวยเน้อ..ลุงหนานก็ไปวัดเหมือนกั๋นเจ้า...ไปฟังธรรม  ตุ๊เจ้าสวดเบิกตลอดคืนในวันเดือนห้าเป็งเจ้า.....

ต่ามตำราที่ลุงหนานเฮียนเกี่ยวกับแพทย์แผนไทยมานั้น  ละอ่อนพุงป่องหมอเมืองว่า  โรคขางขะยือผามม้ามย้อยเจ้า.....

วิธีที่ดีคือเอาผักคาวตองดิบประมาณ   ใบ มาใส่น้ำ 1 แก้ว  แล้วปั่นเอาน้ำสดๆดื่มกินแทนน้ำจักช่วยได้เจ้า....คาวตองฮักษาปอดและตับเจ้า....

แถมอย่างเอาขาง  (ผาลไถหรือเศษหม้อขางแตก)มาเผาไฟแล้วสู่ลงน้ำสมุนไพร(นำสมุนไพรที่เป็นยาพื้นบ้านมาแช่ในน้ำให้น้ำสมุนไพรออกมาแล้วดเผาขางสู่ดังกล่าวแล้ว)  ปรึกษาหมอเมืองเขามีวิธีฮักษาเจ้า....

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน....พรหมมา

สมัยละอ่อนเกยได้ยินเหมือนกั๋นเจ้า ตาวันแลงหมู่ละอ่อนเฮากำลังเล่นกั๋น ได้ยินเสียงหุย ตึงปากั๋นหล้นไปผ่อเปิ้น ...คนตางใดก็หล้นมาเต็มก๋างข่วงบ้าน มีหมอคาถาอยู่บนเฮือนหั้น ได้ยินเปิ้นว่าออกแล้ว ...ผีกะออกไปแล้ว ....กึดได้เมื่อป้อหนานมาอู้อื้อฟังนน่บ่าดายเน้อเจ้า...มันเป๋นดีกั๋วแต้ๆ เสียงหุยนี่นา..ละก็เมื่อใดก็นเป๋นคนนี้แหละตี้หุยนั้นนา ...แต่บ่าเดี่ยวเปิ้นก็บ่าเกยหุยแล้ว คงเป๋นเพราะผีกะบ่ามีแล้ว อี้กาเจ้า...มันหายไปตั้งแต่เมื่อใดก็บ่ฮุูเหมือนกั๋นเจ้า

ไหว้สาครูดาหลาครับ...

ปัจจุบันละอ่อนเกิดมาแล้วเขาเอาแชมพูมาสระผมสารเคมีในแชมพูทำลายรากผมหอมที่จะเป็นสื่อให้วิญญาณผีก๊ะเข้าสิงคนนั้นไม่มีผมหอมอีก  วิญญาณผีก้ะจึงไม่สามารถเข้าสิงคนได้...

ไม่เหมือนคนเมื่อก่อนโน้นเขาเอามีะกรูดหรือสมุนไพรที่ไม่มีสารเคมีทำลายผมหอมมาสระผมให้ทารก  สารผมหอมจึงมีอยู่สามารถเป็นสื่อให้ผีก้ะเข้าสิงคนได้ครับ...

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน.....พรหมมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท