เมนูสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง : ตอน "ทานอะไรดีเมื่อมีเม็ดเลือดต่ำจากการรักษา"


          สวัสดีค่ะ หลังจากที่หนึ่งได้นำเมนูสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบมาแนะนำไปแล้วในบันทึกนี้ => คลิกเลยค่ะ^^
          เมื่อสัปดาห์ที่แล้วหนึ่งได้พูดคุยกับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกที่มาฉายแสง ช่วงสอสัปดาห์มานี้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลียมากขึ้น และผลเลือดก็มีเม็ดเลือดแดงต่ำ ต้องให้เลือด ๒ ครั้งแล้วค่ะ ภาวะซีดในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เสียเลือดจากอาการเลือดออกทางช่องคลอด ผลข้างเคียงจากการฉายแสงและให้เคมีบำบัด นอกจากนี้ผู้ป่วยยังทานอาหารได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอีกด้วย หลายๆสาเหตุดังกล่าวล้วนส่งผลให้การตรวจเลือดในแต่ละสัปดาห์พบว่ามีภาวะซีดได้ค่ะ เมนูแนะนำในวันนี้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเม็ดเลือดต่ำ ทำง่าย ไม่ยุ่งยาก แม้แต่คนที่ทำอาหารไม่เป็นอย่างหนึ่งก็สามารถทำได้ค่ะ อิอิ นั่นคือ "ไข่เจียวฝรั่งเศส" ชื่อเมนูอาจฟังดูไฮโซ หรูหรา ยุ่งยากไปรึเปล่า อิอิ แต่จริงๆแล้วไม่ได้ยุ่งยากอะไรเลยค่ะ คล้ายๆกับไข่เจียวไทยนี่เอง ลองดูนะคะ
ไข่เจียวฝรั่งเศส
ส่วนผสม
          ๑. ไข่ไก่ ๔ ฟอง    
          ๒. นมข้นจืด ๒ ช้อนโต๊ะ
          ๓. เกลือป่น ๑/๒ ช้อนชา
          ๔. พริกไทยป่น ๑/๒ ช้อนชา
          ๕. น้ำซุป ๒ ช้อนโต๊ะ
          ๖. น้ำมันพืช ๒ ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
          ๑. ผสมไข่ นมข้นจืด น้ำซุป พริกไทย เกลือ เข้าด้วยกัน ตีให้ฟู
          ๒. นำกะทะตั้งไฟกลาง ใส่น้ำมัน พอร้อนใส่ส่วนผสมข้อ ๑ ลงไป ลดไฟอ่อน เมื่อไข่สุกจึงพับริมเข้าหากันเป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบพับ ๓ ครั้ง จัดใส่จานทานพร้อมข้าวสวยร้อนๆ  
          เมนูนี้ให้พลังงาน ๔๙๗.๘ แคลอรี่ ช่วยเพิ่มเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะเม็ดเลือดต่ำ อ่อนพลีย 
          หนึ่งขอฝากเมนูนี้ไว้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง (ผู้ที่ไม่ป่วยก็สามารถทานได้ค่ะ ^^) เผื่อว่าเบื่อไข่เจียวไทย ลองเปลี่ยนมาชิมเมนูไข่เจียวฝรั่งเศสดูนะคะ
ขอขอบคุณ
ดร.กมล ไชยสิทธิ์ นักกำหนดอาหารและนักเภสัชวิทยา ที่อนุเคราะห์ตำรับอาหาร
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
ภาพประกอบจาก internet
ทุกท่านที่แวะมาทักทาย แสดงความคิดเห็น เสนอแนะ และลปรร. ค่ะ ^^
หมายเลขบันทึก: 424786เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2011 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะคุณยาย

ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับกุหลาบสวยๆและกำลังใจ ^^

กินยาสมุนไพรไทย ด้วยซิครับ  อย่าจำกัดใช้แต่ความรู้โภชนาการสากล  ให้ค้นคว้าการใช้มรดก ความรู้ภูมิปัญญาไทย  เช่น ยาบำรุงโลหิต  ของประเทศไทยเรา  ใช้ช่วยมาหลายรายแล้ว ราคาไม่แพง ไม่เป็นพิษต่อตับไต   รพ.หาดใหญ่ มีใช้มานานแล้วครับ

เรียนเสนอ เพื่อพิจารณา

ขอบคุณค่ะอ.วีรพัฒน์ ^^

สมุนไพรไทยก็เป็นอีกอย่างที่เป็นภูมิปัญญาไทย คนไทยตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายายของเรานำสมุนไพรไทยมาปรุงเป็นอาหาร หรือเป็นผักเคียงทานกับน้ำพริก ทั้งอร่อยและได้ประโยชน์อีกด้วยจริงๆค่ะ

ที่โรงพยาบาลหาดใหญ่ ใช้สมุนไพรอะไรช่วยเหลือผู้ป่วยเม็ดเลือดต่ำแล้วได้ผล น่าสนใจมากค่ะ หนึ่งคงต้องเรียนรู้และขอคำแนะนำจากอาจารย์วีรพัฒน์ด้วยค่ะ

  • จะบอกว่าผลไม้ที่ชื่อว่ากล้วยน้ำหว้าก็มีประโยชน์ไม่แพ้กันสำหรับผู้ป่วยที่ให้คีโมหรือฉายแสงที่ไม่ชอบทานไข่ เพราะลูกชายของดิฉันก็เป็นมะเร็ง ไปหาหมอทุกสัปดาห์ก็ชอบมีปัญหาว่าเกล็ดเลือดต่ำ เลือดจางบ้าง แต่มีคนแนะนำให้ทานกล้วยน้ำหว้าจะช่วยได้เยอะ  ลองทานดูทานเยอะๆจะช่วยได้เยอะ

สวัสดีค่ะคุณเบญญาภา

  • เป็นข้อมูลที่สุดยอดและมีประโยชน์จริงๆค่ะ ขอบคุณที่นำมาแบ่งปัน
  • กล้วยน้ำว้า มีสรรพคุณมากมายจริงๆค่ะ กล้วยน้ำว้าจะเหมาะแก่ผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดแดงต่ำที่ไม่ชอบทานไข่ได้อีกหนึ่งทางเลือกจริงๆอย่างที่คุณเบญญาภาบอกค่ะ เนื่องจากคุณค่าทางโภชนาการของกล้วยน้ำว้า ในบรรดากล้วยทั้งหลาย กล้วยน้ำว้าจะให้พลังงานมากที่สุดกล้วยน้ำว้าห่ามและสุกมีธาตุเหล็กในปริมาณ สูง ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินซี
  • นอกจากนี้ในกล้วยน้ำว้ายังมีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีน และใยอาหาร
  • กล้วยน้ำว้าทุกสถานะไม่ว่าดิบ ห่าม หรือสุก สามารถนำมาประกอบอาหาร ได้หลายรูปแบบ และรสชาติความอร่อยก็ไม่ซ้ำแบบกัน ตัวอย่างเช่น กล้วยน้ำว้าสุกงอม นำมาครูดหรือขูดเบาๆ สามารถใช้เป็นอาหารเริ่มต้นที่ดีสำหรับเด็กทารก เนื่องจากย่อยง่าย ช่วยระบายท้อง ส่วนกล้วยน้ำว้าดิบและห่าม นำมาใช้ทำแกงคั่ว ทำกล้วยฉาบ ปิ้ง นึ่ง ทอด อบ กวน และเชื่อม สำหรับกล้วยน้ำว้าสุก ก็จะนำมาทำเป็นของหวาน เช่น กล้วยบวชชี กล้วยแขก กล้วยตาก ขนมกล้วย นอกจากนั้นแล้วส่วนที่เป็นดอกกล้วย หรือที่เรียกว่า หัวปลี สามารถนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของแกงเลียง ใช้เป็นอาหารบำรุงน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอด หรือใช้ใส่ต้มข่า ต้มยำ ยำหัวปลี หรือลวกและเผาจิ้มน้ำพริก ตลอดจนใช้เป็นเครื่องเคียง ผัดไทย ผัดหมี่ เต้าเจี้ยวหลน กะปิหลน ขนมจีนน้ำพริก ก็ช่วยเพิ่มรสชาติอาหารให้อร่อยมากยิ่งขึ้นได้
  • ผลสุก มีเบต้าแคโรทีน ไนอาซีน ใยอาหาร และเพคติน จึงมีสรรพคุณในการหล่อลื่น ช่วยให้ระบบขับถ่ายคล่องขึ้น ช่วยระบายท้อง และใช้เป็นยาระบายได้เป็นอย่างดี
  • ผลดิบ มีสารแทนนิน และเพคติน ซึ่งมีฤทธิ์ฝาดสมาน สามารถรักษาอาการท้องเสียที่ไม่รุนแรงได้ โดยรับประทานครั้งละครึ่งผล /๑ ผล อาการท้องเสียจะทุเลาลง
  • ในผลกล้วยน้ำว้าสุกและห่าม รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันในเด็กเล็กได้ ช่วยลดอาการเจ็บคอ เจ็บหน้าอกที่มีอาการไอแห้งร่วมด้วย โดยรับประทานกล้วยน้ำว้าวันละ ๔-๖ ลูก แบ่งรับประทานกี่ครั้งก็ได้
  • หากรับประทานกล้วยก่อนแปรงฟันทุกวันจะทำให้ไม่มีกลิ่นปาก และผิวพรรณดี (เห็นผลได้ใน ๑ สัปดาห์) ช่วยบำรุงกระดูก ฟัน และเหงือกให้แข็งแรง และยังช่วยให้ผิวพรรณดีอีกด้วย
  • ราก มีสรรพคุณในการขับน้ำเหลืองเสีย แก้ท้องเสีย
  • น้ำคั้นจากต้น มีสรรพคุณใช้ทากันผมร่วง และทำให้ผมขึ้น น้ำจากก้านใบ มีสรรพคุณใช้เป็นยาผาดสมาน รักษาโรคท้องเสีย แก้บิด
  • ช่อดอก มีสรรพคุณใช้เป็นยารักษาโรคเบาหวาน
  • แป้ง แป้งที่ทำจากกล้วยดิบมีสรรพคุณใช้รักษาอาการแก่ผู้ที่อาหารไม่ย่อย ท้องขึ้น มีกรดมาก
  • หยวกกล้วย มีสรรพคุณใช้เป็นอาหารที่ใช้ล้างในระบบทางเดินอาหาร

ที่มา : คณะทรัพยากร มอ.

เคยให้แม่กินสมุนไพรค่ะ แต่พอไปตรวจเลือดเพื่อทำเคมีบำบัด ผลไม่ผ่าน หมอเลยถามว่ากินสมุนไพรไหม แล้วหมอก็ให้หยุดกิน เพราะน่าจะมาจากกินสมุนไพร เลือดเลยไม่ผ่าน ตับทำงานไม่เต็มร้อย ตอนนี้ก็เลยให้แม่หยุดกินแต่หนูกังวลว่าถ้าเป็นเพราะสมุนไพรจริง ต้องทำไงแม่ถึงจะตรวจเลือดผ่านค่ะ ไปตรวจมาสองรอบ ยังไม่ผ่านเลย ยังไม่ได้เข้ายากลัวมีผลอย่างอื่นด้วยค่ะ 

สวัสดีค่ะคุณ kungly

เนื่องจากเคมีบำบัดจะกดการทำงานของไขกระดูก อาจทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดต่างๆได้ตามปกติ จึงมีการเจาะเลือดบ่อยในช่วงให้เคมีบำบัดค่ะ 

การที่กินสมุนไพรแล้วเลือดไม่ผ่านนั้น เนื่องมาจากว่า ในส่วนประกอบของยาสมุนไพรบางอย่างเค้าใส่ยาพวกสเตียรอยด์ผสมลงไป เพื่อหวังผลให้ผู้ป่วยที่กินยาสมุนไพรเข้าไปรู้สึกสบายขึ้น ทันทีที่กินยาสมุนไพรนั้นๆค่ะ และสเตียรอยด์นี่เองที่เป็นตัวกดการสร้างเม็ดเลือดด้วย เมื่อกดร่วมกับกด ทำให้ร่างกายผลิดเม็ดเลือดน้อยลงนั่นเองค่ะ

การที่เลือดไม่ผ่านมีหลายกรณีค่ะ ถ้าเม็ดเลือดแดงไม่ผ่าน เร็วสุดคือแพทย์จะพิจารณาให้เลือด แก้ไขได้เร็วสุด 

เกร็ดเลือดไม่ผ่าน (น้อยกว่าเกณฑ์) ก็แก้ไขโดยการเพิ่มเกร็ดเลือด

เม็ดเลือดขาวไม่ผ่าน  นี่เองที่น่าจะเป็นสาเหตุให้คุณแม่ของคุณ kungly ต้องเลื่อนให้เคมีไปค่ะ การแก้ไขถ้าต่ำมากๆอาจต้องฉีดยากระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาว เป็นต้น แต่ถ้าคุณหมอให้กลับไปบำรุงร่างกายก่อนแสดงว่าน่าจะสามารถแก้ไขได้โดยการกินอาหารค่ะ

แนะนำให้ผู้ป่วยทานอาหารเท่าที่ทานได้เลยค่ะ อยากทานอะไรที่ชอบ ทานได้มากเท่าไหร่ยิ่งดีค่ะ กินโปรตีนมากหน่อย หากผู้ป่วยเหม็นหรือเบื่ออาหาร ก็ดัดแปลงอาหารให้ผู้ป่วยได้ค่ะ หรือเปลี่ยนสถานที่กินอาหาร ก็ช่วยให้ความอยากอาหารมากขึ้นได้นะคะ 

เป็นกำลังใจให้อีกหนึ่งกำลังใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท