สปสช. และการพัฒนาบุคลากร รพ.สต.


ที่สำคัญคือการเคลื่อนพลังประชาชนผ่านบุคลากรสาธารณสุข

สปสช.เห็นความสำคัญของการเพิ่มสมรรถนะบุคลากรใน รพ.สต.และเห็นว่าสถาบันการศึกษาน่าจะมีบทบาทจึงได้จัดการประชุมหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาข้อเสนอโครงการพัฒนาเครือข่ายสถาบันเพื่อพัฒนาบุคลากรในหน่วยบริการปฐมภูมิ โดยมีสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน เป็นผู้ประสานงานหลัก เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เวลา ๑๓.๓๐-๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๔๐๑ สปสช.

การประชุมในวันนี้เชิญผู้เกี่ยวข้องเพียงกลุ่มเล็กๆ ประมาณ ๑๐ กว่าคน พญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ได้ร่างแนวคิดและนำเสนอต่อที่ประชุมเกี่ยวกับกลุ่มบุคลากรที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนา กลุ่มสถาบันที่จะเข้ามาร่วมพัฒนา (ได้แก่ วิทยาลัยการสาธารณสุข วิทยาลัยพยาบาล คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ) ขั้นตอนการดำเนินงาน และรูปแบบการทำงาน

กลุ่มบุคลากรที่เป็นเป้าหมายในการพัฒนานั้นจะเน้นที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นักวิชาการสาธารณสุข ซึ่งที่ผ่านมามีการพัฒนาแบบกระปริดกระปรอย ไม่ชัดเจน และไม่เป็นระบบ

เราอภิปรายกันเรื่องหลักสูตรและเนื้อหาค่อนข้างมาก พิจารณากันว่าเนื้อหาอะไรที่สำคัญและยังขาดอยู่ เช่น การ mobilize ชุมชน ท้องถิ่น รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ ที่ปรึกษาอาวุโส สปสช. ให้ความเห็นไว้หลายเรื่อง เช่น

  • Package ที่จำเป็นมีอะไรบ้าง บาง package อาจเหมาะกับหัวหน้า บาง package อาจเหมาะกับคนทำงาน
  • การ training เป็น jigsaw หนึ่ง ทำแบบเครือข่ายดีกว่า ควรทำเครือข่ายแบบ area based
  • เรียนทฤษฎีที่สถาบัน แต่ปฏิบัติเรียนที่ศูนย์การเรียนรู้ ควรดึงชมรมต่างๆ เข้ามา
  • ยังไม่รู้ค่ากลางว่า รพ.สต เก่งแค่ไหน อาจไม่ต้องไปเพิ่มความรู้แล้ว แต่ไปเพิ่มประสิทธิภาพเป็นหลัก ยังไม่รู้ว่าต้องไปเพิ่มให้ใคร ไม่ใช่ต้องไปเพิ่มทุกเรื่อง เพิ่มบางเรื่อง ต้องแยกว่าที่ไหนต้องเพิ่มเรื่องใด มี ๒ เรื่องใหญ่ๆ คือเรื่องภายในและเรื่องที่ต้องออกไปข้างนอก
  • ไม่ใช่ train แบบ conventional ต้องดูตาม task ตาม training need และบริบท
  • การรักษาเบื้องต้นมีคู่มือที่สามารถเรียนได้ด้วยตนเอง และอาจ train ทีม วสส. ให้เป็น trainer
  •  ควรเสริมวิชาชีวิต พบว่าคนที่ได้เข้า workshop dialogue ได้ผลในการเปลี่ยนวิธีคิด ควรเอามาเป็นตัวสอดแทรกทำให้เกิดความเป็น team work
  • ฯลฯ

คุณหมอสุพัตรามีความเห็นว่าในเรื่องความรู้ ต้องให้หลักการ...เติมเต็มความรู้เชิงกระบวนการ การจัดการ การเชื่อมโยงกับชุมชน...บางเรื่องจำเป็นต้องเรียนที่ center บางเรื่องต่อไปจะต้องอยู่ในหลักสูตร (ที่ผลิตบุคลากร) ปกติ ไม่ต้องมาสอนเติมภายหลัง

เราช่วยกันให้ข้อมูลว่ามีใคร/หน่วยงานใดทำอะไรในเรื่องนี้อยู่แล้วบ้าง ทำให้ได้รู้ว่ามีงบประมาณที่อาจถึงร้อยล้านบาทที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากร รพ.สต ซึ่งบางโครงการในบางปีก็รีบเร่งทำ จึงมีการจัดแบบรีบๆ คู่มือต่างๆ ก็มีเยอะ เราจะเชื่อมต่อกับโครงการ/หลักสูตรต่างๆ ที่ทำกันอยู่อย่างไร และท่ามกลางความเยอะแยะเหล่านี้ เราจะทำให้เกิด systematic มากขึ้นอย่างไร หลักการประเภท train ครู ก ครู ข รวมทั้งให้ สสจ. train เองนั้น คุณหมอสุพัตราบอกว่าอาจไม่ work เราจะเอางานอะไรที่มีอยู่แล้วเป็นฐานบ้าง

หลายคนหลายความเห็น พร้อมมีตัวอย่างการทำงานดีๆ ของ รพ.สต.บางแห่งมาเล่าให้ที่ประชุมฟัง เช่น ที่นาบัวเก่งเรื่องการ mobilize ชุมชน ท้องถิ่น ไปสู่ public policy

ดิฉันได้รู้มากขึ้นว่า รพ.สต. มีปัญหาอะไรกันบ้าง เช่น ความเป็นวิชาชีพ ทำให้ทำงานร่วมกันไม่ได้ ซึ่งคุณหมอสุพัตราบอกว่าเวลาทำงานไม่อยากให้แบ่งวิชาชีพ อยากให้เป็นแบบบูรณาการ แต่มี major ของตนได้ ได้รู้ว่าปัจจุบันมี รร.นวัตกรรมสุขภาพชุมชน ศูนย์การเรียนรู้ก็มีหลายแบบจากการสนับสนุนของหลายหน่วยงาน มีหลักสูตรอบรมถึง ๑๔ หลักสูตร ได้ทราบว่าคุณหมอกฤช ลี่ทองอิน anti KM ท่านบอกว่า “อะไรๆ ก็เอามา ลปรร. กัน แล้วเอาอะไรที่ยังไม่ได้ proof ไปใช้ต่อ”

นพ.ปทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช. มาร่วมประชุมเมื่อตอน ๑๕.๓๐ น.ท่านจับประเด็นที่ผู้เข้าประชุมเสนอความคิดเห็นและทวนว่า “ที่สำคัญคือการเคลื่อนพลังประชาชนผ่านบุคลากรสาธารณสุข จึงมาหาทางกันทำให้บุคลากรเก่ง” ...ภารกิจที่ควรจะทำคือ (๑) รวบรวมสถาบันที่พัฒนากำลังคนในพื้นที่ให้มาเจอกัน ลปรร. บางแห่งอาจขายบางเรื่อง (๒) สร้างเครื่องมือการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีอยู่มาก จะเอามาใช้ได้หรือไม่ ทำให้ active และมีเนื้อหาที่น่าสนใจ

ผู้เข้าประชุมบางคนเสนอประเด็นเรื่องหมออนามัย การมีสถาบันเพิ่มประสิทธิภาพ รพ.สต. เป็นสถาบันตรงกลาง แต่เป็นเรื่องที่ beyond การพัฒนาวิชาการ เราจึงไม่ได้อภิปรายกันมาก

เมื่อใกล้เวลา ๑๖.๓๐ น.คุณหมอสุพัตราจึงสรุปการประชุมว่าอยากให้เกิดเครือข่ายมาประสานความร่วมมือ เป้าหมายคือพัฒนา primary care งานบางอย่างใช้งบอื่นที่มีอยู่แล้ว งานเบื้องต้นมีดังนี้

  • Mapping หลักสูตร แหล่งเรียนรู้ ในปัจจุบัน รวมทั้งกลไก งบประมาณต่างๆ เกี่ยวกับปฐมภูมิ
  • ค้นหารูปแบบการเรียนรู้ใหม่ๆ หลากหลาย
  • ประสานแหล่งทุนในการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรส่วนต่างๆ
  • ประสานความสนใจของสถาบันการศึกษาต่างๆ
  • พัฒนาข้อสรุปเนื้อหาและสมรรถนะพื้นฐานของเจ้าหน้าที่ รพ.สต.
  • พัฒนากลไกประสานเครือข่าย

ดิฉันคิดว่าแนวคิดและแนวทางการพัฒนาบุคลากร รพ.สต. ที่ผู้เข้าประชุมได้ร่วมกันเสนอความคิดเห็นในวันนี้ เป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างหนึ่ง และเป็นที่น่าสังเกตว่าการเกิดขึ้นของ รพ.สต. เชิงโครงสร้าง (เปลี่ยนชื่อเรียก) ง่ายกว่าการพัฒนาคนและงานให้พร้อมเสียอีก 

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 424086เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2011 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ระวังความรู้จะแตกเป็นเสี่ยงๆนะครับ

ความรู้แตกเป็นเสี่ยงๆ  ก็ไม่แปลก หากดีจริง ใช้ง่ายสะดวก ก็จับมาผสมรวมใหม่ ให้รสชาติ ดียิ่งกว่าเดิม

ผมเชียร์ แก้ปัญหาเบาหวาน ความดันสูง แบบภูมิปัญญาไทย ๆ

ขยายหลอดเลือด ด้วยผักไทย   

ลดน้ำตาล ด้วยอาหารแบบ ไทยๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท