308. "จับต้นได้ จึงจะชนปลายถูก" (AI สำหรับมนุษย์ต่างดาว ปี 2 ตอน2)


ห้องเรียนกระบวนกร AI ตอนที่ 308

เสียงบ่นจากกัลยาณมิตรครับ.."...ดูงานของอาจารย์แล้ว จับต้นชนปลายไม่ถูก.." นี่เป็นคำบ่นที่ทำให้ผมกลายเป็นมนุษย์ต่างดาว ในแวดวงวิชาการไปหลายนาที เอาหล่ะ..วันนี้จะเขียนเรื่องจับต้นชนปลายในการทำ AI เริ่มจาก จับต้น..

...

จับต้น...ทำไงครับ..

1. ต้องจับหลักก่อน..เริ่มจากการทำความเข้าใจก่อนว่า ...AI มีสมมติฐานว่าในทุกระบบ มีเรื่องราวดีๆ ซ่อนเร้น อยู่ รอการค้นพบ..AI จะใช้การถามคำถาม เพื่อดึงเรื่องราวๆดีๆ ออกมากนะครับ...งานของ AI จึงเหมือนคนทำเป็นนักสืบเชอร์ล๊อกโฮล์มครับ ที่ไปค้นหาของดีๆ เจอ แล้วเอามาเปิดโปง ขยายผลครับ...

2. AI เป็นวิจัย/โครงการ ที่มีการขยายผลจริงครับ..ไม่ใช่เสนอ ชี้ปัญหาให้ผู้มีอำนาจไปหาทางแ้ก้ต่อไป ในการทำ AI อำนาจอยู่ี่ที่เรา คนทำและผู้มีส่วนร่วมครับ ที่จะเป็นคนสร้างสรรค์เรื่องดีๆ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดีๆ ร่วมกัน เพราะฉะนั้นโครงการ AI จึงมีการรายงานผลสำเร็จมากบ้างน้อยบ้าง..ไม่ใช่การเสนอแนะอย่างเดียวครับ..ทำแล้ววัดผล จึงเสนอแนะครับ

3. ถ้าทำเป็น Research จะเหมือนๆ Action Research มันมี Validity ของมันครับ คร่าวๆคือ เป็นการทำจริง ไม่เสนอแนะ มีการวัดผล (Outcome Validity) วัดด้วยวิธีต่างๆ ทั้งสัมภาษณ์ เอกสาร สังเกต (Process Validity) ผู้มีส่วนร่วมต้องเต็มใจ (Democratic Validity) มีการสะท้อนผลเพื่อเรียนรู้ (Catalytic Validity) มีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ (Dialogic Validity) ซึ่งต่างจาก Research กลุ่ม Quantitative ชัดเจน

4. โครงการ AI จะเริ่มจากการตั้งเป้าหมายว่าจะทำอะไร เช่น สร้างองค์กรแห่งรอยยิ้ม ...คุณจะเห็นเรื่องราวส่วนใหญ่ไปเน้นที่การถามเรื่องประสบการณ์การการยิ้ม...จากนั้นคุณจะเห็นการขยายผล ครับ...

5. อันนี้เริ่มหลอนแล้วครับ..โครงการ AI เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ทุกคนครับ ที่ "เต็มใจ" ตัวเลขคนร่วมโครงการจึงไม่เท่ากันครับ ไม่ได้ต้องใช้ตาราง Taro Yamane เช่นต้องมี 400 คน ไม่ใช่ครับ...บางโครงการคุณจึงเห็นคนมีส่วนร่วมแค่ 5 คน บางโครงการก็เป็นพันคน...ขึ้นกับความเต็มใจของคนเข้าร่วม และความพร้อมของผู้ทำ

6. อันนี้หลอนกว่า...ไม่มีสถิติเลย..อันนี้ต้องบอกว่า เรามีทั้งแบบ "มี และไม่มี" แต่ตัวเลขหลักๆ เป็นตัวเลขมาจากเอกสาร (Document) เช่นเราดูผลประกอบการ (ที่เป็นตัวเลข) ครับ..AI บางโครงการถ้าทำกัีบคนสามสิบขึ้นก็มีการวัด Pre test post test เพื่อวัดพฤติกรรมว่าเปลี่ยนหรือไม่...อันนี้ก็มีครับ งานผมเองก็ทำ จริงๆ แล้วถึงไม่มี เราก็ใช้วิธีการวัดอย่างต่ำสามทางครับ คือสังเกต สัมภาษณ์ ดู KPI ว่าไปด้วยกันไหม..ครับ..

......

ชนปลาย..

ปลายของ AI มีดังนี้ครับ

1. คนทำ คนมีส่วนร่วมมีความสุข

2. ได้ผลการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ที่วัดได้ทั้งรูปธรรม นามธรรม

3. คนทำ คนมีส่วนร่วม รู้ตัวว่า กระบวนการแต่ละส่วนสำเร็จมาได้อย่างไร อะไรต้องปรับปรุงบ้าง อะไร work ไม่ work

 .........................

จับต้นได้..จึงจะชนปลายถูกครับ...จริงไหมครับ 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 423263เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2011 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • สวัสดีค่ะ
  • จับต้นชนปลายได้จากการอ่านนี่แหละค่ะ
  • ทุกคนมีส่วนร่วม แล้วทุกคนจะรู้สึกเป็นเจ้าของ
  • รับผิด รับชอบ ร่วมกันค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ

ใช่เลยครับ AI เป็นประมาณรับผิดชอบหาเรื่องดๆ มาทำอะไรดีๆ ร่วมกัน จึงสร้างการเปี่ยนแปลงดีๆ ให้โดยรวมได้ครับ ขอบพระคุณคุณครูลำดวนที่แวะมานะครับ

 

อาร์มกำลังศึกษา ai ค่ะอาจารย์ และเรียนรู้ ai จากบันทึกต่างๆของอาจารย์ค่ะ

นับว่าดีมากเลยทีเดียวค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท