ความรู้สึกที่ว่าไม่อยากต่อความยาวสาวความยืด  มีเจตนาลึก ๆ  คืออย่างหนึ่งคือการเอาตนเองรอด  หรืออีกอย่างหนึ่งพูดมากจะทำให้เกิดความรำคาญ  นั่นย่อมสะท้อนให้เห็นว่า  ผู้ที่มีความเห็นแก่ตัวนั้นจะมีความอดทนอดกลั้นน้อย  แล้วหากจะต้องอธิบายอะไรยาว ๆ  นาน ๆ  ในลักษณะของการถกเถียงไปเรื่อย ๆ  จนกระทั่งหาข้อสรุปอันเป็นข้อยุติ  หรืออาจจะยุติไปเองด้วยเหตุแห่งความเสียเวลาแล้วไม่มีประโยชน์อย่างแน่ชัด  ซึ่งผู้ที่เอาตัวรอดจะไม่มีความอดทนพอที่จะทำให้ได้ข้อสรุปออกมาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น  แล้วมักจะจบลงด้วยความรู้สึกที่รำคาญโดยไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย

ความเห็นแก่ตัวในลักษณะนี้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตนเอง  เพราะเมื่อตนเองไม่มีความอดทนเพียงพอที่จะรับฟังในเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วเกี่ยวข้องกับตนทั้งทางตรงและทางอ้อม  จะทำให้เองไม่มีการพัฒนาทางด้านสติปัญญาให้เกิดขึ้นได้เลย  ลักษณะเช่นนี้อาจเกิดขึ้นระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ได้ด้วย  โดยจะสังเกตว่าผู้ใหญ่เวลาที่ดุเด็กแล้วไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงเหตุผลออกมา  นั่นเป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งซึ่งทำให้เด็กไม่เคารพศรัทธาผู้ใหญ่  เพราะความรู้สึกที่ว่าไม่อยากต่อความยาวสาวความยืดคืออยากให้เรื่องที่คุยนั้นจบลงโดยเร็วโดยไม่สนใจถึงคุณภาพของเรื่องที่คุยกันอยู่

การถกเถียงที่ว่านั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปฏิบัติธรรม  ทั้งนี้มิใช่เป็นการถกเถียงเพื่อต้องการเอาชนะซึ่งกันและกันในลักษณะมานะทิฐิ  แต่เป็นการถกเถียงเพื่อเป็นการพัฒฯศักยภาพในการวิเคราะห์หาเหตุผล  เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองและผู้เกี่ยวข้องให้สามารถพัฒนาในเรื่องของปฏิจจสมุปบาทให้ได้ดีขึ้นนั่นก็ประการหนึ่ง  แต่ประการที่สำคัญคือการแลกเปลี่ยนปผระสบการณ์เพื่อนำสิ่งที่ดีจากการปฏิบัติในลักษณะของการระดมสมอง  เพื่อนำสิ่งที่ดีและมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดนำไปปฏิบัติให้เกิดผล  แล้ววิธีที่ได้จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาหรือวิธีการดำเนินงานที่ดีที่สุดนั่นเอง

หากพิจารณาให้ลึกซึ้ง  ความเห็นแก่ตัวนี้เป็นอุปสรรคในการพัฒนามากกว่าความถือตัวเสียอีก  โดยเฉพาะสิ่งที่มาพร้อมความเห็นแก่ตัวคือความริษยานั้นเป็นตัวถ่วงความเจริญ  แล้วความเห็นแก่ตัวจึงเป็นธรรมชาติของการเอาตัวรอด  แล้วสิ่งที่ต้องการคือไม่เผชิญความจริง  นั่นอาจเป็นไปได้ที่ทำให้ผู้ใหญ่วุฒิภาวะน้อยกว่าเด็ก  ที่เป็นเช่นนั้นเพราะตนเองกล้าตำหนิเด็กได้  แต่ไม่มีความอดทนและกล้าหาญพอที่จะรับฟังสิ่งที่เด็กได้พูด  จึงมีลักษณะการเอาตัวรอดตามลักษณะ  ไม่อยากต่อความยาวสาวความยืดขึ้นได้

ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาต่อต้านวัฒนะธรรมที่ดีงามของสังคมไทย  แต่ผู้เขียนกำลังตั้งข้อสังเกตว่า  เราทั้งหลายกำลังให้ความเคารพผู้อาวุโสกว่าผิดวิธีหรือไม่  เช่นผู้ใหญ่ดุเด็กไม่ผิด  แต่เด็กหวังดีแล้วชี้ข้อบกพร่องให้ผู้ใหญ่เห็นกลายเป็นผิด  แล้วผู้ใหญ่มักมีคำพูดติดปากเสมอว่า  "อาบน้ำร้อนมาก่อน"  ลักษณะนี้ทำให้ผู้ใหญ่ไม่เกิดการพัฒนาตนเองให้ยอมรับความจริง  หรือรับไม่ได้ในความหวังดีที่ผู้ซึ่งเป็นเด็กกว่าแสดงออกซึ่งความหวังดีด้วยความบริสุทธิ์ใจ  แล้วสิ่งนี้เองน่าจะเป็นปัญหาทำให้คนรุ่นหลังมีคุณธรรมศีลธรรมและจริยะธรรมลดน้อยถอยลง  เพราะเด็กจะเลียนแบบผู้ใหญ่  ถ้าผู้ใหญ่ทำสิ่งผิดได้แล้วถือว่าไม่ผิดได้  ทั้ง ๆ  ที่สิ่งนั้นเป็นความผิดอย่างชัดเจน  เด็กก็ทำสิ่งนั้นด้วยความเห็นว่าไม่ผิดด้วยเช่นกัน

การที่เด็กจะให้ความเคาพผู้ใหญ่จึงอยู่ที่เจตนา  ว่าเด็กมีความรู้สึกนึกคิดกับผู้ใหญ่กว่าอย่างไร  แล้วโดยส่วนตัวผู้เขียนก็ได้รับคำตำหนิจากสหายธรรมเป็นเรื่องปกติ  มีทั้งที่ความผิดนั้นเกิดขึ้นกับผู้เขียนเอง  แล้วมีทั้งที่สหายธรรมยังมีอนุสัยที่ไม่ดีบางแง่บางมุมอยู่  หากความผิดพลาดมาจากส่วนใดส่วนนั้นก็ต้องยอมรับความผิดกับอีกฝ่ายหนึ่งเป็นธรรมดา  การกระทำผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้  เช่นผู้เขียนทำงานหนักมาก  ความเหนื่อยทั้งกายและใจซึ่งได้รับจากการทำงาน  อาจกระตุ้นให้ผู้เขียนผลิตอนุสัยในจิตและสันดานในสมองซึ่งไม่ดีขึ้นมาได้  ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา  ผู้เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นผู้เขียนหรือสหายธรรมก็ต้องรับความผิดนั้นแล้วไปทำความแก้ไข  โดยผู้เขียนจะไม่ใช้ความเป็นอาจารย์กับศิษย์มาใช้เพื่อข่มขู่ให้สหาบธรรมยอมรับในความผิดของผู้เขียนหากมีขึ้นให้กลายเป็นความถูกต้องโดยเด็ดขาด  มิเช่นนั้นผู้เขียนก็จะไม่ต่างจากคนทั่วไป