KM ที่รัก ตอนที่36 "การผลิตแบบพุทธเศรษฐศาสตร์"


ของเสียจากระบบการผลิตแบบเศรษฐศาสตร์
                

          ปัญหาของโลกปัจจุบัน  มีความหลากหลาย ไม่ว่าด้าน ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์เอง  หรือเรื่อง ปัญหาด้านทรัพยากร (ธรรมชาติ)และสิ่งแวดล้อมที่ถูกทำลายและเสื่อมโทรมลง  อันมีผลมาจากกระบวนการผลิตของทฤษฎีการผลิตทางเศรษฐศาสตร์ที่ผ่านมา ซึ่งมีการซ่อนเร้นสิ่งที่น่ากลัวไว้ ไม่แสดงความจริงทาง สมการ ออกมา เพราะจะไม่บรรลุความเป็น ทุนนิยม  ที่มุ่งหวังกำไรให้มากที่สุด    ที่สำคัญ ในความหมายทับซ้อนในระบบการผลิตทางเศรษฐศาสตร์ที่ผ่านมา มนุษย์  เป็นได้แค่เพียง ต้นทุนการผลิต..เท่านั้นเอง

            ทฤษฏีการผลิตทางเศรษฐศาสตร์ทั่วไป                                     

      Q      =      f ( K,L )                                         

   เมื่อ    Q      =    ผลผลิต (สินค้า)                                             

     K     =  ทุน  ( ที่ดิน, เงิน, ทรัพยากร )                                           

     L     = แรงงาน   ( คน )                  

 ทฤษฏีการผลิตทางพุทธเศรษฐศาสตร์                               

    ( Q,W )  = f ( K,L )                          

  เมื่อ    Q         = ผลผลิต  (สินค้า)                                 

    W        = ผลผลิต                                                                 

     f         = ความสัมพันธ์ในการผลิต                                                                  

     K        = ทุน                                  

      L         = แรงงาน           

       จากสมการทฤษฎีการผลิตของเศรษฐศาสตร์ทั่วไปกับทฤษฎี การผลิตของพุทธเศรษฐศาสตร์มีความต่างกันอยู่ที่ W คือของเสีย ถ้าพูดถึงหลักของ ถ้าพูดถึงหลักของทางเศรษฐศาสตร์ทั่วไปที่เราเรียน สมการที่มี W อยู่ด้วยไม่เคยปรากฏมาแต่ พุทธเศรษฐศาสตร์ ให้ความสำคัญมาก และต้องการให้เกิดน้อยที่สุด เพราะ  W หรือของเสียจะเป็นตัว (การ) ที่กลับมาทำลายมนุษย์และจะเพิ่มความรุนแรงขึ้นเป็นทวีคุณ         สิ่งที่พุทธเศรษฐศาสตร์  ให้ความสำคัญและพูดถึงมากคือ ทรัพยากร ที่เข้าสู่กระบวนการผลิต ได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ                          

  1.ทรัพยากรมนุษย์(สมอง)                          

  2.ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น (ทุน เทคโนโลยี)                       

   3.ทรัพยากรมนุษย์ไม่ได้สร้างขึ้น (พลังงาน,อื่นๆ)       

        กระบวนการผลิตทั้งหมด ใช้ "ปัญญา" ควบคุมการผลิต  ในทฤษฎีการผลิต พุทธเศรษฐศาสตร์จะมีการสะสมทุน ทางปัญญา เป็นระบบ  "ปัญญา"นิยม และจุดมุ่งหมายของ "พุทธเศรษฐศาสตร์" คือการบริโภค ควรเป็นการบริโภคเพื่อการดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติที่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นสำหรับชีวิต (อาหารจากธรรมชาติ เช่น ผัก ปลาฯ) จึงต้องเอาปัญญาไปกำกับ เพื่อให้มีการบริโภคแต่พอเพียงไม่บริโภคเพื่อสะสม ซึ่งการบริโภคมากเกิน ความต้องการของร่างกายทำให้เกิดปัญหา ใช้ทรัพยากรไปในการดูแลรักษาและแก้ไขไม่รู้จบ ถ้าเราไม่คำนุงถึง แนวคิดของพุทธเศรษฐศาสตร์ที่ว่า "การบริโภคที่ดีที่สุดคือการบริโภคแต่พอดี"                                          

หมายเลขบันทึก: 42296เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2006 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 23:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท