บูโบซูรอ - ขนมกวนหน้าขี้มัน


การเอาน้ำกะทิมาเคี่ยวน้ำมัน หลังจากน้ำกะทิแตกตัวเป็นน้ำมัน ส่วนที่เป็นกาก หรือตะกอน จากการเคี่ยวน้ำมันมะพร้าว คือ ”ขี้มัน”

ขนมกวน....

   ขนมกวน เป็นขนมพื้นบ้านไทยหรือขนมไทยธรรมดาๆที่ใช้แป้ง น้ำตาล และมะพร้าว เป็นส่วนประกอบสำคัญ  หรืออาจใช้ผลไม้ เช่น ขนุนหรือ ไข่ เป็นส่วนประกอบประกอบเสริมในเนื้อขนม  เป็นขนมที่ทำต่อกันมาในจังหวัด พัทลุง สงขลา และยะลา เป็นขนมที่อร่อยนิ่ม เหมาะ สำหรับเด็กและคนชรา ขนมกวน เป็นขนมหวานกินมื้อกลางวันจะกินให้อร่อยต้องกินเมื่อกวนเสร็จใหม่ๆ

บูโบซูรอ เป็นคำในภาษามลายูถิ่นปัตตานี-กลันตัน เป็นชื่อขนมกวนชนิดหนึ่งของสังคมมุสลิม เป็นคำที่เพี้ยนมาจากคำว่า บูบูร อาชูรอ ในภาษามลายูกลาง ที่แปลว่า ขนมกวนวันที่สิบ นั่นเอง โดยการทำขนมที่มีชื่อว่า บูโบซูรอ ประเพณีการทำก็คือ ชาวบ้านจะนัดกันว่าจะกวนขนมที่บ้านไหนสักแห่ง ผู้คนก็จะพาข้าวเหนียว น้ำตาล เผือก มัน มะพร้าว กล้วย และผลไม้อื่นๆหรืออะไรก็ตามที่ตนมีที่บ้านมาสมทบกัน แล้วเอาทุกอย่างมาลงกระทะใบใหญ่ที่สุด จุดไฟ แล้วช่วยกันกวนคนละไม้คนละมือ จนกระทั่งทุกอย่างเละจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน มีการปรุงรสให้มีรสชาติหวานตัดด้วยรสเค็มนิดหน่อย แล้วก็มีการชิมพลางกินพลาง จนกระทั่งว่าได้ที่แล้วจึงตักใส่ถาด รอให้แมลงวันมาตอมซึ่งบอกได้ว่าขนมเย็นแล้ว ก็จะเอาไปเลี้ยงคน หรืออาจจะซ่อนเก็บไว้กินวันต่อไปก็จะมีรสชาติอร่อยไปอีกแบบ

 ขนมกวนหน้าขี้มัน

   ขนมกวนเป็นขนมพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมประจำถิ่น  ที่มีรสชาติที่หอมหวานมันอร่อย ลักษณะเหมือนก้อนแป้งนุ่ม การทำขนมกวนอาจจะแปลกแตกต่างกันบ้างในเรื่องของวัตถุดิบที่นำมาใช้ปรุง ขนมกวนหน้าขี้มัน เป็นขนมพื้นบ้านภาคใต้ที่พบเห็นได้ทั่วไปทั่ว

 สวนผสมของตัวขนม

๑.  แป้งข้าวจ้าว    ๒.  แป้งมัน    ๓.  น้ำกะทิ  ๔.  น้ำตาล (นำผึ้งโหนด) ๕.  เกลือ

 วิธีทำ

   นำแป้งข้าวจ้าว และแป้งมัน ผสมกับน้ำกะทิ เกลือ น้ำตาล คนให้เข้ากัน นำกระทะทองเหลืองตั้งไฟอ่อนๆ ใช้ไม้พายกวนไปทางเดียวกันคนให้ทั่วตลอดเวลา ระวังอย่าให้แป้งจับกันเป็นลูก กวนจนเหนียวให้ได้ที่ สังเกตดูจะเห็นเนื้อขนมไม่ติดกระทะ แล้วจึงตักใส่ถาด เกลี่ยหน้าขนมให้เรียบเสมอกันโดยทั่วทั้งถาด นำขี้มันที่เตรียมไว้มาโรยหน้าทิ้งไว้ให้เย็น เวลาจะรับประทานจึงตัดเป็นชิ้นๆ 

   ขี้มัน คือ ส่วนที่เป็นกาก หรือตะกอน จากการเคี่ยวน้ำมันมะพร้าว เป็นผลพลอยได้จากการเอาน้ำกะทิมาเคี่ยวน้ำมัน หลังจากน้ำกะทิแตกตัวเป็นน้ำมัน ส่วนที่เป็นกาก หรือตะกอน จากการเคี่ยวน้ำมันมะพร้าว คือ ”ขี้มัน”

ขนมกวนขาว

วัสดุ

         ๑. แป้งข้าวจ้าว                      ๒. กะทิ                             ๓. น้ำปูนใส

         ๔. น้ำตาล                            ๕. เกลือ                             ๖. ถั่วเขียว

วิธีการทำ

 ๑. นำแป้งข้าวเจ้าผสมผสมกับหางกะทิและน้ำปูนใสคนให้เข้ากัน นำกะทะทองเหลืองตั้งไฟอ่อน นำแป้งที่ผสมแล้วเทลงกะทะกวนไปทางเดียวกันให้ทั่วระวังอย่าให้แป้งจับกันเป็นลูก กวนจนเหนียวให้ได้ที่ สังเกตดูจะเห็นเนื้อขนมไม่ติดกะทะ เนื้อขนมสีขาวนวล ตักใส่ถาด เกลี่ยให้เรียบเสมอหน้า วางทิ้งไว้ให้เย็น เวลาจะรับประทานจึงตัดเป็นชิ้นๆ

 ๒. นำกะทิใส่เกลือตั้งไฟอ่อนๆ คนเรื่อยๆร้อนจึงยกลง ให้คนต่อไปจนความร้อนลดลง เพราะถ้าไม่คนจะทำให้กะทิแตกมันได้ กะทิไม่ต้องข้นและมันจนเกินไป เพราะจะทำให้เลี่ยนมากไป

 ๓. ถั่วเขียวเอาเปลือกออก คั่วจนเหลือกรอบ ใส่ภาชนะปิดไว้

๔.วิธีปรุงผสมขนมตักเนื้อขนมกวนขาวที่ตัดเป็นชิ้นๆ แล้วใส่ถ้วย ตักกะทิราดขนมใส่น้ำตาลทรายทั้งเม็ด รสหวานตาม โรยถั่วเขียวที่คั่วไว้แล้ว เมื่อผสมเสร็จควรรับประทานทันที

 

หมายเลขบันทึก: 422916เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2011 09:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท