นักปรัชญาการศึกษากลุ่ม Realism (สัจนิยม)


อริสโตเติล (Aristotle 384 BC -- 322 BC)
อริสโตเติลเป็นนักปรัชญา และเ็ป็นนักวิทยาศาสตร์รุ่นพันปี
อริสโตเติลเป็นบุตรของนายแพทย์ประจำพระองค์กษัตริย์เมซิโดเนีย  
เขาได้ศึกษากับพลาโต้ ในอคาดามี่  จนพลาโต้เสียชีวิต
หลังจากนั้นเขาได้มาเป็นครูสอนให้กับอเล็กซานเดอร์มหาราช
ในระยะนั้นอริสโตเติลเขียนหนังสือไว้มากมายทางด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ  
เป็นผู้ค้นพบและจำแนกสัตว์เป็น ชนิด คือ สัตว์มีกระดูกสันหลัง  
และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เขาเป็นนักสังเกตที่ยิ่งใหญ่และสรุป
เป็นหลักการว่า ดวงอาทิตย์หมุนรอบโลก และ วัตถุที่หนักกว่า
จะตกถึงพื้นก่อน ซึ่งพิสูจน์ตอนหลังเป็นความคิดที่ผิดพลาด

จอห์น ล็อก (John Locke) (29 สิงหาคม พ.ศ. 2175-28 ตุลาคม พ.ศ. 2247)
เป็นนักปรัชญา ชาวอังกฤษ ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความสนใจหลักของเขาคือสังคมและทฤษฎีของความรู้

แนวคิดของล็อกที่เกี่ยวกับ "ผู้ปกครองที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใต้ปกครอง" และสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ ที่เขาอธิบายว่าประกอบไปด้วย ชีวิตเสรีภาพ, และทรัพย์สิน นั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการทางปรัชญาการเมือง แนวคิดของเขาเป็นพื้นฐานของกฎหมายและรัฐบาลอเมริกัน ซึ่งผู้บุกเบิกได้ใช้มันเป็นเหตุผลของการปฏิวัติ

แนวคิดด้านญาณวิทยาของล็อกนั้นมีอิทธิพลสำคัญไปจนถึงช่วงของยุคแสงสว่าง. เขามีทัศนะเกี่ยวกับทฤษฎีความรู้ว่า ความรู้จะต้องเกิดหลังประสบการณ์และความรู้จะเกิดขึ้นโดยอาศัยการสัมผัส เมื่อมนุษย์ได้สัมผัสก็จะมีความรู้สึก และความรู้สึกจะทำให้มนุษย์นั้นคิด และความคิดนี้คือแหล่งกำเนิดแห่งความรู้ หากปราศจากการสัมผัสมนุษย์ก็จะไม่คิด เพราะจิตโดยธรรมชาติจะมีสภาพอยู่เฉย. เขาถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกับนักประสบการณ์นิยมชาวบริติช ซึ่งประกอบไปด้วยเดวิด ฮูม และจอร์จ บาร์กลีย์. ล็อกมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับโทมัส ฮอบบส์ จาก wikipedia

 

 

ฌอง ฌาค รุสโซ [Jean Jacques Rousseau] นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง
นักประพันธ์เพลงที่ฝึกฝนด้วยตัวเอง แห่งยุคแสงสว่างและเป็นนักปรัชญาสังคมชาวสวิส เชื้อสายฝรั่งเศส ผู้มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส [French Revolution]ใน คศ.1789
รุสโซ เกิดที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่28 มิถุนายน 2255
มารดาของเขาเสียชีวิตหลังจากคลอดเขาได้เพียง 9 วัน บิดาเป็นช่างซ่อมนาฬิกาที่ไม่ประสบความสำเร็จ ตอนรุสโซ อายุ 6 ขวบ พ่อของเขาได้ติดคุก
เขาจึงต้องไปอาศัยอยู่กับลุง รุสโซหัดอ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็กและเรียนรู้ด้วยตัวเอง ตอนรุสโซ อายุ 16 ปี ได้ออกจากเจนีวา เดินทางท่องเที่ยวและได้หางานทำไปเรื่อยๆ จนได้เป็นผู้ช่วยทูต ในปี พศ.2293เขาได้ตีพิมพ์หนังสือ Discourse on the Arts and Sciences ซึ่งประสบความสำเร็จและสร้างชื่อเสียงให้แก่เขาเป็นอย่างมาก อีก 11 ปี ต่อมาก็ตีพิมพ์นิยายเรื่องแรกชื่อ Julie,ou la nouvelle Holoise [The New Heloise]จากนั้นก็ได้มีผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอทั้งหนังสือวิชาการและนิยาย ผลงานที่มีชื่อเสียงได้แก่The Social Contract, or Principles of Political of political Right และ The Confessions of Jean-JacquesRoussean รุสโซ เชื่อว่า ธรรมชาติของมนุษย์เป็นคนดี แต่สังคมทำให้มนุษย์เป็นคนเลว แปดเปื้อน และมนุษย์มีเสรีภาพตามธรรมชาติโดยไม่จำกัด แต่เมื่อมนุษย์มารวมกันเป็นสังคมจึงต้องมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพ

บางส่วนโดยการทำ “ สัญญาประชาคม “ [The social Contract] เพื่อไม่ให้เกิดการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของกันและกัน รุสโซ กล่าวว่า “ มนุษย์เกิดมาพร้อมเสรีภาพ แต่ทุกหนทุกแห่ง เขาต้องตกอยู่ในเครื่องพันธนาการ “ ความคิดของรุสโซ มีอิทธิพลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศส ในปี 2332 อย่างมาก และได้พัฒนาเป็นทฤษฎีสังคมนิยม [Socialist theory] และมีส่วนสำคัญของการพัฒนาการทางแนวคิด โรแมนติก [Romanticism] 

แนวคิดโดยย่อ
1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับเสรีภาพ ถ้าไม่มีสรีภาพก็ไม่ใช่มนุษย์
2.ความชอบธรรมของผู้มีอำนาจ อำนาจย่อมไม่ก่อให้เกิดธรรม
 เว้นแต่ผู้ใช้อำนาจจะใช้อำนาจโดยความชอบธรรมเท่านั้น
 ต้องใช้อำนาจด้วยความยุติธรรมถึงจะมีความชอบธรรม
3.การเป็นทาส ผู้ใดยอมรับความเป็นทาส ผู้นั้นเห็นว่าทาสไม่ใช่มนุษย์
 เพราะทาสไม่มีเสรีภาพ แนวคิดนี้ของรุสโซ แตกต่างกับ โทมัส ฮ๊อบส์
 กล่าวว่า สันติภาพ หรือความปลอดภัยเป็นสิ่งจำเป็น แต่รุสโซ กล่าวว่า
 สันติภาพและความปลอดภัยอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอจะต้องมีเสรีภาพด้วย  เหมือนในคุก มีสันติภาพแต่ไม่มีเสรึภาพ จึงไม่มีใครอยากอยู่ในคุก 
4.สัญญาประชาคม รุสโซ เสนอให้ประชาชนทำสัญญาประชาคมร่วมกัน
เรียกว่า สัญญาประชาคม [SocialContract] เพื่อสร้างประชาคมการเมืองขึ้น
5.ผู้ทรงอำนาจอธิปไตยของประชาชนที่ประชุมร่วมกันในฐานะ ผู้ทรงอำนาจอธิปไตยเพื่อทำหน้าที่บัญญัติกฎหมาย
6.ประชาชนทำหน้าที่เป็น พลเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
7.เจตจำนงทั่วไป ในฐานะผู้ทรงอำนาจอธิปไตย ประชาชนต้องบัญญัติกฎหมายให้ตอบสนอง เจตจำนงทั่วไปของประชาชน
8.การเลือกผู้แทนราษฎร รุสโซ เห็นว่า การเลือกผู้แทนราษฎร คือจุดเริ่มต้นของอวสานแห่งเสรีภาพของเสรีชน รุสโซ เห็นว่า ประชาชนไม่ควรมอบอำนาจอธิปไตยให้แก่ใครทั้งสิ้น แนวคิดรุสโซ เป็นแนวคิดการปกครองแบบตรง
ที่ประชาชนปกครองประเทศโดยตรง   (ข้อมูลจาก http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=pp965&month=10-12-2008&group=5&gblog=10)

 

คำสำคัญ (Tags): #ปรัชญาสัจนิยม
หมายเลขบันทึก: 422123เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2011 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท