ตอน ช่วงรอยต่อเมื่อเรียนจบ ม.ศ.5


ตอน ช่วงรอยต่อเมื่อเรียนจบ ม.ศ.5

 

 

 

 

ตอน  ช่วงรอยต่อเมื่อเรียนจบ ม.ศ.5

 

                การเรียนจบ ม.ศ. 5 ก็คือ...การเรียนจบ ชั้น ม.6 ในสมัยปัจจุบันนี้...ในสมัยก่อนชั้นประถมศึกษาจะมีชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 7 และต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 (เรียกว่ามัธยมศึกษาต้อนต้น)...และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 5 (เรียกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย)...หลังจากที่แม่ให้ผู้เขียนกลับมาเรียนต่อที่ “พิโลก”  “พิษโลก” หรือพิษณุโลก เป็นชื่อจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งถ้าเป็นคนพิษณุโลกที่แท้จริง เขาจะเรียก 2 คำแรก แสดงให้เห็นว่า เป็นคนจังหวัดนี้แท้ ๆ ...แม่พาผู้เขียนไปสมัครเรียนต่อที่วิทยาลัยพิษณุโลก (บึงพระ) โดยสอบเข้าเรียนเอกบัญชี...แต่อาจารย์กลับให้ผู้เขียนไปเรียนเอกการเลขานุการ...ผู้เขียนสงสัยว่า เอ! ทำไมเอาเราไปเรียนเลขานุการล่ะ!...เพราะคนที่เรียนเลขานุการ จะต้องเป็นคนสวย  หุ่นดี ผอม บาง รูปร่างสูงโปร่ง เหมาะกับการเป็นหน้าห้องของผู้อำนวยการหรือผู้จัดการมากกว่า...มีเพื่อนบอกผู้เขียนว่า สงสัยอาจารย์เห็นเธอสวยมั้ง...555555555555555...ผู้เขียนก็เลยต้องเรียนเอกการเลขานุการทั้งที่ไม่ได้ตั้งใจเรียน...และก็เก็บความสงสัยมาจนถึงปัจจุบันนี้...

                ในตอนแรกผู้เขียนก็ได้แต่ งง งง...เอาไงดีล่ะ!...จบมาทางวิทย์ – คณิต ไม่เคยเรียนพิมพ์ดีดภาษาไทย – อังกฤษ มาสักอย่าง จะเรียนไปกันไหวไหมเนี่ย!...เพราะผู้เขียนเข็ดกับการเรียนผิดทางมาตั้งแต่ ม.ศ. 5 แล้ว...อาจารย์บอกว่า ให้เรียนไปก่อน ลองดูในเทอมแรก...วิชาที่ต้องเรียน คือ วิชาชวเลข  ซึ่งตอนนั้นมี 2 แบบ คือ แบบ Picman กับ เกรก…สำหรับผู้เขียนได้เรียนแบบเกรก (โดยใช้ปากกาจด) สำหรับ Picman ใช้ดินสอเขียน...มีผู้ทำสถิติไว้ว่า แบบ Picman จะชนะแบบเกรก อาจเป็นเพราะใช้ดินสอจดทำให้น้ำหนักในการจดเบากว่า เมื่อถึงเวลาถอดรหัสออกมาทำให้การใช้เวลาของ Picman ได้เร็วกว่าแบบเกรก...ในเทอมแรกผู้เขียนก็ได้ลงวิชาเรียนตามปกติ...และวิชาที่อึดอัด คือ วิชาพิมพ์ดีดภาษาไทย...ทำไงดีล่ะ! จะเอาเครื่องพิมพ์ดีดที่ไหนมาลองหัดพิมพ์เพื่อให้เกิดความคล่อง เร็ว แม่นยำ เมื่อยามที่ปลายนิ้วมือวางอยู่บนแป้นพิมพ์ดีดได้ล่ะ!...จะให้แม่ซื้อให้ หรือก็สงสารแม่ เพราะแม่ก็ไม่ค่อยมีเงิน...

                ความคิดแว่บขึ้นมาในหัว...เอาอย่างนี้ดีกว่า...ไปขอเรียนกับอาจารย์ที่เขาสอนวิชาพิมพ์ดีด  ถ้าเห็นเครื่องไหนว่างก็ไปขอเขาเรียนในชั่วโมงที่เราไม่มีเรียน เพราะการเรียนในสมัยนั้นการลงทะเบียนแล้วแต่วิชาที่เราจะลง บางชั่วโมงก็ไม่มีเรียน เรียกว่า  “เดินเรียน”...ผลปรากฏว่า  อาจารย์อนุญาตให้ผู้เขียนเข้าฝึกพิมพ์ได้...แต่มีข้อแม้ว่า ถ้าครูกำลังสอนนักศึกษาคนอื่นอยู่แล้วสั่งให้พวกเขาพิมพ์ ผู้เขียนถึงจะหัดพิมพ์ได้ แต่เวลาครูบอกเพื่อน ๆ ว่าให้ “หยุด”  ผู้เขียนก็จะต้องหยุดพิมพ์ด้วย ห้ามมีเสียง...ผู้เขียนตอบเสียงใสพร้อมกับความดีใจว่า ค่ะ”...ับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชั่วโมงใดที่ผู้เขียนไม่มีเรียน ผู้เขียนจะขึ้นไปหัดพิมพ์ดีดกับอาจารย์...เรียกว่าจากคนที่ไม่เคยพิมพ์ดีดเลย ในครั้งแรกพิมพ์แรงเกินไป ปลายนิ้วจิ้มเข้าไปในซอกแป้นอักษร...5555555555...สำหรับคนที่หัดใหม่ ๆ จะโดนเกือบทุกคน...แล้วเสียงเครื่องพิมพ์ดีดสมัยก่อน เวลาพิมพ์ถ้าไม่รัวเป็นข้าวตอกแตกรียกว่า  “ไปหัดพิมพ์ใหม่ได้เลย”  พิมพ์สัมผัสไม่เป็นหรอก...ผู้เขียนฝึกกับอาจารย์ในเทอมแรก จากคนที่พิมพ์ดีดไม่เป็น ไม่รู้จักแป้นพิมพ์  ไม่รู้ว่านิ้วไหนวางตรงอักษรตัวใด...กลับกลายเป็นคนที่พิมพ์สัมผัสได้  พิมพ์เร็ว พิมพ์คล่อง  เวลาอาจารย์ทดสอบ...เก็บคะแนน สอบปลายภาค คว้า A มาทุกเทอม...ตอนนั้นเมื่อจับเวลา จะได้ประมาณ 45 - 50 คำต่อนาที สำหรับพิมพ์ดีดภาษาไทย โดยไม่ผิดแม้แต่เคาะเดียว...สำหรับภาษาอังกฤษจะจับเวลาได้ประมาณ 50 -55 คำต่อนาที โดยไม่ผิดแม้แต่เคาะเดียวเช่นกัน...

                ไม่ว่าแม่แต่การถอดบทความโดยการจดชวเลขแบบเกรก  ผู้เขียนสามารถจดชวเลขแล้วนำมาถอดบทความลงบนเครื่องพิมพ์ดีด ก็สามารถจดได้ชนะ Picman ซึ่งอาจารย์ก็งง บอกว่า ทำได้อย่างไร?...อยากบอกว่า...”มันมีเทคนิคค่ะ”...อิอิอิ...ในระหว่างการจด + ความจำของสมองว่า เราจดตัวหมายความว่าอะไร?...เรียกว่า  เป็นความจำส่วนบุคคล...ไม่เห็นต้องจดให้มากเกินไปหรอก...เวลาถอดเราก็ถอดจากความจำของเราสิ...แค่นี้ ก็ชนะแล้ว...5555555555...ผลสุดท้าย ไม่ว่า วิชาชวเลข วิชาพิมพ์ดีดภาษาไทย - พิมพ์ดีดภาษาอังกฤษ  ผู้เขียนได้เกรด A หมด...ทำให้รู้สึกว่า...สามารถเรียก "ขวัญและความรู้สึก" ในครั้งเมื่อเรียน ม.ศ. 5 (ซึ่งเรียนผิดทาง)...กลับคืนมาได้...เอ!...เราก็ทำได้นี่  สิ่งเหล่านี้ เราไม่เคยเรียนเลย  แต่เราก็ทำได้...มันขึ้นอยู่กับความสามารถ + ความพยายาม +  ความอดทน + การหมั่นฝึกฝนความชำนาญของตัวเรานี่นา...

                สมัยนั้น เมื่อนักเรียนเรียนจบชั้น ม.ศ. 5 กันแล้ว จะมีการเปิดสอน คือ การรับช่วงเมื่อนักเรียนเรียนจบ ม.ศ. 5 แต่ถ้าไม่ต้องการไปเรียนต่อมหาวิทยาลัย หรือสอบเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยไม่ได้ ก็จะมีการสอบเรียนต่ออีก 2 ปี คือ เมื่อจบจะได้รับวุฒิ ปวท. ซึ่งเป็นวุฒิที่อยู่ระหว่าง ปวช. กับ ปวส. การที่รัฐจ้างเงินเดือนก็จะไม่เท่ากันเพราะเวลาในการเรียนแตกต่างกัน...

                สุดท้ายผู้เขียนก็เรียนจบ ปวท. เอกเลขานุการ ซึ่งเทียบได้ ก็คือ  อนุปริญญา เท่ากับวุฒิ ปวส. ยกเว้นเงินเดือนถ้าได้รับจะไม่เท่ากัน...จากวิทยาลัยพิษณุโลก (บึงพระ)...จบออกมาได้เพียง 2 เดือน  ก็สมัครสอบเข้าทำงานที่สหกรณ์การเกษตรพรหมพิราม จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคล  ตำแหน่งพนักงานการเงิน...โดยเป็นลูกจ้างประจำ...ในการสอบครั้งนั้น  ผู้เขียนก็มีความมั่นใจว่าต้องสอบได้แน่ ๆ ไม่ทราบเหมือนกันว่าเพราะเหตุใด...แต่ทราบในใจว่า ตัวเราต้องได้”...คล้าย ๆ กับมีเซนต์บอกว่า  "ได้"...ล้วก็เป็นจริง  ผลประกาศออกมา  ผู้เขียนสอบได้  มีงานทำอยู่ใกล้บ้าน พ่อ – แม่ ก็ดีใจที่เรียนจบแล้วมีงานทำ  สมัยนั้น คนที่จบ ปวท. ปวส. ก็บุญโขแล้ว วุฒิปริญญาตรี จะมีคนเรียนน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่ต้องการทำงานให้ได้ก่อน แล้วจึงจะเรียนต่ออีกครั้ง...แม้แต่การสอบบรรจุเป็นข้าราชการของสำนักงาน ก.พ. ยังรับคนเข้ารับราชการด้วยการจบวุฒิการศึกษา ปวช. เท่ากับระดับ 1 และวุฒิ ปวท.และ ปวส. เท่ากับระดับ 2 ซึ่งการรับบรรจุวุฒิปริญญาตรี เท่ากับระดับ 3 มีน้อยมาก...เพราะสมัยนั้น อาจเป็นที่สภาพเศรษฐกิจ สังคมไทย จะไม่ได้รับการพัฒนามากเท่ากับปัจจุบันนี้...โดยสมัยนี้ มีการให้กู้ยืมเงิน กยศ. เพื่อเรียนต่อให้ถึงระดับปริญญาตรีแล้วค่อยมาผ่อนส่งใช้รัฐบาลคืนตอนทำงานได้แล้ว...จึงนับได้ว่าเป็นโอกาสของเด็กรุ่นใหม่ก็ว่าได้...

 

 การเรียนพิมพ์ดีดในสมัยก่อน  ค่านิยมของคนทั่ว ๆ ไป มักจะคิดว่า...

เมื่อจบจากการเรียนพิมพ์ดีดแล้ว...การทำงาน ก็เป็นเพียง

เสมียนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้น...มีคนรู้ถึงเรื่องในอนาคตสักกี่คน?...

ว่า...ไม่ใช่เป็นแบบที่คนรุ่นก่อนคิดหรอก...เพราะปัจจุบันนี้

ยิ่งใครพิมพ์ดีด หรือพิมพ์คอมพิวเตอร์ได้สัมผัส หรือเรียกว่า

พิมพ์สัมผัสคอมพิวเตอร์ ได้ดี ได้เร็วเท่าไร?...จะแสดงให้เห็นถึง

ความมีคุณภาพในการทำงานได้เร็ว...เราสามารถทำได้เอง

ทำงานได้หลายอย่าง...ไม่จำเป็นต้องให้ลูกน้องทำหรอก...

ตัวเราเองก็ทำได้  พิมพ์ได้ เรียกว่า  "เบ็ดเสร็จในคน ๆ เดียว"...

นี่คือ...ข้อดีของการพิมพ์ดีดสัมผัสเป็นมาจากในสมัยนั้น...

 

 อ่านประสบการณ์ชีวิตของการทำงาน "รับราชการ"

ทุกฉบับ ได้จากที่นี่...

ประสบการณ์ชีวิตของการทำงาน "รับราชการ"



 

 

 

หมายเลขบันทึก: 421600เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2011 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ...คุณยาย...Ico48...

  •  คิดถึงคุณยายเสมอค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...

 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท