Tom_NU
ทพ. วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี

ข้อสงสัยในการทำ KM [R2R]


ไม่จำเป็นต้องทำมาก แต่ทำน้อยแล้วงานมีคุณภาพ ไปแค่ครั้งเดียวก็สามารถออกมาเป็น Paper ได้

      เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ผมบังเอิญได้เข้า Seminar กลุ่มย่อย Mobile Unit ในงานนเรศวรวิจัย หลังจาก present ในส่วนงานของตนเองแล้ว ท่านประธานได้ชี้แนะ ถึงการทำ R2R ว่าไม่จำเป็นต้องทำมาก แต่ทำน้อยแล้วงานมีคุณภาพ ไปแค่ครั้งเดียวก็สามารถออกมาเป็น Paper ได้

      เนื่องจากความอ่อนด้อยทาง KM ทำให้เข้าใจในส่วนแรกว่างานเราต้องมีคุณภาพเพิ่มขึ้นไม่จำเป็นต้องเน้นที่ปริมาณ แต่มองที่คุณภาพ แต่ในส่วนการออกเพียงครั้งเดียวก็ออกมาเป็น Paper ได้ เรียนตามตรงผมไม่เข้าใจครับ แล้วก็ดันมาสงสัยหลังจากปิดประชุม คราวนี้ก็ไม่รู้จะไปถามใคร

      ผมสงสัยในจุดที่ว่าออกเพียงครั้งเดียว มันจะเป็น research ได้ยังไง นอกจากจะเป็นเพียง paper สรุปความคิดแนวทางปฎิบัติในการทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพในครั้งต่อไป (TQM) และอุปสรรคอีกอย่างของทางคณะคือ การออกหน่วยของมหาลัยนั้นจะสลับกันไปเรื่อย ปีละ 2- 3 ครั้งต่อคน และอีกประการคือจะสังเกตได้ว่า คณะเรามักขึ้นรถเป็นกลุ่มสุดท้ายบางครั้งเลยเวลากลับต้องผ่านด่านสายตาที่จ้องมองเดินไปยังที่นั่งของตนเอง เวลาคุยกันหลังจากเลิกหน่วยนั้นน้อยมาก

     ขอเชิญทุกท่าน ลปรร. ในเรื่องนี้ได้เลยนะครับ  จะขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง หากได้แนวทางปฎิบัติจะได้เรียนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในลำดับต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #km#mobile#unit
หมายเลขบันทึก: 42094เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2006 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอขอบคุณอาจารย์ Tom_NU                           

  • ผมมองว่า mobile unit มน. มีความเข้มแข็งในการปฏิบัติมาก โดยเฉพาะทันตกรรม
  • น่าอนุโมทนาสาธุมาก...

ถ้าเพิ่มการบันทึกเก็บข้อมูลให้เป็นระบบเข้าไปทุกครั้ง เช่น อายุ เพศ ตรวจช่องปากแล้วพบอะไร (ฟัน เหงือก ฯลฯ)

ออกแบบบันทึกให้ง่าย และมีรูปประกอบอาจจะช่วยให้เกิดข้อคิด...

  • (1). ปัญหาที่พบบ่อย 2-3 อย่างแรกคืออะไร
    (2). สาเหตุ 2-3 อย่างแรกคืออะไร 
    (3). นำมาตีแผ่ > อาจจะได้ paper
    (4). มีวิธีเข้าไปปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น (intervention) หรือไม่ เช่น ป้องกันไม่ให้เกิดโรค ฯลฯ
    (5). ข้อ (4) จะทำอย่างไร > ทำแล้วได้ผลหรือไม่ > อาจจะลองทำกับพื้นที่ใกล้ๆ เพื่อติดตามผลระยะยาว คล้ายกับการศึกษาวิจัยระยะยาว
    (6). วิธีศึกษาตามข้อ (4) มีทางทำให้เป็นการสุ่ม (randomized) ตามระเบียบวิธีวิจัยหรือไม่ ถ้าทำได้จึงจะได้ paper ใหญ่

เรื่องหนึ่งที่ผมขอเดาคือ ทุกวันนี้มีการเก็บตัวอย่างเลือดที่เหลือจากการตรวจไปทำวิจัยได้หลายอย่าง

  • ของที่คนทิ้งแล้ว เช่น ฟันที่ถอนทิ้ง แปรงสีฟันทิ้งแล้ว ฯลฯ เก็บไว้ก่อนได้หรือไม่
  • พอจะมีวิธีนำฟันไปวิจัยอะไรได้หรือไม่ เช่น ปีนี้มีคนศึกษาการสึกกร่อนของฟันที่ถอนออกมาแล้วในเครื่องดื่มชนิดต่างๆ ฯลฯ
  • ศึกษาวิธีใช้แปรงสีฟันจากแปรงทิ้งแล้วได้หรือไม่

อือม์... ลืมบอกไป                                             

  • ได้เข้าไปออกเสียง (vote) ให้ Honda Accord กับเด็กน้อย 2 ตัวท้ายรถ(สุนัข)ให้อาจารย์แล้วครับ

ขอบคุณอาจารย์ เป็นอย่างสูงครับ

ทั้งคำแนะนำในการเก็บข้อมูล และโหวตภาพครับ

ขอบคุณมากครับ :-)

อ่านแล้ว งง ดีจัง

ไม่รู้ i เข้าใจแค่ a little bit.

เรียน อาจารย์ Tom_NU                                   

  • ผมนึกตัวอย่างการพัฒนานวัตกรรมที่ถ้าทำได้ > มีโอกาสจะจดทะเบียนสิทธิบัตร หรือเผยแพร่ผลงานทางทันตกรรมได้
  • โปรดคลิกเพื่ออ่านส่วน "ข้อคิดเห็น"
    http://gotoknow.org/blog/thaiphon/44922
  • ขอขอบคุณครับ
ครูเอื้อง รับสอนโยคะ สนใจโทรปรึกษาได้ 086-5721103
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท