ประโยคตามแนวคิดสถาบันภาษาไทย


ประโยคตามแนวคิดใหม่

ประโยค

ประโยค คือ คำหรือกลุ่มคำที่นำมาเรียงกันตามความสัมพันธ์ ทางไวยากรณ์ และสามารถสื่อความได้ว่า มีอะไรเกิดขึ้น หรืออะไรมีสภาพเป็นอย่างไร โดยทั่วไปประโยคประกอบด้วยส่วนสำคัญ  ๒  ส่วนคือนามวลี ทำหน้าที่ประธาน กับกริยาวลีทำหน้าที่ภาคแสดง แต่ในการสื่อสารจริงประธาน บางส่วนของประธาน หรือบางส่วนของภาคแสดงอาจไม่ปรากฏก็ได้ หากมีบริบทหรือสถานการณ์ ช่วยทำให้เข้าใจประโยคนั้นเพียงพอแล้ว

ที่

ประธาน

ภาคแสดง

แม่

เป็นคนอดทน

แม่ของเพื่อน

เป็นน้องอาจารย์สมศรี

แม่ของเพื่อนคนนี้

สนิทกับแม่ของฉันมาก

คนไทย

ต้องรู้จักตนเอง

คนไทยรุ่นใหม่

ควรมีวินัยในการใช้จ่าย

คนไทยรุ่นใหม่ในทศวรรษนี้

ต้องเก่งเทคโนโลยี

เด็ก ๆ

นั่งในห้องเรียน

เด็กผู้ชาย ๒ – ๓ คน

กำลังเล่นฟุตบอลอยู่ในสนาม

เด็กรุ่นพี่

ให้หนังสือเรียนแก่รุ่นน้อง

๑๐

เด็กหลายคน

กำลังจัดนิทรรศการในห้องประชุม

๑๑

นักเรียนกลุ่มนั้น

ได้รับรางวัลเรียนดีจากผู้อำนวยการ

๑๒

ลุงเทียบกับป้าสาย

กำลังปลูกต้นไม้อย่างขะมักเขม้น ในสวนหลังบ้าน

๑๓

เด็ก ๆ ทุกคนที่นั่งอยู่ในห้องประชุม

สวมเสื้อยืดสีชมพู

๑๔

วิภากับอารี

ดีใจที่สอบชิงทุนรัฐบาลได้

๑๕

เรือลำนั้น

กำลังเดินทางไปสร้างฐานขุดเจาะน้ำมันกลางทะเล

๑๖

พี่กับน้อง

กำลังจะไปเที่ยวแม่ฮ่องสอน

๑๗

เพื่อนของนภาพร

ไปฝึกรำไทยที่โรงเรียนนาฎศิลป์สัมพันธ์

๑๘

เถ้าแก่

เบิกเงินมาแจกลูกน้อง

๑๙

พ่อและแม่

ไปเชียงใหม่

๒๐

สุรีย์หรือแสงดาว

เป็นเลขานุการบริษัทของพี่

๒๑

คุณป้าของฉัน

ชอบพรเทพและพรรณีมาก

๒๒

วิยะดากับน้อง ๆ

จะไปเที่ยวต่างจังหวัดกับพ่อและแม่

๒๓

สมศักดิ์

จะอยู่กับลุงหรือป้า

 

การวิเคราะห์ส่วนประชิด  (Immediate  Constituents Analyses)

 

ประธาน

ภาคแสดง

ส่วนหลัก

ส่วนขยาย

ส่วนหลัก

ส่วนขยาย

ส่วนหลัก

ส่วนขยาย

ส่วนหลัก

ส่วนขยาย

น้อง

เพื่อน

-

-

สวม

เป็นประจำ

เสื้อ

ตัวใหญ่

สมศักดิ์

 

 

 

จะอยู่

กับลุงหรือป้า

 

 

คุณป้า

ของฉัน

 

 

ชอบ

พรเทพและพรรณี

 

 

 

ภาคประธาน

ภาคแสดง

ส่วนหลัก

ส่วนขยาย

ส่วนหลัก

ส่วนขยาย

น้อง

เพื่อน

สวม

เสื้อตัวใหญ่เป็นประจำ

 

 

 

ส่วนหลัก

ส่วนขยาย

 

 

 

เสื้อตัวใหญ่

เป็นประจำ

 

 

 

ภาคประธาน

ภาคแสดง

 

 

 

 

เสื้อ

ตัวใหญ่

 

 

 

 

 

ภาคประธาน

ภาคแสดง

 

 

 

 

 

ตัว

ใหญี

 

 ประโยคในภาษาไทยอาจแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น  ๓  ชนิด ได้แก่

๑.  ประโยคพื้นฐาน

๒.  ประโยคซ้อน

๓.  ประโยครวม

 

๑.  ประโยคพื้นฐาน  คือประโยคที่ประกอบด้วย นามวลีทำหน้าที่ประธาน กับกริยาวลีทำหน้าที่ภาคแสดงประโยคพื้นฐานต้องไม่มีส่วนขยายใด ๆ เป็นอนุประโยค ในการสื่อสารประธานหรือบางส่วนของประธานอาจไม่ปรากฏได้ ประโยคพื้นฐานแบ่งออกได้เป็น  ๒  ชนิด คือ ประโยคพื้นฐานที่มีกริยาวลีเดียว กับประโยคพื้นฐานที่มีหลายกริยาวลี แต่ต้องไม่มีคำเชื่อมกริยาวลีเหล่านั้น

๑.๑  ประโยคพื้นฐานชนิดที่มีกริยาวลีเดียว เช่น

เด็กหญิงสุนันท์นั่งในห้องเรียน

เด็กผู้หญิง ๓ – ๔ คนกำลังเล่นต้องเตอยู่หน้าบ้าน

น้องถูกดุ

กฎหมายได้รับการพิจารณา

เครื่องหมายที่พักริมทางตามถนนหลวงถูกลบเสียแล้ว

ปุ๊กลุกอ้วนมากตอนเล็ก ๆ

บ้านสีครีมหลังนั้นสวย

นายเที่ยงเป็นครูใหญ่โรงเรียนประจำจังหวัด

วันที่  ๑  มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่

นิสัยวารุณีเหมือนคุณพ่อ

คนไทยต้องรู้จักตนเอง

อุบลกำลังกินส้มตำซุปหน่อไม้และหมูน้ำตำ

ลักษณะให้ของขวัญสุวรรณีทุกปี

พ่อกำลังรดน้ำต้นไม้

อาจารย์เพิ่มขายหนังสืออ่านนอกเวลานักศึกษาปีที่  ๑

ผู้จัดการเคยแจกโบนัสลูกน้องทุกปี

ปรีชาเพิ่งเป็นหัวหน้าห้อง ๒๐๖

ไม่ต้องไปงานกาชาดแล้ว

ง่วงเหลือเกิน

กินขนมซิ

รีบ ๆ เข้า

รักกันไว้เถิด

หิวจังเลย

เดี๋ยวตีนะ

๑.๒  ประโยคพื้นฐานที่มีกริยาวลีหลายกริยาวลี (ประโยคกริยาเรียง)

ประโยคพื้นฐานชนิดนี้มีกริยาวลี  หลายวลี กริยาวลีเหล่านั้นจะเป็นภาคแสดงของประธานเดียวกันหรือเป็นภาคแสดงของประธานต่างกันก็ได้ แต่ต้องไม่มีคำเชื่อมเชื่อมกริยาวลีเหล่านั้น  กริยาวลีในประโยคอาจแสดงเหตุการณ์ที่เกิดพร้อมกัน เกิดต่อเนื่องกัน เกิดก่อนหลังตามลำดับ หรือเหตุการณ์หลังเป็นผลจากเหตุการณ์แรกก็ได้ เช่น

ก.  เหตุการณ์ในประโยคเกิดพร้อมกัน เช่น

สมชายโบกมือลาพวกเรา

สมเกียรติ์ขับรถฝ่าไฟแดง

เก๋นอนร้องเพลงในห้องนั่งเล่น

แอ๋วกับน้องกำลังนั่งอ่านหนังสือพิมพ์

ข.  เหตุการณ์ในประโยคเกิดต่อเนื่องกัน หรือเกิดก่อนหลังตามลำดับ เช่น

คุณปู่เดินไปใส่บาตรหน้าบ้าน

สมทรงพับเสื้อเก็บเข้าตู้

สุดาทำอาหารกินเอง

คุณป้าไปซื้อของที่ตลาด

แต๋ววิ่งไปเปิดประตูบ้าน

ค.  เหตุการณ์หลังเป็นผลของเหตุการณ์แรก เช่น

คลื่นซัดบ้านพังหมด

ลมพัดสังกะสีปลิว

เขาดีใจหัวเราะท้องคัดท้องแข็ง

หนาวเกี่ยวเสื้อขาดเป็นปากฉลาม

สุดารีดเสื้อเรียบมาก

เด็กลื่นหกล้มก้นกระแทก

เขาซักผ้าสะอาดดี

 ๒.  ประโยคซ้อน  คือประโยคที่มีอนุประโยคอยู่ด้วย  อนุประโยค คือ ประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำเชื่อมอนุประโยค อนุประโยคทำหน้าที่ได้อย่างนามวลี คือ ประธาน กรรม หน่วยเติมเต็ม หรือขยายส่วนหลักในนามวลี หรือทำหน้าที่อย่างวิเศษณ์วลีขยายกริยาในประโยคนั้น

ตัวอย่าง  ประโยคซ้อนที่มีอนุประโยคทำหน้าที่ประธาน เช่น

ที่คุณพูดไม่เป็นความจริง

ที่คุณพูดเป็นอนุประโยคทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค

ตัวอย่าง ประโยคซ้อนที่มีอนุประโยคทำหน้าที่กรรม เช่น

เราต้องบอกนภาว่าประเสริฐจะไปงานคืนนี้ด้วย

ว่าประเสริฐจะไปงานคืนนี้ด้วย เป็นอนุประโยคทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา  บอก

ตัวอย่างประโยคซ้อนที่มีอนุประโยคที่เป็นส่วนเติมเต็ม (ใช้เป็นส่วนประกอบอนุประโยคอยู่หลังกริยาอกรรม ที่แสดงอารมณ์ รัก กริยาสื่อสาร) 

แมวดีใจที่สอบชิงทุนรัฐบาลได้

ที่สอบชิงทุนรัฐบาลได้เป็นอนุประโยคทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของกริยา ดีใจ

ตัวอย่างประโยคซ้อนที่มีอนุประโยคทำหน้าที่ขยายนาม เช่น

คนที่เดินเร็วมักเดินนำหน้าคนอื่นเสมอ

ที่เดินเร็ว เป็นอนุประโยคทำหน้าที่ขยายคำว่า คน

ตัวอย่างประโยคซ้อนที่มีอนุประโยคทำหน้าที่ขยายกริยา เช่น

เขาทำงานหนักจนล้มป่วย

จนล้มป่วย เป็นอนุประโยคทำหน้าที่ขยายกริยาทำงานหนัก

อนุประโยคแบ่งได้เป็น  ๓  ชนิด คือ นามานุประโยค  คุณานุประโยค  และวิเศษณานุประโยค

๒.๑  ประโยคซ้อนที่มีนามานุประโยค

นามานุประโยค เป็นประโยคที่ลดฐานะลงเป็นอนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนนามวลี กล่าวคือ อาจเป็นประธาน กรรม ส่วนเติมเต็ม หรือขยายความ นามานุประโยคอาจมีคำเชื่อม  นามานุประโยคาได้แก่ ที่  ที่ว่า ให้ นำหน้า เช่น

ที่เขาเล่ามานั้นถูกต้องแน่นอน

ที่เขาเล่ามานั้นเป็นนามานุประโยคทำหน้าที่เป็นประธานของกริยาวลี ถูกต้องแน่นอน

พรลักษณมีไม่ชอบให้ใครมาว่าครูของเธอ

ให้ใครมาว่าครูของเธอ ทำหน้าที่กรรมของกริยาวลี  ไม่ชอบ

ครูดีใจที่นักเรียนของครูสอบผ่านหมดทุกคน

ที่นักเรียนของครูสอบผ่านหมดทุกคน เป็นนามานุประโยคทำหน้าที่ส่วนเติมเต็มของกริยา “ดีใจ”

ข่าวที่ว่าสุดใจถูกล็อตเตอร์รี่  ๕๗  ล้าน เป็นแค่ข่าวลือ

ที่ว่าสุดใจถูกล็อตเตอร์รี่เป็นนามานุประโยคขยายนาม  “ข่าว”

เขาไปคอยตรงที่เราเคยพบกัน

ที่เราเคยพบกัน เป็นนามานุประโยคตามหลังบุพบท “ตรง”

วรรณีทำทุกอย่างตามที่แม่สั่ง

ที่แม่สั่ง  เป็นนามานุประโยค ตามหลังบุพบท  “ตาม”

๒.๒  ประโยคซ้อนที่มีคุณานุประโยค  คือประโยคที่ลดฐานะลงเป็นอนุประโยคทำหน้าที่ขยายนามที่นำมาข้างหน้า ประโยคชนิดนี้มีคำเชื่อมอนุประโยค   ที่ ซึ่ง อัน และคำเชื่อมคุณานุประโยคนั้นเป็นประธานของอนุประโยคด้วย เช่น

สุมาลีซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารได้รับพระราชทานสายสะพายมหาดิเรกคุณาภรณ์ในปีนี้

ซึ่งเป็นผู้จัดการธนาคารเป็นคุณานุประโยค ขยายนาม สุมาลี

เสื้อที่พี่พัธนีสวมอยู่สวยมาก

ที่พี่พัทธนีสวมอยู่เป็นคุณานุประโยค ขยายนาม เสื้อ

ผลของการกระทำอันเหลวไหลย่อมไม่แน่นอน

อันเหลวไหลเป็นคุณานุประโยคขยายนาม   “การกระทำ”

สุดาซื้อเสื้อสีฟ้าตัวนั้นจากเด็กที่อยู่ข้างบ้าน

ที่อยู่ข้างบ้าน เป็นคุณานุประโยคขยายนาม “เด็ก”

๒.๓  ประโยคซ้อนที่มีวิเศษณานุประโยค  วิเศษณานุประโยค คือ ประโยคที่ลดฐานะลงเป็นอนุประโยค ทำหน้าที่ขยายกริยาวลีหรือวิเศษณ์วลี มีคำเชื่อมวิเศษณานุประโยค มีหลายกลุ่ม เช่น

คำเชื่อมวิเศษณานุประโยคบอกเวลา เช่น ขณะที่ เมื่อ ก่อน หลัง หลับจากที่ แต่ ตั้งแต่

คำเชื่อมวิเศษณานุประโยคบอกเหตุ เช่น เพราะ เนื่องจาก

คำเชื่อมวิเศษณานุประโยคบอกผล เช่น  จน กระทั่ง  จนกระทั่ง

คำเชื่อมวิเศษณานุประโยคบอกจุดมุ่งหมาย เช่น  ถ้า  หาก  หากว่า ถ้าหากว่า

คำเชื่อมวิเศษณานุประโยคบอกความขัดแย้ง เช่น  ทั้งที่  แม้ว่า

ตัวอย่างวิเศษณานุประโยคบอกเวลา เช่น 

นิตยามาเมื่อเธอหลับ

เด็ก ๆ กลับไปหลังงานเลิกแล้ว

ตัวอย่างวิเศษณานุประโยคบอกเหตุ เช่น 

เขานอนตัวสั่นเพราะกลัวเสียงปืน

สมปองเป็นหวัดเนื่องจากตากฝนอยู่นาน

ตัวอย่างวิเศษณานุประโยคบอกผล เช่น 

เขาอ้วนจนเดินไม่ไหว

ป้าพูดเร็วกระทั่งฉันฟังไม่ทัน

ตัวอย่างวิเศษณานุประโยคบอกความมุ่งหมาย เช่น 

เขาทำงานหนักเพื่อช่วยให้สังคมดีขึ้น

เธอร้องเพลงกล่อมเพื่อให้ลูกเพลิน

ตัวอย่างวิเศษณานุประโยคบอกเงื่อนไข เช่น 

เธอจะประสบความสำเร็จถ้าตั้งใจทำงานจริง

หากเขาไม่มาฉันจะดำเนินงานเอง

ตัวอย่างวิเศษณานุประโยคบอกความขัดแย้ง เช่น 

แม้ว่าเขาจะไม่สบายเขาก็พยายามทำงานจนสำเร็จ

ทั้งที่ไม่เห็นด้วยกับหัวหน้าเขาก็ปฏิบัติตามคำสั่ง

เขาก็พยายามทำงานต่อจนเสร็จทั้งที่เขาป่วย

 

๓.  ประโยครวม

ประโยครวม คือ ประโยคซึ่งประกอบด้วยประโยคพื้นฐาน ๒ ประโยคขึ้นไป มีคำเชื่อมสมภาค และ แต่ หรือ ทำหน้าที่เชื่อมประโยค พื้นฐานดังกล่าวให้เป็นประโยคเดียวกัน ประโยคพื้นฐานเหล่านั้นมีฐานะและน้ำหนักของเนื้อความเท่ากัน ถ้าประธานหรือกรรมของประโยคพื้นฐานเป็นคนหรือสิ่งเดียวกัน จะละประธานหรือกรรมในประโยคที่สอง เช่น

พรทิพย์ชอบกินลำไยแต่น้องชายชอบกินทุเรียน

ประโยคนี้เป็นประโยครวมซึ่งประกอบด้วยประโยคพื้นฐาน “พรทิพย์ชอบกินลำไย” และ “น้องชายชอบกินทุเรียน”  โดยมีคำเชื่อมสมภาค “แต่” ทำหน้าที่เชื่อมประโยคพื้นฐานทั้งสองให้เป็นประโยคเดียวกัน

สุรชัยเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์แต่สุวคนธ์เรียนคณะอักษรศาสตร์

ประโยคนี้เป็นประโยครวมซึ่งประกอบด้วยประโยคพื้นฐาน “สุรชัยเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์” กับ “สุวคนธ์เรียนคณะอักษรศาสตร์”  โดยมีคำเชื่อมสมภาค “แต่” ทำหน้าที่เชื่อมประโยคพื้นฐานทั้งสองให้เป็นประโยคเดียวกัน

ฉันเคยอ่านหนังสือเรื่องเมืองอู่ทองแต่ไม่เคยไปที่นั่นเลย

ประโยคนี้เป็นประโยครวมซึ่งประกอบด้วยประโยคพื้นฐาน “ฉันเคยอ่านหนังสือเรื่องเมืองอู่ทอง” กับ “ฉันไม่เคยไปที่นั่นเลย”  โดยมีคำเชื่อมสมภาค “แต่” ทำหน้าที่เชื่อมประโยคพื้นฐานทั้งสองให้เป็นประโยคเดียวกัน

วีรภาออกแบบและตัดเย็บเสื้อผ้าเอง

ประโยคนี้เป็นประโยครวมซึ่งประกอบด้วยประโยคพื้นฐาน “วีรภาออกแบบเสื้อผ้าเอง” กับ “วีรภาตัดเย็บเสื้อผ้าเอง”  โดยมีคำเชื่อมสมภาค “และ”  ทำหน้าที่เชื่อมประโยคพื้นฐานทั้งสองให้เป็นประโยคเดียวกัน

พ่อจะไปบางลำพูดและแม่ก็จะไปด้วย

ประโยคนี้เป็นประโยครวมซึ่งประกอบด้วยประโยคพื้นฐาน “พ่อจะไปบางลำพูด” กับ “แม่ก็จะไปบางลำพูดด้วย”  โดยมีคำเชื่อมสมภาค “และ”  ทำหน้าที่เชื่อมประโยคพื้นฐานทั้งสองให้เป็นประโยคเดียวกัน

สมปองอาบน้ำ กินข้าวและทำการบ้านเสร็จแล้ว

ประโยคนี้เป็นประโยครวมซึ่งประกอบด้วยประโยคพื้นฐาน ๓  ประโยค คือ  “สมปองอาบน้ำ” “(สมปอง)กินข้าว” กับ “(สมปอง) ทำการบ้านเสร็จแล้ว”  โดยมีคำเชื่อมสมภาค “และ”  ทำหน้าที่เชื่อมประโยคพื้นฐานทั้งสองให้เป็นประโยคเดียวกัน

คุณจะนั่งรถ ลงเรือหรือจะขึ้นเครื่องบินไป

ประโยคนี้เป็นประโยครวมซึ่งประกอบด้วยประโยคพื้นฐาน ๓  ประโยค คือ  “คุณจะนั่งรถ” “(คุณจะ)ลงเรือ” กับ “(คุณจะ) ขึ้นเครื่องบินไป”  โดยมีคำเชื่อมสมภาค “หรือ”  ทำหน้าที่เชื่อมประโยคพื้นฐานทั้งสองให้เป็นประโยคเดียวกัน

หมอจะไปหาคนไข้หรือคนไข้จะมาหาหมอ

ประโยคนี้เป็นประโยครวมซึ่งประกอบด้วยประโยคพื้นฐาน “หมอจะไปหาคนไข้” กับ “คนไข้จะมาหาหมอ”  โดยมีคำเชื่อมสมภาค “หรือ”  ทำหน้าที่เชื่อมประโยคพื้นฐานทั้งสองให้เป็นประโยคเดียวกัน

ในการสื่อสารให้ได้เนื้อความหนึ่ง ผู้ใช้ภาษาอาจต้องการเสนอความคิดหลายเรื่อง ประโยคหนึ่ง ๆ จึงอาจประกอบด้วยประโยคหลายชนิดรวมกันเป็นประโยคเดียวกันก็ได้ เช่น ประโยคซ้อนมีอนุประโยคประกอบด้วยประโยครวมและประโยครวมที่ประกอบด้วยประโยคซ้อน ดังตัวอย่าง

ครูสั่งให้นักเรียนอ่านบทที่  ๓  และทำแบบฝึกหัดท้ายบท

ประโยคนี้เป็นประโยคซ้อนซึ่งมีนามานุประโยค “ให้นักเรียนอ่านบทที่  ๓  และทำแบบฝึกหัดท้ายบท”  ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา “สั่ง” นามานุประโยคนี้ลดฐานะลงมาจากประโยครวมซึ่งประกอบด้วยประโยคพื้นฐาน  ๒  ประโยค คือ “นักเรียนอ่านบทที่  ๓” และ “(นักเรียน)  ทำแบบฝึกหัดท้ายบท”  โดยมีคำเชื่อมสมภาค “และ” เชื่อมประโยคพื้นฐานทั้งสอง

 

สุดารับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์และดื่มแต่น้ำที่มีบริสุทธิ์

ประโยคนี้เป็นประโยครวม ประกอบด้วยประโยคซ้อน ๒ ประโยค ได้แก่

“สุดารับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์”

 กับ “(สุดา) ดื่มแต่น้ำที่บริสุทธิ์”

โดยมีคำเชื่อมสมภาค “และ” ทำหน้าที่เชื่อมประโยคทั้งสอง

ประโยคซ้อน “สุดารับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์”

มีคุณานุประโยค “ที่มีประโยชน์” ขยายคำนาม “อาหาร”

และประโยคซ้อน “(สุดา)ดื่มแต่น้ำที่บริสุทธิ์” มีคุณานุประโยค “ที่บริสุทธิ์” ขยายคำนาม “น้ำ”

 หมายเหตุ คำ "และ" "หรือ" จะต้องเชื่อมประธานและกริยาเท่านั้นจึงจะทำให้ประโยคนั้นเป็นประโยครวม ถ้าเชื่อมบทกรรมจะไม่ทำให้ประโยคนั้นเป็นประโยครวม เช่น

ฉันและเธอเป็นนักเรียนฉวางรัชดาภิเษก   เป็นประโยครวมเพราะเชื่อม ประธาน

ฉ้นมาโรงเรียนและเรียนหนังสือ   เป็นประโยครวมเพราะเชื่อมกริยา

ฉ้นพบเธอและเพื่อนหน้าโรงเรียน  ไม่เป็นประโยครวม เพราะเชื่อมบทกรรม

 

หมายเลขบันทึก: 420401เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2011 08:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
น.ส ชนาพร เราอิสระการ เลขที่36 ม.5/5

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ ..

เข้ามาเรียนทางอินเตอร์เน็ตทำให้เข้าใจเเละรู้เรื่องขึ้นมากกว่าเดิม

นางสาว ชนาพร เราอิสระการ เลขที่36 ม.5/5

นางสาวพรนิภา ราชธานี

เลขที่13 ม.5/2

หรอยจิง อาจารย์...สุดยอด

นางสาวเจนจิรา ปัญญาใส ม.5/2 เลขที่ 38

น.ส.ศิริลักษณ์ ทองใหม่

ม.5/4 เลขที่ 3

นางสาวกรกช สีเจริญวัฒนา ม.5/2 เลขที่ 37

ได้ความรู้มากมายเลยค่ะ

นางสาวกรกช  สีเจริญวัฒนา  ม.5/2  เลขที่  37

ได้เข้ามาอ่านแล้วรู้เรื่องเกียวกับประโยคมากขึ้นคะ ( ขอบคุณนะคะอาจารย์ )

น.ส.วรรณิศา จันทโกมุท ม.5/2 เลขที่ 34

ได้ความรู้เพียบ

ได้ความรู้เพิ่มเติมมากมายเลยค่ะอาจารย์    

น.ส.ยุวภา  เอี่ยมวงศ์  เลขที่  39  ม.5/2

นาย กำธร สุกรี

ม.5/4 เลขที่ 1

ขอบคุนคร๊อาจารย์

นางสาว จิตรานุช งิ้วใหญ่

ม.5/2 เลขที่ 12

น.ส.สกุลรัตน์ บาลจ่าย

มีความรู้เพิ่มขึ้นมากค่ะ

น.ส.สกุลรัตน์ บาลจ่าย

เลขที่ 22 ม.505

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท