แบ่งปันบทความ: ปฏิรูปการศึกษา คำถามจากบ้านนอก โดย อ.เสรี พงศ์พิศ 1


ได้อ่านบทความมติชนรายวันฉบับครบรอบหลาย ๆ ปี
ของหนังสือพิมพ์นั้น มีบทความหนึ่งที่สะท้อนให้เห็น
ถึง คำตอบแห่งการปฏิรูปการศึกษา ที่จะต้องรับฟัง 
สำหรับตัวผมเองแล้ว คำถามและำคำตอบในบทความนี้
เป็นกุญแจไขปัญหาการศึกษาและการปฏิรูปทั้งหมด
โดยอาจารย์เสรี พงศ์พิศ เคยสอนอยู่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ในระยะสั้น ๆ ตำแหน่งทางวิชาการสุดท้ายคือรองศาสตราจารย์
จบปริญญาตรี ถึง เอก ทางด้านปรัชญา เป็นผู้ทำความคิดของ
ตนเองให้เป็นรูปธรรมในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยชีวิต ซึ่งเป็นการ
ศึกษาเพื่อชุมชนหมู่บ้าน การก่อตั้งวิสาหกิจชุมชน ผมได้หลังขด
หลังแข็งในการคัดลอกบทความจากหนังสือพิมพ์ โดยนำเสนอเป็น
ตอน ๆ ดังนี้

 

 

ปฏิรูปการศึกษา คำถามจากบ้านนอก โดย เสรี พงศ์พิศ

 

แต่ก่อนเด็กผู้ชายไปบวชเรียน บวชเสร็จออกเดินทางหาวิชาความรู้ตามที่ปู่ย่าตายายบอกว่า มีวิชาเหมือนมีทรัพย์อยู่นับแสน ได้วิชาเลี้ยงชีพแล้ว

จึงแต่งงานมีควรอบครัว ส่วนเด็กผู้หญิงก็เรียนรู้อยู่กับบ้าน เรียนจากแม่และญาติพี่น้อง จากชุมชน ลูกหลานชายหญิง

เรียนจากชีวิตจริง เรียนจากการปฏิบัติ

สังคมเปลี่ยนไป เกิดมีโรงเรียนนอกวัด ทางการสั่งให้เด็กทุกคน

ต้องไปเรียน พร้อมกับบอกกล่าวทุกวันว่า ต้องเรียนสูง ๆ เพื่อจะได้เป็นเจ้าคนนายคน จะได้ไม่ต้องทำไร่ ทำนา

ให้เหนื่อยยาก พ่อแม่บางคนหาเงินส่งเสียลูกให้เรียนถึงชั้นมัธยม

ไม่พอขายวัว ขายควาย ขายไร่ ขายนา ส่งลูกไปเรียนมหาวิทยาลัย

วันนี้คงไปเป็นเจ้าเป็นนายได้ยากหน่อย เพราะตำแหน่งน้อย แต่อย่างน้อยก็ได้ไปทำงานในเมืองในสำนักงาน ในห้องแอร์

ไม่ต้องตากแดด ตากฝน ไปทานในภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการ

มีเงินเดือน มีความมั่นคงในชีวิตกว่าการหาเช้ากินค่ำแบบอด ๆ อยาก ๆ

การศึกษาแบบนี้มีแต่ทำให้ลูกหลานชาวบ้านทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิด การศึกษาแบบนี้มีแต่จะทำให้คนรังเกียจอาชีพทำไร่ทำนา เห็นคุณค่าของอาชีพเกษตร ไม่เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ไม่เห็นคุณค่าของทรัพยากร ทุนทางธรรมชาติ ทุนทางสังคมของท้องถิ่น

การไปโรงเรียนที่มีเป้าหมายแบบนี้ทำให้สิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง

ไม่ได้สัมพันธ์กันเลยเรียนแล้วไม่ได้ช่วยให้นักเรียนได้วิชาความรู้

ที่เอาไปช่วยงานพ่อแม่ในไร่ ในนา ในสวน ในบ้าน เรียนแล้วเครียด คิดอย่างเดียววาเมื่อไรจะโต จะได้หนีไปไกล ๆ จากบ้านนอกคอกนา ที่ห่างไกลความเจริญแห่งนี้ ทำอย่างไรจะได้ติว แล้วเข้าโรงเรียนดี ๆ จะได้เข้ามหาวิทยาลัยดี ๆ ได้

มีไหมโรงเรียนประถม มัธยม และสถาบันอุดมศึกษา ที่โรงเรียนร่วมกับชุมชนร่วมกันจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เด็ก ๆ โดยมีเป้าหมายร่วมกันว่า ทำอย่างไรให้ลูกหลานเรา อยู่อย่างมีศักดิ์ศรีและมีกินในท้องถิ่นของตนเองได้

เอาเรื่องนี้เป็นเป้าหมายหลัก ใช่เอาทางเลือกสุดท้าย

สำหรับเด็กสมองปึก ครอบครัวยากจน

ถ้าวางเป้าหมายกลับกันเช่นนี้ แม้แต่สถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่น

ก็ควรตั้งเป้าหมายหลักว่า  จัดการเรียนการสอนอย่างไร เรียนแล้วทำให้ผู้เรียนสามารถอยู่ในท้องถิ่นได้อย่างมีศักดิ์ศรี

และมีกิน สามารถอยู่รอด พอเพียง มั่นคง ยั่งยืนได้ โดยไม่ต้องไปทำงานที่อื่น

คำถามจากหมู่บ้าน คือ กลับไปเรียนแบบเดิม

เหมือนเมื่อก่อนได้ไหม เรียนเพื่อให้คนมีปรัชญาชีวิต มีหลักปฏิบัติที่ดีมีศีลธรรมเหมือนเด็กผู้ชายที่ไปบวชเรียน และไปเรียนแล้วได้วิชาเหมือนเมื่อก่อน ที่ชายหนุ่มตระเวน

ไปเรียนรู้ในสถานที่ต่าง ๆ ไปเรียนกับผู้รู้ ไปฝึกปฎิบัติโดยตรง

จนทำได้ แล้วกลับไปทำเองที่บ้าน

จัดการเรียนเหมือนที่เด็กหญิงเรียนกับแม่ พี่สาว กับญาติพี่น้อง

และชุมชน เรียนในชีวิตจริง เรียนโดยการปฎิบัติ การแก้ปัญหา  

การซึมชับ การถ่ายทอดและสืบทอดทางจิตวิญญาณ

การจัดการเรียนรู้แบบนั้น ด้วยรูปแบบเดิม ๆ คงทำไม่ได้  แต่เอาจิตวิญญาณอย่างนั้นไปปรับใช้ เอาเนื้อหา เอาปรัชญามาหารูปแบบใหม่ที่เหมาะสมกับชีวิตที่เปลี่ยนไป

อยู่ที่ว่าผู้กำกับและผู้มีอำนาจในการปรับเปลี่ยนนโยบาย

เข้าใจสาระของเรื่องนี้เพียงใด ถ้าเข้าใจคงต้องตอบคำถามว่า

1. จัดการศึกษาแบบไหน ให้ผู้เรียนว่า ประถม มัธยม อุดมศึกษา เรียนแล้วสามารถพึ่งพาตนเองได้ สามารถอยู่ในท้องถิ่นอย่างมีศักดิ์ศรี และมีกินอย่างพอเพียง

2. จัดการศึกษาแบบไหน ผู้เรียนไปเรียนอย่างมีความสุข  เรียนแล้วแก้ปัญหาความทุกข์ยากต่าง ๆ ได้ เรียนแล้ว

ทำให้สุขภาพดีขึ้น แก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้

3. จัดการศึกษาแบบไหน ผู้เรียนมีความภูมิใจและรักถิ่นฐานบ้านเกิด มีส่วนในการทำให้ชุมชนหมู่บ้านมีชีวิตที่ดีกว่า แก้ไขปัญหาต่าง ๆ และพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น  ผู้คนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ออกไปทำงานที่ไหนก็อยู่ได้อย่างพอเพียง และมั่นคง

การจัดการศึกษาแบบที่ทำทุกวันนี้ ไม่ได้เป็นเช่นนี้

คำถามจากบ้านนอก คือเมื่อไรจะเลิกให้นักเรียนเป็น

นกแก้วนกขุนทอง แข่งขันกันเอาเป็นเอาตาย

เพื่อจะสอบให้ได้เกรดดี ๆ

แข่งขันเข้าโรงเรียนดี ๆ และไปมหาวิทยาลัยดี ๆ

ทำไมยังเน้นที่การเรียนแบบเพื่อรู้ (cognitive)

เรียนแบบถ่ายทอดความรู้ทำไมไม่ให้ความสำคัญกับการเรียน

เพื่อการสร้างสรรค์และการเปลี่ยนแปลง (constructive transformative) เรียนเพื่อค้นพบตนเอง ค้นพบศักยภาพของตนเอง เรียนเพื่อค้นพบคุณค่าและความหมายของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวด้วยการตั้งคำถามมากกว่าหาคำตอบ

มีการฝึกอบรมครูอาจารย์ เรื่องทฤษฎีการศึกษาดี ๆ

สำหรับเด็กเช่น (constructivism) หรือสำหรับผู้ใหญ่

เช่น (Transformative learning) แต่ถาว่าอบรมแล้วนำไปปฏิบัติกี่คน

กี่แห่ง ได้ผลอะไร ความชัดเจนของนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และเงื่อนไของค์ประกอบอื่น ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้มีหรือไม่ เพราะอบรมอย่างเดียวคงไม่สามารถเปลี่ยนครูที่สอนแบบเดิม ๆ

มา 20 – 30 ปีได้ ไม่ว่าคุณจะใช้เงินสักพันล้านอย่างที่กำลังทำกันอยู่

ทำไมการศึกษาจึงมีเพียง track เดียว เป็นทางด่วนวันเวย์ที่ขึ้นแล้วลงยาก ทำไมต้องเรียนแล้วมุ่งไปสู่อุตสาหกรรม ไปสู่ภาคบริการอย่างเดียว ทำไมไม่ส่งเสริมการเรียนที่มุ่งกลับไปสู่ชุมชนท้องถิ่นด้วย ทำไมไม่มีโรงเรียนในฝันที่เป็นต้นแบบ ของการเรียนแล้วคนสามารถอยู่ในท้องถิ่นได้ดังกล่าวข้างต้น

ทำไมต้องมีแต่โรงเรียนในฝันแบบที่ภูมิสถาปัตย์สวยเหมือนรีสอร์ต  มีการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผลการเรียน เน้นคะแนนสูง ๆ

โดยไม่สนใจว่า ผุ้อำนวยการครู ไปกู้เงินมาทำโรงเรียนในฝันเป็นหนี้กันกี่ล้าน ไม่สนใจปัญหาความทุกข์ยากหนี้สินและการทำมาหากิน ของพ่อแม่ผู้ปกครอง นักเรียน ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาชุมชน ร้อยแปด

เป็นโรงเรียนในฝันได้อย่างไรถ้าไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับปัญหาของชุมชน ในฝันของใครของนักการเมือง ของผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ ทำไมไม่สร้างต้นแบบโรงเรียนในฝันของชุมชนบ้าง โรงเรียนที่คนไปเรียนแล้วมีความสุข และพึ่งพาตนเองได้  โรงเรียนที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ไม่แปลกแยก ไม่แย่งลูกหลานเขามาจากครอบครัว ในนามของการศึกษา

จากโรงเรียนในฝันวันนี้มาถึงโรงเรียนพอเพียง ก็มีแต่บ่อปลา แปลงผัก เลี้ยงไก่ ได้แค่รูปแบบ ไม่มีเนื้อหาของชีวิตจริง ยังมองเป็นกลไก ไม่ได้มองความเป็นองค์รวมของชีวิตของเด็ก ที่มีพ่อแม่ มีครอบครัว มีปัญหาสารพัดที่ไม่ควรทิ้งไว้ที่บ้านเมื่อไปโรงเรียน

 

 ต่อตอนที่สอง

คำสำคัญ (Tags): #เสรี พงศ์พิศ
หมายเลขบันทึก: 419320เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2011 07:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พูดกันมานานแล้วท่าน สุดท้ายก็แข่งขันกันแบบเอาเป็นเอาตายเช่นเดิม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท