คนจนคนรวยทนวิกฤติชีวิตไม่เท่ากัน


สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'September 11 survivors show lasting traumatic stress' = "เหตุการณ์ 11 กันยายน (ระเบิดตึกเวิร์ดเทรดเซนเตอร์ สหรัฐฯ) ทำเครียดหลังวิกฤติไปนาน", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ Reuters ] 
.
การสำรวจทำในกลุ่มตัวอย่างเกือบ 3,700 คนที่มีประสบการณ์วิ่งหนีตึกถล่มพบว่า 96% มีกลุ่มอาการเครียดหลังวิกฤติ (post-traumatic stress disorder / PTSD) อย่างน้อย 1 อาการนานไปถึง 2-3 ปี
.
ผลการตรวจทางจิตวิทยาพบว่า 15-16% ของคนที่เครียดไปนานเหล่านี้เป็นโรค PTSD ชัดเจน (มีเกณฑ์มาตรฐานว่า ต้องแสดงอาการเครียดหลายข้อ ติดต่อกันนานพอ) = 4 เท่าของประชากรทั่วไป
.
กลุ่มคนที่มีอาการ PTSD หรือเครียดหลังวิกฤติหลายรายมีสภาพคล้ายถูกหลอกหลอน เช่น รู้สึกวูบคล้ายตกจากที่สูง หวาดผวาเหมือนกับที่ต้องกระโดดจากหอคอย ฯลฯ
.
เหตุการณ์ดังกล่าวโดนถล่มจากผู้ก่อการร้ายวางระเบิดพลีชีพในเครื่องบิน 2 ลำพบว่า คนที่รอดจากเครื่องบินลำแรก (ตึกแรก -- ผ่านการระเบิด-ถล่ม 1 รอบ) เครียดน้อยกว่าคนที่รอดจากเครื่องบินลำที่สอง (ตึกที่สอง - เนื่องจากจะผ่านการระเบิด-ถล่ม 2 รอบ)
.
การศึกษานี้พบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อ PTSD มากที่สุด ไม่ใช่ตัววิกฤติหรือภัยพิบัติ (disaster), แต่เป็นรายได้ (income)
.
คนที่มีรายได้ต่ำสุด (น้อยกว่า $25,000/ปี = 750,000 บาท/ปี - คิดที่ 30 บาท/$) ครึ่งหนึ่งหรือประมาณ 50% เป็น PTSD
.
ส่วนคนที่มีรายได้สูง (อย่างต่ำ $100,000/ปี = 30,000,000 บาท/ปี) เป็น PTSD เพียง 6% หรือต่างกัน 8.33 เท่า
.
สรุป คือ การศึกษานี้พบว่า คนรวยที่ผ่านวิกฤติเครียดน้อยกว่าคนจนที่ผ่านวิกฤติ ทั้งๆ ที่รัฐบาลสหรัฐฯ รักษาพยาบาลทั้งทางกายและใจ (จิตวิทยา) กับเหยื่อพลีชีพคราวนี้ฟรี (ปกติคนสหรัฐฯ ไม่ได้รักษาฟรี -- เพราะไม่ใช่ประเทศไทย! -- ขอบอก)
.
อาการ PTSD หรือเครียดหลังวิกฤติที่พบบ่อยได้แก่ ฝันร้ายสยดสยอง (nightmares - มักจะตื่นมาเหงื่อแตก ตกใจ ใจสั่น), นอนไม่หลับหรือหลับๆ ตื่นๆ, ...(มีต่อ)
.
(ต่อ)... ตกใจง่าย-เครียดง่าย, อารมณ์วูบๆ วาบๆ-เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย, หลีกเลี่ยงอะไรที่ทำให้หวนกลับไปคิดถึงเหตุสยองขวัญอีก, รู้สึกผิด, ซึมเศร้า หรือนิ่งเฉยเย็นชา-ไร้การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม
.
เมืองไทยเราก็มีเหตุการณ์สยองขวัญบ่อย เช่น การก่อการร้ายใน 3 จังหวัดภาคใต้, เหตุการณ์ประท้วง-เผาตึกกลางกรุงเทพฯ ฯลฯ ทำให้คนไทยจำนวนมากเสี่ยงกลุ่มอาการหรือโรคเครียดหลังวิกฤติ (PTSD) เช่นกัน
.
ข่าวดี คือ ทุกวันนี้เรามีนักจิตวิทยา-พยาบาลด้านจิตเวช-จิตแพทย์-หมอใกล้บ้านที่ช่วยให้อะไรๆ ดีขึ้นได้ รวมทั้งให้ยาที่ตรงกับโรค
.
การศึกษานี้บอกเราว่า นอกจากการนอนให้พอ กินอาหารสุขภาพพอประมาณ ออกแรง-ออกกำลัง และมองโลกในแง่ดีจะช่วยได้มากแล้ว... การใส่ใจสุขภาพการเงิน โดยเฉพาะการ "ไม่เป็นหนี้" มีความสำคัญต่อสุขภาพมากเหลือเกิน
.
โลกเรามีดอกไม้สารพัดที่คนเราทนได้ แต่ "ดอก" ที่ทนได้แสนยาก คือ ดอกเบี้ย, เพราะฉะนั้นการใช้ชีวิตแบบขยัน-ประหยัด-อดทน-อดออม (ออมทรัพย์)-ไม่เป็นหนี้ เป็นเรื่องที่ดีกับสุขภาพอย่างสุดๆ
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
...

 > [ Twitter ]

ที่ มา                               

  • Thank [ Reuters ][ Reuters linkage ] > Am J Epidemiology. 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 5 มกราคม 2554.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 418711เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2011 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท