วิสัยทัศน์ "ให้คนไทยเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างมีคุณภาพ" คน กศน. คิดอย่างไร...?


ถ้า คน กศน. ไม่มีเรื่องเหล่านี้จะทำให้ คน กศน.เป็นโรคร้ายแรงที่แทรกซ้อนกับ โรคที่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นอะไร และจะทำให้เราไม่สามารถจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างมีคุณภาพ ตามวิสัยทัศน์ข้างต้น....

         บันทึกนี้เก็บตกจาก การเข้าประชุมรับฟังการชี้แจงจากการตรวจราชการของ      นายวิมล จำนงบุตร   ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการที่ได้ชี้แจงถึงนโยบายของรัฐบาลด้านการศึกษา นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของคน กศน. ทั้งระดับผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ...ซึ่งที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดก็คือ... ผู้บริหารระดับอำเภอ และครู ศรช. ซึ่งกำลังเปลี่ยนสถานะเป็นพนักงานราชการ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้า กศน.ตำบล สำหรับครูอาสาสมัครฯ อีก ร้อยกว่าชีวิตเกือบจะไม่ได้พูดถึง....

         ที่พูดมาไม่ใช่ประเด็นของการเขียนบันทึกนี้ หากแต่อยู่ที่วิสัยทัศน์ของกระทรวงศึกษาธิการในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ ๒ ที่ว่า "จัดการศึกษาเพื่อให้คนไทยเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างมีคุณภาพ" ซึ่งผู้ตรวจราชการบอกว่าเป็น Keyword ต้องมาคิดหาแนวทางเพื่อที่จะไปให้ถึงวิสัยทัศน์ดังกล่าว ผมแอบตั้งคำถามในใจว่า "คน กศน." (หัวหน้า กศน.ตำบล) คิดอย่างไร?" เพราะถ้ามาคิดถึงคำว่า "การจัดการตลอดชีวิต" ซึ่งเป็นคำที่คน กศน. ทุกคนคุ้นเคย และพูดได้เต็มปากว่าเป็นบทบาทหน้าที่ของ กศน. ในการที่จะขับเคลื่อนเรื่องนี้  และ คน กศน.จะต้องมาร่วมกันคิดว่าจะทำอย่างไร ต้องทบทวนว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง ท่านผู้ตรวจฯพูดว่าที่ไปไม่ถึงเพราะ ครู กศน. ป่วย ที่ป่วยนั้นเป็นโรคอะไร ให้คิดดู.... ผมนั่งคิดตามที่ท่านพูดแล้วทบทวนดู.... อยากจะบอกท่านว่า ที่ท่านพูดเป็นคำตอบที่ถูกแล้ว....ที่ป่วยเพราะไม่รู้ว่าเป็นอะไร  มันเลยไปไม่ถึง....

         สิ่งหนึ่งที่จะให้ไปถึงเป้าหมายที่วางไว้ คือการพัฒนาครู ตามที่ท่านบอกว่าเป็น "ครูยุคใหม่" ที่ทันสมัยและเก่ง ผมไม่มองถึงเรื่องการใช้เทคโนโลยี  แต่ผมมองเรื่องความทันสมัยในเรื่องการทำงาน การสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับประชาชน การส่งเสริมสนับสนุนให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมจัดกิจกรรม การบูรณาการการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย การใช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดกิจกรรม การสร้างแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ....ซึ่งผมคิดว่า ถ้า คน กศน. ไม่มีเรื่องเหล่านี้จะทำให้ คน กศน.เป็นโรคร้ายแรงที่แทรกซ้อนกับ โรคที่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นอะไร  และจะทำให้เราไม่สามารถจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างมีคุณภาพ ตามวิสัยทัศน์ข้างต้น....

         ผมคิดว่า คน กศน. น่าจะมานั่งร่วมคิด ทบทวน ถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง จัดทำเป็นหลักสูตร เพื่อให้ คน กศน. ได้รู้ว่าตัวเองเป็นใคร...กำลังทำอะไร....ทำที่ใหน....แล้วจะทำกับใคร....ใช้กระบวนการทำอย่างไร....ทำแล้วเกิดประโยชน์กับใครอย่างไร.... หาก คน กศน. รู้อย่างนี้ก็จะไม่ป่วย

หมายเลขบันทึก: 418693เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2011 22:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 08:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

...เป็นบันทึกที่ดีครับ ที่แสดงถึงเป้าหมายใหญ่(End)การจัดการศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพและหาวิธีการไปสู่เป้าหมาย(Mean)โดยมองเน้นไปที่ ครู กศน.ตำบล ตัวแปรสำคัญที่จะต้องร่วมกันคิดร่วมกันทำให้เกิดผลขึ้นตามที่ต้องการ ตัวแปรอื่นก็สำคัญครับที่จะสนับสนุนให้ครู กศน.ดำเนินการเช่นที่ว่านั้น ...คิดให้ได้ แล้วต้องทำให้ได้ด้วย...จึงจะประสบผลสำเร็จ ก่อนอื่นต้องถามว่าครู กศน.ตำบลมีปัญหาอะไร ต้องการสนับสนุนอะไร การพัฒนาครู กศน.ตำบลเป็นเรื่องสำคัญครับ และควรเปิดโอกาสให้เขาได้คิดได้ทำ...ตามพื้นฐานต้นทุนในท้องที่ของเขาด้วย...สำนึกรักถิ่นเกิดอยากทำงานเพื่อบ้านเกิดของครู กศน.ก็เป็นเรื่องสำคัญครับ

ขอบคุณครับ สำหรับบันทึกสำคัญที่คอยเตือนให้คน กศน.ฉุกคิดและประเมินตนเองว่าเดินไปถูกทางหรือไม่ คน กศน.น้อมรับความหวังดีจากทุกคนทุกฝ่ายครับ...ร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาบ้านเมืองของเรา

  • การพัฒนา ต้องเริ่มให้ถูกจุดค่ะ
  • เริ่มจากครู  พัฒนาครู  แล้วจึงให้  ครูพัฒนา
  • ร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาชุมชนค่ะ

สวัสดีปีใหม่....คงไม่สายไปนะครับ....ท่านผอ. สุรินทร์

  • ขอบคุณที่เข้ามา ลปรร. และช่วยกันจุดประกายให้คน กศน. ตื่นตัว...
  • เราต้องร่วมมือกันครับ...
  • โอกาสหน้าเชิญใหม่นะครับ...

สวัสดีครับ...อ.ดาธิณี

  • ถูกต้องครับ...ต้องพัฒนาที่ครู ....แล้วให้ครูไปนำการพัฒนา...โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ....
  • การพัฒนาคน กศน. ต้องทำให้ "รู้เขา"  "รู้เรา" แล้วจะทำอะไรก็ดูดีครับ....
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท