มีสติอยู่กับปัจจุบันขณะ = Presencing ? ตอน ๒


         ตามที่ได้เขียนภาคแรกเพื่อบรรยายสภาวะธรรมข้างทางบนเส้นทางแห่งการฝึกตนเอาไว้ที่    มีสติอยู่กับปัจจุบันขณะ = Presencing ?  แล้วนั้น วันนี้มีความเข้าใจใหม่เพิ่มขึ้น จึงขอนำมาเขียนเป็นบันทึกภาคต่อ เพื่อให้ท่านผู้รู้มาช่วยชี้แนะครับ

         พลานุภาพของ "การมีสติอยู่กับปัจจุบัน"
ธรรมดาที่ไม่ธรรมยิ่งนัก

 

          ในตอนที่ ๑ ผมได้แบ่งสภาวะของจิตใจออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ครับ

  1. ระยะที่จิตสงบ (อย่างอริยชน)
  2. ระยะเปลี่ยนแปลงจากจิตสงบ(อย่างอริยชน) ไปสู่ จิตวุ่นวาย (อย่างปุถุชน)
  3. ระยะที่จิตวุ่นวาย (อย่างปุถุชน)
  4. ระยะเปลี่ยนแปลงจากจิตวุ่นวาย (อย่างปุถุชน) ไปสู่ จิตสงบ

 

          โดยตั้งประเด็นเป็นข้อสังเกตุไว้ประมาณว่า จะประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไร ? และพยายามบอกว่า ทุกระยะมีประโยชน์ เป็นธรรมชาติ เป็นเช่นนั้นเอง

 

         ทุกสภาวะ (สภาวะทั้ง 4) ผมเข้าใจว่า

            1. เป็นธรรมชาติที่ต้องเกิดขึ้น มีขึ้น ตั้งอยู่ และก็ดับไป นั่นหมายความว่า เราต้องเข้าใจ เห็นว่า มันเป็นเช่นนั้นเอง เราควรเรียนรู้ที่จะใช้สภาวะทั้ง 4 เป็นโจทย์ธรรม หรือตัวซ้อมที่จะช่วยให้เราพัฒนาสติ+ปัญญา  นั่นหมายความว่า แต่ละคนจะมีช่วงของระยะทั้ง 4 ความยากลำบากและวิธีการปฏิบัติก็จะแตกต่างกันไปตามภูมิธรรมนั่นเอง

            2. ฝึกมาสักพักท่านจะพบว่า การดำรงไว้ซึ่งระยะที่ 1 หรือ การมีจิตใจที่สงบนั้น เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำคัญยิ่ง เพราะธรรมชาติของจิตคือ ความสงบ หรือ การมีสมาธิ นั่นเอง เมื่อจิตใจท่านสงบหรือเป็นสมาธิ ท่านก็จะมีปัญญา สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพที่สุดนั่นเอง

 

 

 

           คำถามต่อมาคือ ในการดำเนินชีวิตประจำวันเราจะทำจิตใจให้มีความสงบได้อย่างไร ?

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ปัญญา#สติ#สมาธิ
หมายเลขบันทึก: 418615เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2011 15:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 13:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งคะท่าน ดร.สุรเชต เพราะคนเราถ้าขาดสติ ก็จะทำให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างสับสนวุ่นวาย แต่ในระยะที่จิตสงบเป็นสิ่งที่ทำได้ยากมาก เพราะคนส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นปุถุชนค่ะ

 พลานุภาพของ "การมีสติอยู่กับปัจจุบัน"
ธรรมดาที่ไม่ธรรมยิ่งนัก

ถูกต้องค่ะมีสติอยู่กับปัจจุบัน

สติ ต้องอยู่กับปัจจุบันเหมือนที่กล่าวมาแน่ๆค่ะ

สวัสดีและขอบคุณท่านทั้งหลายที่กรุณาแวะมาทักทายครับ

ผมว่า "ความเพียร" เป็นสิ่งสำคัญยิ่งอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้เราพัฒนาจิตใจของเราได้ดีมากขึ้น

เพียรปฏิบัติ ดูเหมือนไม่ก้าวหน้า แต่เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า เราก้าวหน้าไปไม่น้อยเลย

ตัวผมเอง หลังจากที่ได้เขียนบันทึกนี้แล้ว ก็ได้ลองพยายามหาแนวทางในการเข้าสู่ความสงบในชีวิตการงานประจำวัน เมื่อเข้าสู่ความสงบได้แล้วก็หาทางรักษาสภาวะความสงบนั้นไว้ให้นาน จะได้มีปัญญาในการดำเนินชีวิตยิ่งขึ้นเมื่อจิตใจสงบ

หนึ่งในแนวทางการพยายามรักษาสภาวะจิตใจให้สงบนั้น คือ "การมีสติอยู่ในปัจจุบันขณะ" ด้วยอินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ก็พบว่า อนิจจัง สภาวะความสงบก็เป็นอนิจจัง คือ ไม่เที่ยง เดี๋ยวสงบ เดี๋ยววุ่นวายไปตามเหตุปัจจัยทางโลก ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายเจ้าจิตใจนี่นักว่า ช่างฝึกยากเหลือเกิน...

จนไม่กี่วันมานี่เอง เริ่มสังเกตุเห็นว่า ความว่างสงบดำรงอยู่ได้เป็นเวลานานยิ่งขึ้นครับ จะคอยดูต่อไปว่า จะสงบได้นานเพียงใด อะไรคือเหตุปัจจัย แล้วนำมาเขียนเป็นบันทึก ลปลล. ต่อไปครับ  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท