กระทรวงการคลังชี้แจงการสั่งระงับเบิกค่ายาที่ไม่มีการบ่งชี้ว่ารักษาอาการของโรคได้


กระทรวงการคลังชี้แจงการสั่งระงับเบิกค่ายาที่ไม่มีการบ่งชี้ว่ารักษาอาการของโรคได้

กระทรวงการคลังเข้มงวด งดเบิกค่ายาในกลุ่มยาบรรเทาอาการข้อเสื่อม ที่ไม่มีความคุ้มค่า
และมีประสิทธิภาพไม่ชัดเจนว่าสามารถรักษาการข้อเสื่อมได้

นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง  เปิดเผยว่า  หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่
๒๓ มีนาคม ๒๕๕๓  แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ซึ่งมีท่านปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน  พร้อมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิทางการแพทย์หลายท่านร่วมเป็นกรรมการ เพื่อจัดทำมาตรการกำกับดูแลการใช้ยาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  และได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานวิชาการ ทางการแพทย์ เพื่อศึกษาทบทวนเกี่ยวกับบัญชียาหลักแห่งชาติ  คณะทำงานฯ ได้มีการสืบค้น รวบรวมเอกสารงานวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับประสิทธิผลและความคุ้มค่าจากการใช้ยา   โดยเฉพาะการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ พบว่าสถานพยาบาลหลายแห่งมีสัดส่วนการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติมากถึง ร้อยละ ๖๐ – ๗๐  และใช้จ่ายงบประมาณสูงมาก โดยเฉพาะโรคข้อและกระดูกมีการสั่งยาที่อยู่นอกบัญชียาหลักแห่งชาติและมีราคาแพงมาก  คณะทำงานฯ จึงมีการศึกษา รวบรวมงานวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการรักษาของกลุ่มยาประเภทบรรเทาอาการข้อเสื่อมที่ออกฤทธิ์ช้า  ชื่อทางการแพทย์คือกลุ่มยา SYSADOA (กลูโคซามีน  คอนดรอยตินซัลเฟต และไดอะเซอเรน)   
ทุกรูปแบบ และกลุ่มยาที่ฉีดเข้าข้อบรรเทาอาการข้อเสื่อม (ไฮยาลูโรแนนและอนุพันธ์) จากหน่วยงานต่าง ๆ
ทั้งในและต่างประเทศ พบว่า มีประสิทธิผลในการรักษาไม่ชัดเจน และมักพบในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  หรือประเภทวิตามิน ใช้เพื่อบรรเทาอาการเท่านั้น ทางการแพทย์ระบุไว้ชัดเจนว่าไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ไตวาย ความดันโลหิตสูง เป็นต้น  ดังนั้น การใช้ยาโดยไม่มีข้อบ่งชี้ว่าสามารถรักษาอาการของโรคได้อาจไม่เกิดประโยชน์และไม่คุ้มค่ากับราคายาที่ต้องจ่ายเป็นจำนวนมาก  ดังนั้น  จึงมีหนังสือสั่งการกำหนดให้กลุ่มยาดังกล่าวเป็นรายการที่ห้ามเบิกจ่ายจากระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ตามที่คณะทำงานวิชาการทางการแพทย์เสนอ ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๔  เป็นต้นไป 

อย่างไรก็ดี  ในทางการแพทย์ถ้าแพทย์ผู้รักษาเห็นว่าการสั่งยากลุ่มดังกล่าวเพื่อบรรเทาอาการหรือเพื่อเป็นวิตามินเสริมให้แก่ผู้ป่วยก็สามารถสั่งใช้ยาได้  โดยผู้ป่วยต้องชำระค่าใช้จ่ายเองจะนำมาเบิกจ่ายในระบบสวัสดิการไม่ได้

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 418355เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2011 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นข้าราชการเพราะมีสวัสดิการ เพื่อให้พ่อแม่เบิกใช้สิทธิ์ได้ เงินเดือนก็น้อย พวกคุณไม่ได้เกิดผลกระทบจากกฎหมายนี้ แต่ข้าราชการจน ๆ ส่วนใหญ่เขามีผลกระทบมาก ทำไมไม่เห็นใจคนจน หาวิธีอื่นที่ลดค่าใช้จ่ายดีไหม และขอให้ช่วยเหลือสวัดิการให้ดีขึ้นกว่าเดิมจะดีกว่าไหม คุณทำแบบนี้ครั้งหน้าใครจะเลือก่คุณ

ข้าราชการผู้น้อย

เห็นด้วยกับคุณข้าราชการจ้นจน เงินดิอนทุกวันนี้ก็ไม่พอกับค่าใช้จ่ายอยู่แล้ว ขอให้เห็นใจกันหน่อยน่ะ งานก็หนัก เงินเดือนก็น้อย

แถมสวัสดิการต่าง ๆ ยังถูกตัดออกไปเรื่อย ๆ แล้วข้าราชการชั้นผู้น้อยทั้งหลายจะอยู่กันอย่างไร

ข้าราชการบ้านนอก

พ่อแม่อุตสาทำไร่ไถนาหวังไห้ลูกรับราชการเพื่อไว้เบิกค่ารักษายามแก่เฒ่าก็มาถูกตัดสิทธิอีกเวรกรรมแท้ประเทศไทยที่มีคนคิดแบบนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท