ทาน.. ทางมาแห่งทรัพย์สมบัติ


ทาน.. ทางมาแห่งทรัพย์สมบัติ

สวัสดีค่ะ   วันนี้ดิฉันจะมาพูดคุยในเรื่อง ทาน.. ทางมาแห่งทรัพย์สมบัติ 

            บางคนอาจะเป็นคนที่มีนิสัยตระหนี่  ขี้เหนียว ไม่ยอมให้คนอื่น  ง่ายๆ   แล้วที่บอกว่า

 ทาน.. ทางมาแห่งทรัพย์สมบัติ  นั้นจะมีใครบางละที่เข้าใจ   ก่อนอื่นดิฉันขอ อธิบายคำว่าทานก่อนนะค่ะ

           ทาน   หมายถึง  การให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ   ไม่หวังผลตอบแทน 

               เมื่อเราให้ทาน   แม้จะไม่ได้หวังสิ่งใดตอบแทนก็ตาม  แต่ก็จะมีบุญเกิดขึ้น  และบุญนั้นจะช่วยออกแบบชีวิตของเราให้สมบูรณ์พร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ  ถ้าใครปราศจากทานบารมี   เกิดมาก็จะยากจน  สร้างวารมีได้ไม่สะดวก  เพราะมัวแต่กังวลเรื่องการทำมาหากิน

            ทาน  เป็นหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ  10 การทำทานจึงถือเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง  คำว่า ทาน

 นี้ โดยทั่วไปมักเข้าใจสับสนกับคำว่า  บุญ  เนื่องจากเรามักจะเรียกการถวายของแด่พระภิกษุว่า  ทำบุญ  จริงๆแล้ว  การให้นั้น  ไม่ว่าจะให้แก่ใครก็ตามถือว่าเป็นทานทั้งสิ้น  และได้บุญทั้งนั้น

                ทานแบ่งออกเป็น  4  ประเภท  ดังนี้

            1.  อามิสทาน  คือ  การให้วัตถุสิ่งของต่างๆ  เป็นทาน  เช่น    ข้าว  น้ำ   ผ้า  ยานพาหนะ  ดอกไม้  ของหอม

            2.  อภัยทาน  คือ  การให้ชีวิตสัตว์เป็นทาน  รวมทั้งการปล่อยวางความโกรธให้หมดไปจากใจ  เลิกพยาบาท  ให้อภัยทาน

           3. วิทยาทาน คือ  การให้ความรู้เป็นทาน  และให้คำแนะนำสั่งสอนที่ดี  ที่มีประโยชน์ในการดำเนินชีวิต 

            4. ธรรมทาน  คือ การให้ความรู้เรื่องธรรมะ เช่น  การแนะนำสั่งสอนให้เข้าใจเรื่องบุญ  บาป  ให้ละชั่ว  ทำดี  ทำใจ  ให้ผ่องใสด้วยการทำสมาธิภาวนา  ซึ่งจะเป็นทางมาแห่งความสะอาดบริสุทธิ์  กาย  วาจา ใจ 

      การให้ทานที่มีนิสงส์มาก

        การให้ที่ได้บุญมาก  มีผลนับประมาณมิได้  ตามหลักของพระพุทธศาสนา  จะต้องครบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ  คือ

  1. วัตถุบริสุทธิ์  หมายถึง  สิ่งของที่นำมาทานหามาได้โดยชอบธรรม  ไม่ได้ลักขโมยมา
  2. บุคคลบริสุทธิ์  หมายถึง  ทั้งผู้รับและผู้ให้มีศีลมีธรรมตามเพศภาวะของตน
  3. เจตนาบริสุทธิ์   หมายถึง  มีเจตนาให้ด้วยความเลื่อมใส ศรัทธา  เชื่อในผลของทาน  ทั้งก่อนให้ ขณะให้  และหลังจากที่ให้แล้ว

    อานิสงส์ของการให้ทาน

  1.  ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก  ที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก

  2.  คนดีเป็นอันมากย่อมพอใจคบหาผู้ให้ทาน

  3.  ชื่อเสียงอันดีงามของผู้ให้  ย่อมฟุ้งขจรไป

  4.  ผู้ให้ย่อมแกล้วกล้าอาจหาญ   ไม่เก้อเขินในที่ประชุมชน

  5.  เมื่อละจากโลกนี้   ผู้ให้ย่อมบังเกิดในสุคติโลกสวรรค์

  อานิสงส์  4  ประการแรกส่งผลในชาติปัจจุบัน  ประการสุดท้ายส่งผลในชาติหน้า

  หวังว่าบทความนี้จะเป็นแนวทางในการทำบุญทำทานให้ทุกท่านได้เสริมสร้างบุญบารมีนะค่ะ 

หมายเลขบันทึก: 418296เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2011 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ค่ะ คนไหนให้ทานมาก ๆ ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ค่ะ

โยมถ้าสนใจหนังสือธรรมะไปอ่านฟรี ส่งชื่อ นามสกุล ที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวกมาที่ [email protected]

เอาไปอ่านเพื่อจะช่วยทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ ย่อมสามารถช่วยดำรงพระพุทธศาสนาครบ ๕๐๐๐ ปีถ้วน

เอวัง ก็มีด้วย ประการฉะนี้ และ เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท