การฟังและการดูเพื่อพินิจสาร


วิชา ภาษาไทย ๒

ใบความรู้ที่ ๕ 

การฟังการและดูเพื่อพินิจสาร

                พินิจ  หมายถึง พิจารณา ตรวจตรา ไตร่ตรอง

                                                                                พิจารณาเหตุผล

ผู้ฟัง  ใช้  สติปัญญา  ความคิด                         พิจารณาสำนวนภาษา                        จุดมุ่งหมาย ผู้พูด

                                                                                น้ำเสียง                

 

กระบวนการฟัง 

ลำดับขั้น

กระบวนการ

ก่อนฟัง

๑.กำหนดจุดมุ่งหมายในการฟังว่าเป็นการฟังเพอประโยชน์อะไร

    เพื่อการฟังบรรลุจุดมุ่งหมาย

๒. บันทึกสิ่งที่อยากรู้จากเรื่องที่จะฟัง

๓.  รู้ชื่อเรื่อง และรู้เนื้อหา โดยโยงกับความรู้เดิม

     เพื่อได้ทราบว่าเราได้รู้อะไรเพิ่มขึ้น

๔.หากไม่มีประสบการณ์ในเรื่องที่จะฟัง  ให้ศึกษาข้อมูลประกอบ

   จากหนังสือ  ตำรา หรือผู้รู้  เพื่อให้มีความรู้พื้นฐานเพียงพอ

    จะฟังได้เร็วขึ้น และจับประเด็นสำคัญได้

ขณะฟัง

๑.     ฟังด้วยความตั้งใจ

๒.    ฟังด้วยความสนใจ

๓.    ติดตามเรื่องที่ฟังโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง

๔.    บันทึกเฉพาะคำ หรือข้อความสำคัญ

๕.    ทำความเข้าใจสารที่ฟัง เก็บสาระความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง

        และความคิดเห็นของผู้ฟัง

หลังการฟัง

๑.     ทำตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ก่อนฟัง เช่น

กำหนดไว้ว่าจับสาระสำคัญได้  ก็เขียนสรุปสาระสำคัญหรือเรื่องย่อ

       ๒.ประเมินผลว่าได้รับความรู้เพิ่มเติมอะไรบ้าง

       ๓.  สำรวจว่าเราได้ความรู้ตามที่เราตั้งจุดประสงค์ไว้มากน้อยแค่ไหน

      ๔.นำความรู้ความคิดที่ได้รับมาไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น

ในการเรียน การทำงาน การพูดคุยในกลุ่ม การนำเสนอ

 

 

 

การจับใจความสำคัญจากการฟัง

ประเภทที่ฟัง

หลักการจับใจความสำคัญ

 

ตั้งใจฟัง มีสมาธิ จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง

สารคดี  คำบรรยาย  มุ่งให้ความรู้และความคิด

จำใจความให้ได้ว่า  สาระสำคัญมีกี่ประเด็น อะไรบ้าง

บันทึกคำหรือข้อความสำคัญไว้

บันเทิงคดี นิทาน นิยาย เรื่องสั้น บทละคร

ฟังแล้วตอบคำถามว่า  ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร เพราะเหตุใดจึงทำ มีผลเป็นอย่างไร

หรือจับประเด็นเหตุการณ์ และผลที่เกิดขึ้น

ข่าว

.ใช้หลักการตอบคำถาม  ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร

โดยพยายามตอบคำถามทั้งหมดขณะที่ฟังข่าว

 บทความ การอภิปราย แสดงความคิดเห็น

จับประเด็น ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น

โดยพิจารณาข้อความที่เป็นการแสดงความคิดเห็น ว่าน่าเชื่อถือหรือไม่

 

เมื่อจับใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังได้ครบถ้วนแล้ว

ตรวจสอบความถูกต้องโดยการตอบคำถามจากเรื่องที่ฟัง

เขียนเล่าเรื่องย่อ

การฟังและดูเพื่อคิดวิเคราะห์

                คือการฟังที่ต้องใช้ความคิดไตร่ตรองสารที่ฟังในประเด็นต่อไปนี้

ประเภท  เรื่องเล่า ข่าว บทความ ข้ออภิปราย

รูปแบบ  การโต้วาที แถลงการณ์  บทร้อยกรอง เพลง บทละคร นิทาน นิยาย เรื่องสั้น บทสัมภาษณ์           

               บทโฆษณา

เนื้อหา  เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร เช่น สุขภาพ การเมือง การปกครอง วิถีชีวิต ธรรม ศาสนา  

                สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อาชีพ การศึกษา สังคม วัฒนธรรม ประเพณี ฯลฯ

วิธีการนำเสนอ ....................................................................................................................................

การใช้สำนวนภาษา..............................................................................................................................

การแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้พูด..........................................................................................

                โดยการแยกประเด็นว่าเป็นข้อเท็จจริง หรือข้อคิดเห็น

                ข้อเท็จจริง  เป็นการพูดถึงเรื่องราว การกระทำ การแสดงพฤติกรรม ของบุคคล หรือบอกว่าสิ่งนั้นอยู่ในสภาพใด มีลักษณะอย่างไร ถ้าเป็นการเล่าเหตุการณ์ ก็จะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ที่เกิดขึ้นแล้ว หรือกำลังเกิดขึ้น โดยผู้พูดนำมารายงานให้ทราบ

                ข้อคิดเห็น  เป็นข้อความแสดงความเชื่อ ความคิด หรือความรู้สึกส่วนตัวของผู้พูดที่มีต่อเรื่องนั้นๆ ต่อบุคคลนั้น สิ่งนั้น เหตุการณ์นั้นซึ่งผู้ฟังจะเห็นด้วยหรือไม่ก็ได้

พิจารณาข้อความต่อไปนี้ว่าเป็นข้อเท็จจริง หรือข้อคิดเห็น

ที่

ข้อความ

ข้อเท็จจริง /ความคิดเห็น

๑.

เธอค่อนข้างเตี้ย เลยต้องสวมรองเท้าส้นสูงตลอดเวลาเพื่อให้ดูดี

 

๒.

คุณต้องเข้าใจคนอเมริกันนะครับถ้าเขาสังกัดพรรคไหนเขาก็มั่นคงกับพรรคนั้น เลือกพรรคนั้นแน่นอน

คนที่เป็นเดโมแครตก็เลือกโอบามา คนที่เป็นรีพับลิกัน ก็โหวดให้แม็คเคน

 

๓.

ผมตัดสินใจลงสมัครผู้ว่าฯกทม.โดยหาทุนจากการขาย

โต๊ะจีนให้เพื่อนๆคนรู้จักและลูกศิษย์ลูกหาที่มีอุดมการณ์เช่นเดียวกับผม เชื่อไหม.. วันที่  ๒๗  มิถุนายน  ผมขายโต๊ะจีนที่ไบเทค ในราคาขั้นต่ำโต๊ะละ

๕๐,๐๐๐ บาท จนถึงสูงสุด ๑ ล้านบาท

 

๔.

คนที่เกิดราศีธนู ช่วงนี้ท่านที่มีคู่ครอง รักดีขึ้นมาก ท่านจะได้รับ การยกย่องจากคู่ครองของท่านเป็นอย่างดี ได้คำชมจากคู่ครอง ด้วยเรื่องบทบาทความรัก ซึ่งนานๆจะได้ยินสักครั้ง  ทำให้ยิ้มแก้มปริ มีกำลังไปอีกนาน

 

๕.

ทางการจีนออกมาบอกว่าบรรดานมวัวหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากนมวัวของจีนตอนนี้ ถ้าจะกินให้ปลอดภัย ขอให้เลือกดูที่ฉลากติดว่า ผลิตหลังวันที่ ๑๔ ก.ย.๒๐๐๘ เป็นต้นไป

 

๖.

เธอหนีใจไม่พ้นดอกคนเก่ง           จะรีบเร่งรักใหม่ทำไมหนอ

หรือมีห่วงผูกใจยังไม่พอ               ห่วงผูกคอยิ่งจะรัดผูกมัดตน

ถ้าอยากลืมความหลังอย่าตั้งจิต      และอย่าคิดประชดใครเพราะไร้ผล

อย่าวิ่งหนีถ้าวิ่งจะยิ่งจน                 อย่าเหมือนคนเขียนกลอนนี้สอนเธอ

 

 

ข้อเสนอแนะวิธีการฟังเพื่อคิดวิเคราะห์

๑.     ฟังเรื่องราวให้ตลอดแล้วจับใจความสำคัญ

๒.    ขณะที่ฟังคิดตามไปด้วยแยกแยะข้อเท็จจริง กับข้อคิดเห็น

๓.    พิจารณาส่วนที่เป็นเหตุผล ว่าน่าเชื่อถือหรือไม่

๔.    ตอบให้ได้ว่าผู้พูด มีเจตนาในการพูดอย่างไร เพื่อจุดประสงค์ใด

 

๕.    สรุปให้ได้ว่าฟังแล้วควรเชื่อหรือไม่

๖.     บางครั้งเราต้องดูการแสดงกริยาท่าทางของผู้พูดด้วย สีหน้า น้ำเสียง อารมณ์ ความรู้สึก

การแต่งกาย บุคลิกลักษณะ (ภาษาท่าทาง)

มารยาทในการชมการแสดง

๑.     ฟังและดูด้วยความสนใจ

๒.    ฟังและดูด้วยอาการสงบ สำรวม ไม่พูดคุยซุบซิบกับผู้อื่น

๓.    ทำจิตใจใจเพลิดเพลินไปกับการแสดง ปรบมือเมื่อพอใจหรือจบแต่ละตอน ไม่ส่งเสียงกรีด หรือโห่ฮา

๔.    ไม่ควรนำเด็กเล็กๆเข้าไปชม

๕.    ไม่นำสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงเข้าไป

๖.     ไม่ควรนำอาหาร หรือเครื่องดื่มเข้าไป โดยเฉพาะอาหารที่มีกลิ่นรุนแรง หรือขบเคี้ยวเสียงดัง

๗.    ไม่ลุกเดินเข้าออกบ่อยๆ

๘.    ไม่ควรแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะกับเพื่อนต่างเพศ

๙.     เมื่อมีเพลงสรรเสริญพระบารมี ควรยืนตรงแสดงความเคารพ

๑๐. ควรปิดสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่

 

ฝึกปฏิบัติการฟังบันเทิงคดีประเภทนิทาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ครูจะเล่านิทานให้ฟัง  นักเรียนฝึกปฏิบัติตามขั้นตอน

          มีตากับยายสองคน อยู่กันตามลำพัง นานเข้าก็เกิดความเหงา วันหนึ่งยายบอกตาว่าให้ตาไปหาแมวมาเลี้ยงแก้เหงาสักตัวหนึ่ง ตาก็รับคำ เดินออกจากบ้านเพื่อไปหาแมวสวยสักตัวหนึ่งมาเลี้ยง

ตาเดินไปไม่ช้าก็พบแมวฝูงใหญ่ มอง ตัวไหนก็รู้สึกว่าน่ารักไปเสียทั้งนั้น หลังจากลังเลอยู่นาน ก็เลือกอุ้มแมวที่เห็นว่าสวยน่าเอ็นดูขึ้นมาตัวหนึ่ง  ครั้นแล้วก็เกิดความรักพี่เสียดายน้อง เลยอุ้มตัวนั้นบ้างตัวนี้บ้าง  จนแมวทั้งฝูงนั้นพากันเดินตามมาจนหมด

                ขณะที่เดินไปตามทางพอมาถึงบึงใหญ่แห่งหนึ่ง  แมวก็ร้องอุธรณ์ว่าหิวน้ำ ตาก็บอกให้ไปกินน้ำในบึง  แมวทั้งฝูงก็กรูไปกินน้ำที่บึงนั้นเพียงแค่กินกันตัวละอึกเท่านั้น  น้ำทั้งบึงก็แห้งผากไป

ในฉับพลัน  ตาและฝูงแมวก็เดินต่อไปจนถึงทุ่งหญ้ากว้าใหญ่แหงหนึ่ง  แมวก็บอกตาว่าหิวหญ้า ตาก็บอกว่าไปกินหญ้าที่ทุ่ง แมวพากันวิ่งตามไปที่ทุ่งหญ้า  ต่างตัวต่างกินกันเพียงตัวละคำเท่านั้นหญ้าทั้งทุ่งก็เกลี้ยงไปในชั่วพริบตา  ตาพาแมวฝูงนั้นเดินต่อไปจนถึงบ้าน ยายออกมารับด้วยความยินดี

แต่พอเห็นแมวฝูงมหึมาเช่นนั้น  ยายก็ผงะด้วยความตกใจ และถามตาว่า เอาแมวมามากมายเป็นล้านอย่างนี้จะมีอะไรให้มันกินได้พอ ตาบอกว่าแมวพากันเดินมาเอง ตาเองก็ตัดสินใจไม่ได้ว่า ตัวไหนเป็นตัวสวยที่สุดก็ปล่อยให้มันตามมาเรื่อยๆ

          ยายจึงบอกว่า  ถ้าเช่นนั้นให้ตาเลือกตัวที่สวยที่สุดมาสักตัวก็แล้วกัน  ตาร้องถามแมวว่าตัวไหนสวยบ้าง  เจ้าแมวฝูงนั้นก็ร้องตะโกนกันลั่นว่า “ฉันสวย ฉันสวยที่สุด”และตะโกนแข่งกันจนเสียงดัง  แล้วก็เกิดความเขม่นกันขึ้นในการแย่งตำแหน่ง “แมวสวย”  โดยกระโดดเข้ากัดกันอย่างชุลมุน  เสียงดังปานถล่มแผ่นดิน  ยายกับตาเกิดความกลัวจนตัวสั่นรีบพากันเข้าบ้านปิดประตูแน่น

นั่งแอบฟังเสียงแมวกัดกันอยู่ในบ้านนั้น

                ไม่ช้าเสียงแมวที่ขู่และกัดกันนั้นก็ค่อยเงียบลง เงียบลง จนสนิท ตากับยายก็ค่อยเปิดประตู

โผล่ออกมาดู  ทั้งสองไม่เห็นแมวเลยสักตัวก็แปลกใจ  จึงออกจากบ้านมาดู ปรากฏว่าแมวหายไปหมด แต่เมื่อมองสภาพการณ์รอบๆแล้ว  ตากับยายก็สันนิษฐานว่าแมวทั้งหลายนั้นต่างก็กัดกันและกัน กินกันเองด้วยความโกรธและความหิวโหย  จึงไม่มีแมวเหลือสักตัวเดียว

                ขณะที่ยายกับตายืนรำพึงด้วยความเศร้าสลดและเสียดายอยู่นั้น ก็ได้ยินเสียงร้อง เหมียว ๆ ๆ อยู่ไม่ไกลตัวนัก เมื่อช่วยกันมองหา ก็เห็นลูกแมวสีดำตัวเล็กๆ  นั่งแอบอยู่ที่พุ่มไม้ ยายจึงเดินไปอุ้มขึ้นมา เป็นลูกแมวผอมโซ แสนจะขี้เหร่  ยายถามว่าทำไมจึงยังอยู่ไม่เป็นอะไรไปกับเขาด้วย

ลูกแมวตอบว่า “ฉันรู้ว่าฉันไม่สวยเพราะฉะนั้นฉันก็ไม่ร้องแข่งกับใครว่าฉันสวยก็เลยไม่มีใครมากัดฉัน”ยายก็อุ้มลูกแมวขี้เหร่นั้นเข้าบ้านด้วยความยินดี จัดแจงอาบน้ำเช็ดตัว แปลงขนให้จนสะอาดพองฟู แล้วเอานมมาให้กิน ไม่ช้ามันก็อ้วนจนตัวกลม ช่างเล่น น่ารัก ยายกับตาเลี้ยงลูกแมวตัวนั้นไว้ และอยู่ด้วยความสุขสืบมา

               

 

ฝึกปฏิบัติตามขั้นตอน

                ๑.ทำความเข้าใจ ตั้งคำถามและตอบ

- ทำไมแมวต้องมากัดกันจนตายหมด.............................................................................................

......................................................................................................................................................
- ทำไมลูกแมวตัวเล็กถึงรอดชีวิต...................................................................................................

......................................................................................................................................................

-         ถ้าตาไม่ลังเลใจตอนเลือกแมวมาเลี้ยง แมวจะกัดกันหรือไม่......................เพราะ....................................................................................................................................

-         ถ้าแมวกัดกินกัน ทำไมแมวหายไปหมด ไม่เหลือซาก หรือตัวสุดท้าย

..............................................................................................................................................

๒.เจตนาของเรื่อง หรือแนวคิด

๒.๑.................................................................................................................................................

๒.๒...............................................................................................................................................

๒.๓...............................................................................................................................................

๒.๔...............................................................................................................................................

                ๓. ความคิดเสริมของนักเรียน เชื่อมโยงกับพฤติกรรมของมนุษย์

......................................................................................................................................................

.......................................................................................................................................................

........................................................................................................................................................

...........................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

                ๔. ข้อบกพร่องในการเล่านิทาน

...........................................................................................................................................................

............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

   แบบทดสอบที่ ๓

๑.พิจารณาคำตอบโดยแสดงความคิดเห็นจากการฟังและการดูว่า  ผู้ตอบใช้วิจารณญาณหรือไม่อย่างไร

ที่

บทสนทนา

ความคิดเห็นของนักเรียน

๑.

เจริญใจ “โรคเอดส์กำลังระบาด  เธอน่าหาอาชีพอื่นทำ          ติดเมื่อไหร่ตายลูกเดียว ทางราชการก็รณรงค์ให้ป้องกันอยู่นะ”

ศรี         “เอดส์ไม่กลัว  กลัวอด”

.....................................................

.....................................................

.....................................................

.....................................................

๒.

นิล         “เธอสังเกตเห็นไหม  ทุกร้านที่เราผ่านมา  มักจะกวาดขยะในร้านของตนออกมากองไว้ริมถนนทั้งนั้น  เห็นแก่ตัวจริงๆ แถมบางร้านยังตั้งโต๊ะขายของยื่นออกมาจนไม่มีทางเดิน”

พลอย       “การกระทำเช่นนี้แหละ  ทำให้สังคมของเราไม่พัฒนาเท่าที่ควร”

......................................................

......................................................
......................................................
.....................................................
........................................................

.......................................................

๓.

แก้ว       “เรามาช่วยกันรักษาให้แม่น้ำสะอาดกันเถอะ”

มณี        “เราจะชวนเพื่อนๆ ไปร่วมงานครั้งนี้ด้วย”

........................................................

........................................................

.......................................................

๔.

ต๋อง        “วันนี้เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขจะมาอภิปรายเรื่องการวางแผนครอบครัวที่วัยรุ่นควรรู้  ตอนบ่ายโมงแน่ะ”

ผึ้ง           “น่าสนใจนะ  เธอจะไปฟังหรือเปล่า”

........................................................

........................................................

........................................................

........................................................

๕.

สมคิด     “ได้ข่าวว่าโรงฟอกหนังข้างโรงเรียนของเราจะสร้างโรงกำจัดน้ำเสีย  ใช้เงินทั้ง  ๒๐ ล้านบาท”

นิ่ม            “อือ...เขาจะทำกันเมื่อไหร่ละ”

........................................................

........................................................

........................................................

๒.พิจารณาว่าส่วนไหนเป็นข้อเท็จจริง  หรือเป็นความคิดเห็นของผู้พูด(นำหมายเลข ๑หรือ๒เติมในช่อง ข้อเท็จจริง หรือความเห็น)

ที่.

ข้อความ

ข้อเท็จจริง

ความคิดเห็น

๖.

ท่านผู้ฟังที่รัก (๑) ความรักเป็นสิ่งที่มีอนุภาพอันยิ่งใหญ่ แต่เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้ถาวร ความรักก็เหมือนต้นไม้เราต้องหมั่นรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย จึงจะเจริญงอกงาม ปุ๋ยที่ต้นรักชอบที่สุดคือความดี รักเพราะรวยเป็นความโลภ รักเพราะสวยเป็นความใคร่ แต่รักเพราะดีเป็นรักแท้ จงทุ่มเทความดีให้แก่กัน แล้วต้นรักจะงอกงามสดชื่นจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต

 

 

๗.

พล.อ.อ.หะรินกล่าวว่า (๑)เท่าที่ข้าพเจ้าได้พบเห็นในบริเวณวัดพระแก้ว ปรากฏว่า หนุ่มสาวที่เข้าไปร่วมพระราชพิธีครั้งนี้ ไม่เคยปฏิบัติตามประเพณีอันงดงามของไทยเรา คือการเข้าถวายเงินแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สาเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ตลอดจนสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ก็ดี มีคนแสดงกิริยาไม่สมควร เช่นถวาย เงินแล้วนำพระหัตถ์ของพระองค์มาจูบ ซึ่งการกระทำนี้ไม่ใช่ประเพณีไทย

 

 

๘.

เพื่อนๆที่รักทุกคน (๑)ผมคิดว่าพวกเราโชคดีมากที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย และได้อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย บรรพบุรุษของเราจะมีเชื้อสายมาจากแห่งหนตำบลใด ไม่ใช่ข้อสำคัญ ข้อสำคัญคือ เราได้เกิดมาแล้วบนผืนแผ่นดินไทย เรามีผืนแผ่นดินอันร่มเย็น น่าอยู่ น่าอาศัย ที่จะให้ความผาสุกแก่เราตลอดไปชั่วกาลนานนั้นต่างหาก

 

 

๙.

บรรดานิราศของท่านสุนทรภู่นั้น (๑)ข้าพเจ้ามีความเห็น นิราศเมืองเพชรเป็นนิราศดีที่สุด ไม่ว่าจะพิจารณากันในด้านวรรณศิลป์ หรือสาระที่ท่านได้เก็บบรรจุไว้ และเมื่อได้สอบชำระเสร็จแล้ว(๒) จึงได้ทราบว่า นิราศเมืองเพชรเป็นนิราศที่ยาวที่สุดอีกด้วย คือยาว ๔๙๘  คำกลอน

 

 

๑๐.

พระพุทธทาสภิกขุกล่าวว่า (๑)“หลักการที่ว่า เอาเชื้อโรคมาแก้ไขเชื้อโรคนั้น นำมาใช้ได้ในการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา โดยเอากำลังของความโลภ มาละโมบในการทำความดีหรือบุญกุศล เอากำลังของความโกรธ มาอาฆาตแค้นต่อกิเลสและความทุกข์ เพื่อทำลายเสียในฐานะศัตรู เอากำลังโมหะ มาหลงในการทำความดีขั้นต้นๆแทนการหลงชั่ว ทั้งนี้เพราะเรามีสิ่งทั้งสามนี้เป็นเดิมพันอย่างรุนแรงอยู่ในจิตใจกันอยู่แล้วอย่างเต็มที่

 

 

 

 

 

 

๑.     เรื่องที่ฟัง...............................................................................................................................

ประเภท....................................................................................................

๒.    สื่อ..............................................................รายการ............................................................

วันที่...............................................  เวลา.............................................................

๓.    จุดมุ่งหมายในการฟังของนักเรียน

................................................................................................................................

................................................................................................................................

๔.     ความรู้เดิมก่อนฟัง

.................................................................................................................................

.................................................................................................................................

.................................................................................................................................

.................................................................................................................................

..................................................................................................................................

.................................................................................................................................

      ๕.ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม  จาก.........................................................................................................

                                สาระความรู้ที่ได้ศึกษามาก่อน

                                ..................................................................................................................................

                                ..................................................................................................................................

                                .................................................................................................................................

                                ..................................................................................................................................

    ๖.จุดมุ่งหมายของเรื่องที่ฟัง

                                .................................................................................................................................

                                .................................................................................................................................

    ๗.รูปแบบวิธีการนำเสนอ

                                ................................................................................................................................

                                ................................................................................................................................

                                ................................................................................................................................

                                ................................................................................................................................

 

 

  ๘.สาระที่ได้รับจากการฟัง

                                ข้อเท็จจริง

          ...........................................................................................................................................

........................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................

........................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................

........................................................................................................................................................

                                ข้อคิดเห็น (ของผู้พูด ผู้ดำเนินรายการ รายการ)

                ...........................................................................................................................................

........................................................................................................................................................

........................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................

........................................................................................................................................................

........................................................................................................................................................

ประเมินค่าว่าควรเชื่อถือหรือไม่อย่างไร..........................................................................................

.........................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................

๙.ข้อบกพร่อง

                ...........................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................

๑๐.การนำความรู้ไปใช้

          ............................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................

หมายเลขบันทึก: 417827เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2011 09:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท