เกี่ยวกับนวัตกรรม


การเขียนนวัตกรรมต้องมีตัวชี้วัดครับ จะได้เทียบเคียง(Benchmark)ได้ว่าดีกว่าวิธีเก่าหรือดีกว่าเมื่อก่อนหรือดีกว่าที่อื่นแค่ไหน(เป้าหมายตัวชี้วัด)และดีกว่าอย่างไร(ตัวชี้วัด)

เคยมีคนถามผมเรื่องนวตักรรมคืออะไร ต้องมีตัวชี้วัดด้วยไหม ผมก็ได้ตอบไปตามความคิดของผมเอง ดังนี้

ผมเองก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญแต่ก็ขอตอบตามความเข้าใจอย่างนี้นะครับ
1. นวัตกรรม แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
1) นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ เป็นเครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ต่างๆที่เราคิดขึ้นมาเพื่อช่วยให้การทำงานของเราดีขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น ทำงานง่ายขึ้น ผู้ป่วยหรือเจ้าหน้าที่ปลอดภัยขึ้น ในการเขียนนวัตกรรมกลุ่มนี้ควรจะบอกที่มาของการคิดเครื่องมือนี้ขึ้นหรือเรียกว่าหลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์เพื่อเอาไปทำอะไร วิธีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีทำ ผังหรือรูปแบบหรือรูปประกอบ การทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งานและวัดได้อย่างไรว่าใช้แล้วได้งานที่ดีกว่าเดิม(ตัวชี้วัด) ประโยชน์และการนำไปใช้ และเอกสารอ้างอิง
2) นวัตกรรมเชิงระบบ เป็นนวัตกรรมเกี่ยวกับแนวคิด ตัวแบบ วิธีการ วิธีปฏิบัติหรือขั้นตอนในการทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราคิดขึ้นมาใหม่แล้วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำงานของเราได้ อาจแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
- นวัตกรรมเชิงระบบบริหาร เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเพื่อให้งานสำเร็จหรือมีคุณภาพที่ดี ทำงานได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น เป็นGeneric technology คือบริหารงานอย่างไรให้เอื้อต่อการทำงานได้อย่างมีคุณภาพ
- นวัตกรรมเชิงระบบบริการ เกี่ยวข้องกับวิธีการทำงานของเราให้มีคุณภาพ เป็นลักษณะIntrinsic Technology คือทำงานอย่างไรให้ดี ให้มีคุณภาพ
นวัตกรรมเชิงระบบนี้อาจจะเป็นวิธีการแก้ปัญหาหรือวิธีการทำงานใหม่ๆซึ่งก็คือCQI นั่นเอง หรือเป็นวิธีการทำงานที่ดีเลิศ ก็คือBest Practice ดังนั้นการเขียนหรือทำจะใช้ 9 ขั้นตอนจองTQMก็ได้ ถ้าเป็นCQI อย่างน้อยจะต้องมีชื่อเรื่อง หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ ปัญหาที่พบ สาเหตุแท้จริงของปัญหา วิธีแก้ปัญหาที่อาจเป็นไปได้ วิธีการแก้ปัญหาที่เลือก สรุปผลและข้อเสนอแนะ ประโยชน์ที่จะได้(บอกว่าจะได้ประโยชน์อะไรซึ่งก็คือตัวชี้วัดนั่นเอง) ส่วนBest Practiceส่วนใหญ่มักต่อยอดมาจากCQIคือนำวิธีปฏิบัติที่เลือกแล้วว่าดีมาใช้เขียนจึงต้องบอกว่าชื่ออะไร วัตถุประสงค์ วิธีปฏิบัติ ตัวชี้วัด ผู้เกี่ยวข้อง
สรุปคือการเขียนนวัตกรรมต้องมีตัวชี้วัดครับ จะได้เทียบเคียง(Benchmark)ได้ว่าดีกว่าวิธีเก่าหรือดีกว่าเมื่อก่อนหรือดีกว่าที่อื่นแค่ไหน(เป้าหมายตัวชี้วัด)และดีกว่าอย่างไร(ตัวชี้วัด)

 

คำสำคัญ (Tags): #kmกับนวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 4178เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2005 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอร่วมวงด้วยนะครับคุณหมอ  เพื่อลดความเหงาใน blog

ตามความเชื่อของผมนะครับ  "นวัตกรรม"  เป็นเรื่องของ  ความใหม่ + การยอมรับของชุมชนนั้นๆ      ดังนั้น  หากคิดอะไรออกมาใหม่แต่ไม่เหมาะกับจริตของคนในชุมชน  ก็ยังไปไม่ถึงขั้นจะเป็นนวัตกรรม    มันจะเป็นแค่เพียงแค่ "ต้นแบบ"  (prototype) เท่านั้น  เช่นในภาคอุตสาหกรรมเขาจะคิดต้นแบบของสินค้าที่จะออกใหม่   จะมีการนำออกทดลองจนมั่นใจว่าได้รับการยอมรับจากตลาด  จึงจะทำการผลิตแบบมวลรวม

 ยกตัวอย่างกรณี classic  ของชนบทไทย  เรื่อง "รถอีแต๋น"   ครั้งหนึ่งจัดว่าเคยเป็น Innovative device เพราะว่าหลังจากคนที่ดัดแปลงและทำออกมาครั้งแรกแล้ว  เกิดการใช้อย่างแพร่หลายในชนบท  โดยเฉพาะเขตอีสาน

นวัตกรรม  คือ สิ่งใหม่  แต่ด้วยตัวมันเอง  อายุสั้นครับ   หลังจากการยอมรับระยะหนึ่ง  มันก็จะเก่า  และไม่เป็นนวัตกรรมอีก   ดังนั้นต้องสร้างใหม่อยู่เรื่อยๆ

เมื่อปี 2000 เคยอ่านเจอการจัดอันดับประเทศที่เคยเป็น ผู้นำ Innovation   ญี่ปุน  ครับมานำประเทศยุโรปเสียด้วยซ้ำ   แต่ภาพที่เขานำเสนอส่วนใหญ่จะเป็นกรณี Innovative Devices แต่ไม่ค่อยกล่าวถึงกรณี Innovative know-how

ผมเชื่อว่าที่ใดที่มีการจัดการความรู้เก่งๆ (เช่น รพ.บ้านตาก) จำนวนนวัตกรรมก็จะมีมาก  ทั้ง 2 ประเภทที่คุณหมอพิเชฐว่ามาแหละครับ 

ปีใหม่ 2550 ขอให้คุณหมอมีและครอบครัวมีสุขภาพดีทั้งกายและใจตลอดไป

เพื่อจะได้มีกำลังที่ช่วยเหลือสางคมต่อไป

 เมื่อ  27ธ.ค2549  ได้มีโอกาสพุดคุยและถ่ายรูปกับคุณหมอที่รพ  แพร

สวัสดีค่ะคุณหมอ

ครูอ้อยแวะมาอ่าน  เก็บความรู้   และฝากรอยไว้แล้วนะคะ

ขออนุญาตตามมาติด ๆ

แนะนำสิ่งดี ๆ ให้ตาม E-mail ด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท