ภาษาเมืองล้านนาวันละคำตอน "มอก"


มอก เป็นคำที่บอกถึงมาตรฐานของคนล้านนา บอกถึงขนาด ที่ผู้คนยอมรับในสังคม

ในเมืองล้านนามีคำบอกถึงความเป็นมาตรฐาน   บอกถึงความเป็นลักษณะเฉพาะที่เป็นที่ยอมรับกันโดยไม่มีข้อโต้แย้ง โต้เถียง..ยอมรับกันโดยดีนั่นคือคำว่า "มอก"

หากมีคำถามว่า  " เชือกมันยาวมอกใดหา?..." หมายความว่า   เชือกนั้นมันยาวขนาดเท่าใด?   อาจจะมีคำตอบว่า  ยาวมอกแขน..หมายความว่า  เชือกยาวขนาดเท่าแขน..

บางครั้งหากมีคนหมั่นไส้ว่า  ไอ้คนนี่มันเก่งขนาดไหน  ก็จะมีคำถามแบบ  น่าหมั่นไส้ว่า  " มันแน่มอกใด?..."  หมายความว่า    ไอ้คนนี่มันเก่งแค่ไหนกันวะ?...

มอก  คำล้านนา  อาจมีความหมายว่า    "ขนาด"  เช่นว่า    สั้น มอกใด?   ยาวมอกใด?   เก่งมอกใด?            พอสรุปได้ว่าคำว่า  "มอก"ก็เป็นขนาดมาตรฐานที่ยอมรับกันโดยทั้วไป

บางครั้งอาจมีคำถามว่า  "จะเอาไม้ยาวมอกใด ก็มีความหมายว่าจะเอาไม้ยาวขนาดเท่าใด?  คนตอบก็บอกว่า  "ยาวมอกศอก" ก็คือเอาไม้ขนาดยาวเท่าหนึ่งศอก....

คนสองคนกำลังทำงานสร้างบ้านถามกันว่า  "   ไม้นี้ยาวเท่าใด?"   อีกคนหนึ่งก็บอกว่า   "เอาไม้ก้านฝ้าเป็นมอก"  หมายความว่า   ให้เอาไม้ก้านฝ้าเป็นมาตรฐาน...

มันน่าแปลกใจอยู่หน่อยหนึ่งว่า   มอก  ในภาษาล้านนาช่างตรงกับคำว่า    มอก.  ของทางการปัจจุบันที่ยอมรับกันโดยทัวไปว่า   มาตรฐานอุตสาหกรรม   คือเป็นมาตรฐานที่ยอมรับกันในประเทศไทยว่าหาก  เป็นสิ่งผลิตตามที่ได้มาตรฐาน  มอก.ก็เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปนั่นเอง

แต่คำว่า "มอก"  ในภาษาล้านนา  มีมาแต่นานนม  ก่อนที่ประเทศไทยจะตั้งเสียอีกเพียงแต่เขียนคำว่า  มอก   ไม่มี จุด(  .    )ประต่อข้างหลังเหมือนคำว่า     มอก.เท่านั้นเอง

อีกคำหนึ่งออกเสียง  มอก  คล้ายกัน   แต่เป็นคำเรียกอาหารของคนภาคเหนือหรือล้านนา   คือ  คำว่า   มอกปู๋   แต่บางแห่งเรียกว่า  มอบปู๋ก็มี...

มอกปู๋  เป็นคำเรียกการทำอาหารที่นำมันปู๋(มันปู)มาตำให้เละ  แล้วใส่ไข่...ใส่เครื่องแกงลงไป  นำไปตั้งไฟให้เดือดจนน้ำข้น..แล้วปลงลงมาใส่ถ้วยเป็นอาหารในวงขันโตกรับประทานกับข้าวเหนียวหนึ้งลำแต๊ๆ(อร่อยจริงๆ)

มอกปอฮ้ายปอดี  ก็พอระดับปานกลาง

หากมีคำพูดเล่าเรื่องเล็กๆน้อยๆหรือหยอกล้อกันเล่นๆ ก็มีคำพูดกันว่า   อู้มอกม่วน   หรือ   ฟังคำ(พูด)มอกม่วน   หรือเรื่องราวที่สนุกสนาน

หากมีคำถามว่า"  บ่ะโอแก่นนี้ส้มก่อ"   หมายความว่า   ส้มโอลูกนี้เปรี้ยวใหม?...อาจมีคำตอบว่า  มอกก๋ำปอ...หมายความว่า   เปรี้ยวพอดี   พอเหมาะ...

หากมีคำถามว่า   แกงถ้วยนี้รสเป๋นจะได?  (แกงถ้วยนี้รสชาติเป็นอย่างใด?)  อาจมีคำตอบว่า   มอกจับ    หมายความว่า  รสพอดีๆ

หากท่านไปเมืองล้านนาได้ยินคำว่า  มอก...ก็คงจะพอเข้าพ่องละน้อ(บ้างละนะ)...

 

หมายเลขบันทึก: 417658เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2011 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีปี๋ใหม่เจ้า

                    

             ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงดลบันดาลให้

ท่านและครอบครัวมีความสุข สดชื่น สมหวัง มีพลังใจตลอดไปเน้อเจ้า

ไหว้สาครับครูดาราและสายธาร..ยินดีจ้าดนักครับที่เข้ามาแว่แอ่ว...

ขอหื้มีสุขตลอดๆไป..ครับ...

ด้วยความปรารถนากีจากลุงหนาน...พรหมมา

คนมันอวดฮู้ ใคร่ลองคาถา ต๋ามที่เฮียนมา ประสาว่าอั้น

ลองข่ามหนังเหนียว เฮ้ว..เฮี้ยว..ดอดดั้น ก่อความรำคาญ เจ้นล้ำ

ชาวบ้านพี่น้อง หมองเหมี้ยงเสี้ยงซ้ำ ใจ๋ขึ้นใจขว้ำ อำไป

จะลองผ่อเล้าะ มันมาเป๋นไผ มันสักมอกใด ขะใจ๋มานี่

ขะใจ๋มานี่

สวัสดีครูสนั่นครับ....

ขอบคุณที่แว่เข้ามาแอ่วและอ่านให้ความเห็นและความรู้....

ด้วยความปรารถนาดีจากลุงหนาน..พรหมมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท