การวิเคราะห์บริบทกับการท้าทายการบริหารการศึกษาในอนาคต


การวิเคราะห์บริบท

การวิเคราะห์บริบทกับการท้าทายการบริหารการศึกษาในอนาคต

       บริบททางการศึกษา   เป็นสิ่งที่อยู่รอบๆ  หรือ  สิ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือส่งผลกระทบต่อการศึกษา  เช่น  เศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  ศาสนา  และวัฒนธรรม  วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยี ฯลฯ

       การวิเคราะห์บริบททางการศึกษามีส่วนสำคัญยิ่งต่อการจัดการศึกษาได้อย่างถูกต้องตรงกับความต้องการ  ซึ่งการวิเคราะห์บริบทมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.  ประเภทของบริบททางการศึกษา  มี  2  ประเภทดังนี้

     1.1  บริบทที่เปนความสัมพันธ์ภายในระบบการศึกษา ซึ่งเป็นพื้นฐานการศึกษา (Foundations  of  Education)  ได้แก่  ครู  ผู้อำนวยการสถานศึกษา  อาคารเรียน  งบประมาณสถานศึกษา  อุปกรณ์?การศึกษา  เป็นต้น

     1.2  บริบทที่เป็นผลกระทบจากภายนอก  ได้แก่  วัฒนธรรม  การเมือง  เศรษฐกิจ  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สิ่งแวดล้อม  ประชากรศาสตร์  ความมั่นคงของชาติ  เป็นต้น

2.  ความหมายของการวิเคราะห์บริบททางการศึกษา

     การวิเคราะห์บริบทสถานศึกษา  หมายถึง  การจำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ  ที่อยู่โดยรอบสถานศึกษาทั้งภายในและภายนอก  ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องหรือส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษา  เช่น  นักเรียน   บุคลากรสถานศึกษา  ชุมชน  ผู้ปกครอง  เศรษฐกิจ  สังคม  การเมือง  ศาสนา  และวัฒนธรรม  วิทยาศาสตร์  เทคโนโลยีฯลฯ

3.  กรอบแนวคิดในการวิเคราะห์บริบทของสถานศึกษา

     ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษาในอนาคตและนำมาจัดทำยุทธศาสตร์สถานศึกษาเพื่อการบริหารงานไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้  ซึ้งการกำหนดยุทธศาสตร์นั้นผู้บริหารจะสามารถวิเคราะห์บริบทสถานศึกษาเพื่อให้ทราบถึงสถานภาพปัจจุบันของสถานศึกษา  โดยใช้แนวคิดในการดำเนินการ  3  ประการ คือ  แนวคิดการวินิจฉัยองค์การ (Organizational  Diagnosis)  แนวคิดและแนวปฏิบัติจิตตปัญญาศึกษา  (Contemplative  Education)  และแนวคิดของการคิดวิเคราะห์เชิงระบบ (Systems  Thinking)

     3.1  การวินิจฉัยองค์การ  คือ  กระบวนการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับองค์การ  เพื่อทำความเข้าใจสภาพองค์การในปัจจุบันว่ามีความแตกต่างจากสภาพองค์การที่ต้องการจะเป็นในอนาคตอย่างไร

    เครื่องมือการวินิจฉัยองค์การ (Organizational  Diagnosis  Tool)  ที่นิยมสูงสุดคือ  เครื่องมือในการวิเคราะห์จุดแข็ง  (Strengths)  จุดอ่อน (Weaknesses)  โอกาส (Opportunities)  และ  ภัยอุปสรรค (Threats)  ขององค์การ  หรือ  SWOT Analysis 

            3.1.1  กระบวนการและเครื่องมือการวินิจฉัยองค์การ

                     การวินิจฉัยองค์การเป็นกระบวนการทำความเข้าใจการทำงานของระบบงานต่างๆ  ภายในองค์การ  โดยการเก็บ  วิเคราะห์  สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงองค์การ  

            3.1.2  SWOT  Analysis  (การวิเคราะห์จุดอ่อน  จุดแข็งขององค์การ 

                      SWOT  Analysis  เป็นการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งขององค์การ  SWOT  Analysis  มาจากตัวย่อของคำ  4  คำ  คือ (1)  S-Strengths  หรือ  จุดแข็ง   (2)  W – Weaknesses  หรือ  จุดอ่อน (3)  O – Opportunities  หรือ โอกาส   (4)  T – Threats  ภาวะคุกคาม 

                      SWOT  Analysis  เป็นการมอง  4  เรื่อง  ดังนี้

                S   :  Strengths          เป็นจุดแข็งด้านทรัพยากรที่มีศักยภาพและความสามารถทางการแข่งขัน  เช่น  ทักษะในการจัดการเรียนการสอน  ความเชี่ยวชาญในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา  โครงสร้างการบริหารสถานศึกษา  ภาพลักษณ์หรือชื่อเสียงของสถานศึกษา  เทคโนโลยีและความสามารถในการให้บริการทางการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน 

                W :   Weaknesses   เป็นจุดอ่อนด้านทรัพยากรที่มีศักยภาพ  และความเสียเปรียบทางการแข่งขัน  เช่น  ทิศทางยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาที่ไม่ชัดเจน  ปัญหาทางด้านงบประมาณ  บุคลากรขาดทักษะและความชำนาญ  คุณภาพการให้บริการทางการศึกษาต่ำ  ขาดเทคโนโลยีสนับสนุน  มีปัญหาการดำเนินงานภายใน  การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสถานศึกษาบ่อย

                O : Opportunities  เป็นโอกาสของสถานศึกษาที่มีศักยภาพจากบริบทภายนอกที่เอื้ออำนวย  ประกอบไปด้วยนโยบายรัฐบาลที่สนับสนุนการจัดการศึกษา  การมีหน่วยงานภายนอกที่สามารถสนับสนุนการจัดการศึกษาของสถานศึกษา  สถานที่ตั้งของสถานศึกษาที่มีความสะดวกสบายในการติดต่อ  ความสามารถในการระดมทุนจากชุมชนและหน่วยงานภายนอก 

                T :  Theats  อุปสรรคภายนกที่ทำให้สถานศึกษาต้องปรับตัว  ประกอบไปด้วย  การมีโรงเรียนใหม่เกิดขึ้น และเป็นคู่แข่งขันใหม่ที่มีศักยภาพ  อุปสรรคจากการเปิดโรงเรียนกวดวิชา  ซึ่งทำให้นักเรียนให้ความสนใจกับการเรียนในโรงเรียนลดลง  อัตราการเกิดลดลงทำให้จำนวนเด็กในวัยเรียนน้อยลง  ความต้องการด้านคุณภาพการศึกษาที่มากขึ้นของนักเรียน  และผู้ปกครอง  ข้อกำหนด  ระเบียบหรือกฎหมายต่างๆ  ที่ทำให้การบริหารสถานศึกษาเกิดความล่าช้า 

                การจัดทำ  SWOT  Analysis  ให้มีประสิทธิภาพ

                การวิเคราะห์บริบทภายนอกใช้หลักการวิเคราะห์ที่เรียกว่า  C-PEST  ส่วนการวิเคราะห์ภายในใช้หลัก  7 Ss  (McKinsey)  ประกอบการวิเคราะห์  เพื่อให้ครอบคลุมทุกเรื่องที่ควรพิจารณาในการจัดทำยุทธศาสตร์

                 การวิเคราะห์บริบทภายนอกด้วย  C-PEST

                C-PEST  ใช้วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ  มี  5  ประเด็นที่ควรพิจารณา  และหาข้อที่เป็นโอกาส (O-Opportunity)  และภาวะคุกคาม (T-Threat)  มาประกอบการพิจารณาก่อนจัดทำยุทธศาสตร์

                C – Customer  ,  Competitors

                ลูกค้า  หรือผู้รับบริการ (Customer)  คู่แข่ง (Competitors)  เป็นอย่างไร  ซึ่งในที่นี้หมายถึง  นักเรียน  ผู้ปกครอง  ชุมชนที่อยู่โดยรอบสถานศึกษา

                P – Politics

                สถานการณ์ทางการเมือง  (Politics)  นโยบายต่างๆ  ของกระทรวงศึกษาธิการ  ฯลฯ

                E – Environment,  Economics

                สภาพแวดล้อม  (Environment)  หรือสภาพเศรษฐกิจ (Economics)  ของชุมชนที่อยู่โดยรอบสถานศึกษา

                S- Society

                สภาพสังคม (Society)  วัฒนธรรม (Culture)  ค่านิยม (Value)  ของประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบสถานศึกษาเป็นอย่างไร

                T – Technology

                เทคโนโลยี (Technology)  ระบบสารสนเทศ  (Information  Technology)  เทคโนโลยีทางการบริหาร (Management  Technology)  การศึกษาใหม่      ๆ  ที่เกิดขึ้น

                การวิเคราะห์สภาพภายในองค์การด้วย  7  Ss

                ตามแนวคิดของ  McKinsey  7-S  Framework  ใช้วิเคราะห์สภาพภายในองค์การโดยทั้ง  7  ประเด็นนี้สามารถแบ่งได้เป็น  2  กลุ่ม  คือ

                1.  กลุ่มที่เป็นรูปธรรม  ประกอบด้วยยุทธศาสตร์  (Strategy )  โครงสร้าง  (Structure)  และระบบ(Systems)  ซึ่งพิจารณาได้จากวิสัยทัศน์  พันธกิจ ยุทธศาสตร์  โครงสร้างองค์การ  ระบบงานต่างๆ  เป็นต้น

                2.  ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่เป็นรูปธรรมน้อยกว่า  ประกอบด้วย ทักษะ  (Skill)  ค่านิยมร่วม (Shared  Value)  บุคลากร (Staffs)  รูปแบบการบริหารจัดการ (Style)  ซึ่งทั้ง  7  ประเด็นนี้   องค์การ  โดยใช้ข้อมูลและหลักฐานประกอบการพิจารณาก่อนจัดทำยุทธศาสตร์

                S  - Strategy    ยุทธศาสตร์และขอบเขตที่องค์การจะดำเนินไปในระยะยาวนั้นเป็นอย่างไร

                S – Structure   โครงสร้างองค์การ  เป็นโครงสร้างที่ตั้งขึ้นตามกระบวนการ  หรือหน้าที่ของงาน

                S – Systems  ระบบงานที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการในการดำเนินงานขององค์การ

                S – Skills  ทักษะ  ความสามารถหรือปัจจุบันในระบบราชการใช้คำว่า  สมรรถนะ (Competency)  ขององค์การเป็นอย่างไร

                S – Shared  values  ค่านิยมร่วม  คือสิ่งที่บุคลากรส่วนใหญ่ในองค์การเห็นว่าเป็นสิ่งดี  พึงปฏิบัติจนกลายเป็นวัฒนธรรมใน การทำงาน  ทำให้เกิดปทัสถาน (Norm)  ขององค์การ

                S – Staff  บุคลากรในองค์การเป็นอย่างไร  มีจำนวนเพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการหรือไม่  และมีบุคลากรที่จะตอบสนองการเติบโตขององค์การในอนาคตหรือไม่

                S – Style  รูปแบบของการบริหารจัดการองค์การ ของผู้บริหารเป็นอย่างไร  ภาวะผู้นำของผู้บริหารมีบทบาทที่สำคัญต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์การ 

                3.2  การคิดวิเคราะห์เชิงระบบ

                การคิดวิเคราะห์เชิงระบบ  เป็นการคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มองในภาพรวมที่เป็นระบบ  และมีส่วนประกอบย่อยๆ  

                หลักการของการคิดวิเคราะห์เชิงระบบ มีดังนี้

ก.       การคิดใน ภาพใหญ่ (Big  Picture)

ข.       สร้างสมดุลมุมมองในระยะสั้นและระยะยาว

ค.       การคำนึงถึงธรรมชาติของระบบที่เป็นพลวัตซับซ้อน และพึ่งพาอาศัยกัน

ง.       สามารถอธิบายทั้งตัวแปรที่วัดได้และวัดไม่ได้

จ.       เราเป็นส่วนหนึ่งของระบบ  ซึ่งเรามีหน้าที่อยู่ภายใน  และเราแต่ละคนมีอิทธิพลต่อระบบเหล่านั้นๆ  เท่าๆ  กับที่เราได้รับอิทธิพลจากระบบ

                3.3    การใช้แนวคิดและแนวปฏิบัติจิตตปัญญาศึกษา  ( Contemplative  Education)

          เป็นแนวคิดและแนวปฏิบัติ  โดยภาพรวมจิตตปัญญาศึกษาเป็นการศึกษาที่เน้นและให้ความสำคัญกับการพัฒนาความตระหนักรู้  การเรียนรู้และการรู้เท่าทัน  มิติ/โลกด้านใน(อารมณ์  ความรู้สึก  ความคิด  ความเชื่อ  ทัศนะ/มุมมองต่อชีวิตและโลก)  ของตนเอง  ให้คุณค่าในเรื่องการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ    จิตตปัญาศึกษาเน้นประสบการณ์ตรงภายใน  ให้ความสำคัญกับการตระหนักรู้โลกภายในของตนเองที่สัมพันธ์กับโลกภายนอก  กระบวนการเรียนการสอนและการประเมินแบบจิตตปัญญาศึกษาจะอยู่บนฐานของการเป็นกัลยาณมิตร  จิตตปัญญาศึกษาให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล  ข่าวสาร  ความรู้ภายใน  (Tacit  Knowledge) ของแต่ละคน เงื่อนไข  เป็นบรรยากาศแบบเปิด  เอื้อให้ผู้เรียนรู้สึกมั่นคงปลอดภัยที่จะเปิดเผยและรู้จักตนเอง (Self  Disclosure)  และผู้อื่น

                                       ...................................

                                            

                                                อ้างอิง

คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.(2553). การวิเคราะห์บริบท: ความท้าทาย

        ของการบริหารการศึกษาในอนาคต. กรุงเทพฯ : กพร.

 

 

หมายเลขบันทึก: 417538เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2010 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 00:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท