บทวิเคราะห์คุณภาพ ICT เพื่อคุณภาพการศึกษาไทย


นโยบายและการวางแผนฯ

บทวิเคราะห์คุณภาพ ICT เพื่อคุณภาพการศึกษาไทย

โดย..นายยิ่งยศ บุญมั่งมี บริหารการศึกษา ม.กรุงเทพธนบุรี รุ่นที่ 3 

 

                พระราชบัญญัติการศึกษาฉบับปัจจุบันกำหนดให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทุกระดับ เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการลดช่องว่างของคุณภาพทางการศึกษาระหว่างในเมืองกับชนบท ทดแทนการขาดแคลนบุคลกรครูที่มีความรู้ความสามารถจากสาขาวิชาที่แตกต่าง ส่งเสริมให้ผู้เรียนยุคใหม่เข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต คิดเป็นทำเป็นและแก้ปัญหาได้จากกระบวนการด้านเทคโนโลยี โดยภาครัฐได้สนับสนุนและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนเข้ามามาส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและค่อยเป็นค่อยไป จากการให้ความสำคัญดังกล่าวทำให้เกิดความตื่นตัวกับกระแสเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างยิ่ง มีการลงทุนอย่างมหาศาลในด้านฮาร์ดแวร์เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรม   และกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในด้านซอฟต์แวร์เพื่อจัดการเรียนการสอน บุคลกรด้านการศึกษาได้พัฒนาตนเองเพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเองและนักเรียน ส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพด้าน ICT เพื่อการศึกษาก้าวหน้าไปอย่างมาก แต่เนื่องจากแต่ละองค์กรมีการพัฒนาในแนวทางและรูปแบบที่ต่างกันซึ่งยังไม่มีหน่วยงานกลางในการเชื่อมโยงเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าด้วยกันให้เป็นเครือข่ายเดียวกันเท่าที่ควร รัฐบาลจึงได้ดำเนินนโยบายการจัดการเรียนการสนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมในทศวรรษที่ 2 ด้วยการนำหลักการ 3Ns อันประกอบด้วย 1. เครือข่ายเพื่อการศึกษาแห่งชาติ (National Network : NedNet ) 2. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการสื่อสารแห่งชาติ (National Education Information System : NEIS) 3. ศูนย์การเรียนรู้แห่งชาติ (National Learning Center : NLC)  ซึ่งทำให้ระบบเครือข่ายงานการศึกษามีความเป็นเอกภาพและขับเคลื่อนได้อย่างประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นการลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาทในการนำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเข้ามาใช้กับโรงเรียนที่มีความพร้อมก็ทำให้เกิดความแตกต่างของคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอยู่ไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะเมื่อมองถึงเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในปัจจุบันที่ต้องอาศัยความเสถียรภาพจากการเชื่อมโยงด้วยสายมากกว่าระบบดาวเทียมซึ่งนอกจากประสิทธิภาพของดาวเทียมที่สามารถใช้ได้กับโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลก็ยังเป็นเทคโนโลยีที่มีราคาแพงทั้งอุปกรณ์และการบริการ ผู้ที่สามารถดูและระบบและติดตั้งต้องเป็นบุคคลกรที่มีความสามารถเฉพาะทาง ซึ่งสวนทางกับสภาพของโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลไม่ใช่น้อย สิ่งเหล่านี้จึงทำให้เกิดคำถามตามมาว่าการลงทุนกว่าหมื่นล้านจะสามารถทำให้นโยบายของรัฐบาลดังกล่าว เป็นนโยบายตำน้ำพริกเพื่อละลายน้ำเหมือนโครงการอื่นๆ ที่ยังไม่พร้อมกับสังคมแบบไทยๆ หรือไม่  

หมายเลขบันทึก: 416565เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2010 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท