KRUJOY (ครูจ่อย)
นาย ทรงศักดิ์ เสือ ภูเก้าแก้ว

สังคมครอบครัวไทย


น่าเป็นห่วงเยาวชนที่สุด

 

 

                                                                             

 

 

 

ปัญหาวัยรุ่น

 

 

          อาจารย์ศิวพร ปกป้อง รองผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยศึกษาสถานการณ์ของครอบครัวไทย เปิดเผยว่า สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับมูลนิธิเครือข่ายครอบครัว จัดทำโครงการเพื่อศึกษาสถานการณ์ของครอบครัวไทย ในหัวข้อ "สุขภาวะครอบครัวในสังคมไทย" ระหว่างวันที่ 24-27 มกราคม 2552

      โดยการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณในลักษณะการทำสำรวจประชามติสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 5100 ตัวอย่างทั่วประเทศ แบ่งเป็น กลุ่มเด็กและวัยรุ่น อายุ 11-22 ปี จำนวน 2,550 คน และกลุ่มบิดา มารดา หรือบุคคลที่ทำหน้าที่ผู้ปกครอง หรือให้การอุปถัมภ์ เลี้ยงดู เด็กหรือเยาวชนที่อายุระหว่าง 11- 22 ปี จำนวน 2,550 คน ซึ่งจากการสอบถามถึงสัมพันธภาพระหว่างเด็ก และผู้ปกครอง ทั้ง 2 กลุ่มตัวอย่าง ปรากฏว่า ส่วนใหญ่สัมพันธภาพระหว่างเด็กและผู้ปกครองอยู่ในระดับปานกลาง โดยมากกว่าร้อยละ 11 ระบุตรงกันว่าสัมพันธภาพระหว่างเด็กและผู้ปกครองไม่ค่อยดี และร้อยละ 14 ระบุตรงกันว่าเด็กกับผู้ปกครองไม่ค่อยเข้าใจกัน โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งเขตเมืองและชนบทมีผลสำรวจไม่แตกต่างกัน

      ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติ เปิดเผยว่า จากข้อมูลโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชน (Child Watch) พบว่า โครงสร้างพื้นฐานของครอบครัวไทยมีอัตราการ หย่าร้างเพิ่มมากขึ้น จากปี 2548 ที่คู่สมรส 4.27 คู่ จะมีการหย่าร้าง 1 คู่ ในปี 2551 ในคู่สมรส 3.03 คู่ จะมีการหย่าร้าง 1 คู่ นอกจากนี้พบข้อมูลเด็กที่ไม่ได้อยู่อาศัยกับพ่อแม่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ในกลุ่มเด็กระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย

       ส่วนในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เด็กที่ไม่อยู่กับพ่อแม่มีจำนวนลดลง ทั้งนี้ การที่เด็กไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ หรือครอบครัวมีความเสี่ยงในด้านต่างๆ มากกว่าเด็กที่อยู่กับพ่อแม่ หรือครอบครัว โดยจากการสำรวจข้อมูล child Watch รายจังหวัด ปี 2550-2551 พบ ความเสี่ยงที่เกิดกับเด็กทุกระดับการศึกษาในกลุ่มที่ไม่อยู่กับพ่อแม่ ได้แก่ ความเสี่ยงต่อการออกเที่ยวกับเพื่อนตอนกลางคืน ความเสี่ยงในการสูบบุหรี่ ความเสี่ยงในการดื่มเหล้า ความเสี่ยง ในการดูคลิปโป๊ ความเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงความเสี่ยงในการยอมรับการอยู่ก่อนแต่งด้วย

      จากการวิเคราะห์ข้อมูล ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า เด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่มีความเสี่ยงที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหา ทั้งยาเสพติด หรือการเที่ยวกลางคืน สูงกว่าเด็กที่อยู่ในครอบครัวปกติ ซึ่งการแก้ปัญหาครอบครัว จะต้องแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนควบคู่ไปด้วย โดยนอกจากกลไกระดับชาติแล้ว จะต้องอาศัยกลไกของชุมชนและท้องถิ่นด้วย ซึ่งหากภาครัฐให้การสนับสนุนให้ชุมชนร่วมทำงานในการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง ปัญหาก็จะคลี่คลายลงได้ จึงขอให้รัฐและสังคมให้การสนับสนุนและให้กำลังใจกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ที่พร้อมจะร่วมทำงานกับเครือข่ายต่างๆ ด้วย

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ปัญหาวัยรุ่น
หมายเลขบันทึก: 416381เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2010 12:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ขอบคุณครับท่าน ผอ.วัฒนา
  • สำหรับมิตรภาพที่มีให้ครูจ่อยตลอดมา
  • โชคดีปีใหม่และตลอดไปเช่นกันนะครับ 
  • ขอบคุณครับคุณครู ฐานิศวร์
  • สำหรับมิตรภาพและพรปีใหม่ 2554
  • โชคดีมีสุขเช่นกันนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท