4. สิบคำถามกับ Dave Ulrich ที่คน HR ต้องฟังคำตอบ


4. สิบคำถามกับ Dave Ulrich ที่คน HR ต้องฟังคำตอบ

 

 

 

"4. สิบคำถามกับ Dave Ulrich ที่คน HR ต้องฟังคำตอบ"

 

         คนในแวดวงการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Managemtnt)  หรือบางทีก็เรียกกันสั้น ๆ ว่า "คน HR" มักคุ้นเคยกับชื่อ Dave Olson Ulrich หรือ Professor Dave Ulrich นักคิดคนดังในวงการที่ได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงจากหลายสถาบัน เช่น เมื่อปี ค.ส. 2001 หนังสือ Business Week ยกย่องเขาว่าเป็นนักคิดผู้รู้คนสำคัญที่สุดด้านการจัดการ ส่วน HR Magazine ยกย่องเขาในฐานะบุคคลผู้ทรงอิทธิพลที่สุดในวงการเป็นเวลา 3 ปีรวด (คริสตศักราช 2006 - พุทธศักราช 2551)...

         วันนี้ ดร.ภาณุภาคย์  พงศ์อติชาต  นธ.ตรี จะพาท่านผู้อท่านไปรู้จักกับ Prof. Ulrich ผ่านคำถามสิบข้อที่สะท้อนมุมมองของเขาเกี่ยวกับการบริหารองค์กร (เพื่อให้เป็นกันเองในการสนทนา* ซึ่ง ดร.ภาณุภาคย์ จะเรียก Prof. Ulrich ว่าอาจารย์)

          ดร.ภาณุภาคย์  :  อาจารย์ครับ  จะทำยังไงดี  การสื่อสารขององค์กรถึงจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด

          Dave Ulrich  :  การสื่อสารควรเชื่อมโยงเข้ากับ  "คน"  ในองค์กร  การสื่อสารไม่ว่าจะเป็นภายในองค์กรเองหรือการสื่อสารระหว่างองค์กรกับโลกภายนอกควรไปแนว ๆ เดียวกับความเชื่อด้าน HR ขององค์กร

         ดร.ภาณุภาคย์  :  อะไรคือสิ่งท้าทายที่สุดสำหรับคน HR ใน พ.ศ. นี้

         Dave Ulrich  :  การเรียนรู้ที่จะปรับตัวสนองต่อสภาวะในโลกธุรกิจที่แปรเปลี่ยนไปทุกขณะ  ถ้าเศรษฐกิจยิ่งแย่ HR นอกจากจะต้องสามารถรักษาคุณค่าของการเป็นหุ้นส่วนในองค์กรไว้ให้ได้แล้ว  ยังต้องช่วยองค์กรให้สามารถแข่งขันได้ดีอีกด้วย

         ดร.ภาณุภาคย์  :  คนแบบไหนที่อาจารย์ว่าจะเป็นที่ต้องการในแวดวง HR ครับ

         Dave Ulrich  :  พวกแอคทีฟ  แต่ต้องเชื่อมือได้ด้วยนะ

         ดร.ภาณุภาคย์  :  ทำไมล่ะครับอาจารย์

         Dave Ulrich  :  พวกนี้เก่งแล้วก็คล่อง  คุยเรื่องการเงินก็รู้เรื่อง  เรื่องยุทธศาสตร์ก็ได้  คนพวกนี้สามารถเอายุทธศาสตร์มาทำให้เกิดขึ้นจริง  ช่วยจูนระบบ HR ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้เก่ง  แล้วก็ผลักดันงานให้สำเร็จได้

         ดร.ภาณุภาคย์  :   ถ้าจะบอกว่าผู้นำขั้นเทพต้องมีคุณสมบัติ  5  อย่าง  อาจารย์ว่าต้องมีอะไรบ้าง?...

         Dave Ulrich  :  เป็นนักวางแผนกลยุทธ์  สามารถผลักดันงานให้สำเร็จ  รู้จักใช้คนเก่งให้เต็มศักยภาพ  เข้าใจการพัฒนาทุนมนุษย์  แล้วสุดท้ายต้องเป็นคนเก่ง

         ดร.ภาณุภาคย์  :   อะไรเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญของอาจารย์

         Dave Ulrich  :  แรงปรารถนาที่จะเรียนรู้  ถึงอาจารย์จะทำงานในหน่วยงานที่มีหน้าที่ศึกษาภาวะความเป็นผู้นำมานานแล้ว  แต่ยังมีคำถามข้อหนึ่งที่ยังคาใจอยู่  ก็คือ  ถ้าเราเชื่อว่าองค์กรสามารถสร้างผู้นำที่ดีได้โดยการสั่งสอนส่งผ่านต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น แล้วทำไมการถ่ายทอดความเป็นผู้นำที่ดีด้วยวิธีการง่าย ๆ แบบนี้ถึงยังไม่เกิดขึ้นจริง  พูดได้ว่าเรื่องนี้เป็นวิกฤติเกี่ยวกับภาวะผู้นำ  ถ้ายังเป็นอย่างนี้ต่อไป  แล้วเราจะไปหาผู้นำดี ๆ ได้จากไหน  การค้นหาคำตอบสำหรับคำถามนี้ทำให้อาจารย์ยังมีไฟที่จะทำงานต่อไป

         ดร.ภาณุภาคย์  :  เราจะหาสมดุลระหว่างควาทะเยอทะยานกับการรู้จักประมาณตนได้ยังไง?...

         Dave Ulrich  :  จริง ๆ มันก็ขัดแย้งกันอยู่ในตัวนั่นแหละ  ด้านหนึ่งเราก็อยากให้คนเชื่อว่าเราสามารถทำได้ทุกสิ่ง  เป็นได้ทุกอย่าง...แต่อีกด้านเราก็อยากให้เขารู้จักประมาณตนเองบนพื้นฐานในโลกแห่งความเป็นจริง  สิ่งสำคัญคือ  เราต้องถามเขาว่า  เขาต้องการอะไร?  มีความทะยานอยากอย่างไร?  ปรารถนาอะไร?  คำถามสำคัญที่สุดที่เราสามารถจะถามได้  ก็คือ  เราต้องการอะไรกันแน่  เพราะถ้าเราไม่รู้ว่าเราต้องการอะไร  เราก็ไม่รู้จะทะเยอทะยานไปเพื่อให้เกิดอะไรขึ้น

         ดร.ภาณุภาคย์  :   แล้วถ้าความทะเยอทะยานที่มีมันเว่อร์ไป  จนออกแนวกึ่งเพ้อฝันล่ะครังอาจารย์

         Dave Ulrich  :  ก็ต้องดูโลกแห่งความเป็นจริงที่เราอยู่ด้วย  อย่างตอนเด็ก ๆ อาจารย์เคยฝันอยากเป็นนักบาส NBA แต่ต่อมาก็ได้เรียนรู้ว่าอาจารย์โดดไม่สูง ชู้ตไม่แม่น  แล้วก็ไม่ไวพอที่จะเป็นนักบาส  ถ้าคนทะเยอทะยานมากเกินไปก็อาจมีปัญหาว่าทำให้เป็นจริงไม่ได้  แต่ถ้าเอาแต่ตีโพยตีพายว่า "ฉันทำไม่ได้ ๆ " คนรอบข้างก็จะระอา

          ดร.ภาณุภาคย์  :  ช่วงเวลาไหนเป็นช่วงเวลาแห่งความทรงจำของอาจารย์

          Dave Ulrich  :  ตอนเรียนปริญญาเอก  คนอื่นเขาจะสอบตอนจนปี 3  แต่อาจารย์ออกแนวทรนง  เลยขอสอบตอนเพิ่งจบแค่ปี 2  ปรากฎว่าไม่ผ่าน  ซึ่งจริง ๆ ก็ถือได้ว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีนะ  พวกอาจารย์ที่มาสอบปากเปล่าอาจารย์มองหน้าแล้วบอกว่า  "คุณฉลาดนะ  แต่คุณยังไม่เข้าใจหรอก"  อาจารย์เลยใช้เวลาอีก 9 เดือนต่อมาเพื่อศึกษาให้จนรู้ว่า  ความสำคัญของการเรียนรู้ไม่ได้แค่การตอบคำถามได้  ประสบการณ์ความผิดพลาดจะเป็นเครื่องพิสูจน์ใจคนว่าแกร่งพอไหมที่จะลุกขึ้นสู้อีกครั้ง

          ดร.ภาณุภาคย์  :  ที่ผ่านมา  อะไรเป็นสิ่งท้าทายที่สุดในชีวิตการทำงานของอาจารย์

          Dave Ulrich  :  การพยายามวิ่งให้นำหน้าคนอื่นอยู่เสมอ  อาจารย์ชอบที่จะรู้จะเห็นว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป  แต่มันก็ยากที่จะทำได้  โดยเฉพาะในโลกปัจจุบันที่หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอย่างนี้

          ดร.ภาณุภาคย์  :  สุดท้ายนี้  ขอขอบคุณอาจารย์มากนะครับ  ที่กรุณาให้ข้อคิด  มุมมองที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง  ถ้ามีโอกาสเชิญไปเที่ยวเมืองไทยนะครับ  จำไม่ผิดวันเกิดอาจารย์ 13 กันยา ใช่ไหมครับ  ถ้าช่วงนั้นไม่ยุ่งนัก  อาจารย์ลองชวนครอบครัวไปเที่ยวทะเลเมืองไทยสิครับ  ฉลองวันเกิดครบ 56 ที่เมืองไทยซะเลย

          Dave Ulrich  :   ถ้ามีโอกาส  คงได้พบ ดร.ภาณุภาคย์  ในเมืองไทย  ฝากความคิดถึงไปยังคนไทยทุกคนนะครับ

 

ดัดแปลงจากบทความชื่อ  10 Auestions to ... Dave Ulrich วันอังคารที่ 2 ธันวาคม

พ.ศ. 2551 HR & Training Journal, issue 05

 

ที่มา  :  ดร.ภาณุภาคย์  พงศ์อติชาต  นธ.ตรี  หนังสือกระแสคน  กระแสโลก 

สำนักงาน ก.พ. หน้า 39 - 43 กันยายน  2553

(เปิดโลกความรู้  พัฒนาทุนมนุษย์)

เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์  ฉบับประจำวันที่ 13 - 19 มีนาคม 2552

 

 

หมายเลขบันทึก: 416179เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2010 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

  • ขอบคุณความรู้สำหรับวันนี้นะคะ

สวัสดีค่ะ...คุณยาย...Ico32...

  • ขอบคุณที่แวะมาค่ะ...
  • สุขสันต์วันศุกร์ค่ะ...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท