ส้วม(ห้องน้ำ)กับความมั่นคงของชาติ [EN]


ท่านผู้อ่านที่มีประสบการณ์ไปต่างประเทศมาแล้ว คงจะเข้าใจเรื่องความสำคัญของห้องน้ำได้ดีว่า ประเทศที่พัฒนาการท่องเที่ยวไปไกล จะต้องมีห้องน้ำดีและทั่วถึง และดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ 
.
สำนักข่าวรอยเตอร์ ตีพิมพ์ผลการศึกษาของธนาคารโลก ซึ่งรายงานว่า อินเดียมีต้นทุน-วิกฤติ-โอกาสทางด้านห้องน้ำ (ส้วม) มากขนาดไหน ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ Reuters ]
ต้นฉบับ คือ 'No toilets costs India $54 billion annually; World bank' = "(ธนาคารโลกรายงาน) ไร้ส้วมทำอินเดียเสียหาย 54,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ/ปี = 1.62 ล้านล้านบาท (คิดที่ 30 บาท/$)
.
ภาวะขาดส้วมหรือไร้ส้วม ทำให้โรคภัยไข้เจ็บเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคท้องเสีย ทำให้เด็กๆ ป่วยและตาย, การที่ลูกหลานตายทำให้ญาติพี่น้องเสียใจ-ชอกช้ำ, ขาดแรงงานองชาติ (ที่มีสุขภาพดี)
.
แถมภาวะขาดส้วมยังทำให้นักท่องเที่ยวรู้สึกว่า ลำบากและยากที่เดินทางไปท่องเที่ยว ทำให้รายได้หลักของประเทศ คือ การท่องเที่ยวลดลง
.
การศึกษานี้ทำจากข้อมูลปี 2006 หรือ พ.ศ. 2549, ซึ่งมีสภาพคล้ายกับทุกวันนี้ รายงานว่า คนอินเดียป่วย และจากโรคท้องเสีย (diarrhea) ดังนี้ (ใช้หน่วยเป็น "ราย" เนื่องจากหลายๆ คนท้องเสียหลายครั้ง)
  • ป่วย 575 ล้านราย/ปี
  •  เสียชีวิต 450,000 ราย/ปี
.
สาเหตุสำคัญ คือ การขาดส้วม ขาดน้ำประปา ไม่ล้างมือด้วยสบู่ และขาดระบบบำบัดน้ำเสีย
.
การเสียชีวิตก่อนวัยอันควร, ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคที่ป้องกันได้ เช่น ท้องเสีย มาลาเรีย ริดสีดวงตา พยาธิ ฯลฯ และเวลาที่สูญเสียไป คิดเป็นเงินประมาณ $38.5 billion = 1.155 ล้านล้านบาท
.
ความสูญเสียอีก $10.7 million = 321 ล้านบาทเกิดจากค่า "เสียโอกาส" ในการเข้าถึง (access time) เช่น ต้องรอคิวเข้าห้องน้ำ, ต้องรอถ่ายหนักในที่แจ้ง (open defecation)
.
วิธีถ่ายหนักในที่แจ้ง คือ นิยมถือไฟฉายกับกระป๋องใส่น้ำ... เดินออกจากบ้านไปถ่ายข้างถนน หรือตามท้องไร่ท้องนา ตั้งแต่ก่อนสว่าง เช่น ตี 5 ฯลฯ
.
ผู้หญิงและเด็กหญิงจำนวนมากใช้วิธี "อดไว้ทนไว้" คราวละนานๆ เนื่องจากห้องน้ำในโรงเรียน และที่ทำงานขาดแคลน, ขาดความเป็นส่วนตัว เช่น ผนังห้องไม่มิดชิด ฯลฯ, หรือกลัวเสียเกียรติ เช่น คนวรรณะสูงรังเกียจของใช้ร่วมกับคนวรรณะต่ำ ฯลฯ
.
ภาวะไร้ส้วมทำให้อินเดียขาดรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ $260 million = 7,800 ล้านบาท/ปี
.
อ.คริส โตเฟอร์ ฮวน คอสเตน จากธนาคารโลก หัวหน้าคณะวิจัยกล่าวว่า ถึงแม้ท้องเสียจากการกินอาหารตะวันออกส่วนหนึ่งอาจเกิดจากส่วนผสมอาหาร เช่น พริก ฯลฯ หรือที่เรียกว่า 'Delhi Belly' = "ท้องเดลลี (Delhi = ชื่อเมืองหลวง; belly = ท้อง)"
.
ทว่า... นักท่องเที่ยวที่ท้องเสียมีแนวโน้มจะคิดว่า เป็นผลจากความสกปรก
.
ประเทศที่จะพัฒนาด้านการท่องเที่ยวจำเป็นต้องรีบเร่งพัฒนาส้วม-ห้องน้ำ โดยเฉพาะห้องน้ำผู้หญิงให้มากพอ, ฝึกนิสัยการล้างมือด้วยสบู่ก่อนกินอาหาร-ดื่มน้ำ-เข้าบ้าน และหลังเข้าห้องน้ำ-สัมผัสของใช้ หรือยานพาหนะร่วมกับคนอื่น-เล่นกับสัตว์ 
.
ทุกวันนี้โรคท้องเสียลำไส้อักเสบจากไวรัส มีอาการคล้ายหวัด ปวดท้อง ท้องเสีย โดยเฉพาะหลังกินนม พบได้บ่อย... บางคนอาจท้องเสียไปนาน 1-2 สัปดาห์ โดยเฉพาะในเด็ก
.
ถ้าเราจะดูแลนักท่องเที่ยวให้ปลอดภัยจากโรคนี้... จำเป็นต้องช่วยกันล้างมือด้วยสบู่ทุกคน เพื่อลดการแพร่เชื้อโรค และหลีกเลี่ยงการเข้าไปในที่ที่อากาศถ่ายเทไม่ดี เช่น ห้องแอร์ตามไนท์คลับ ผับ บาร์ ฯลฯ
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

 > [ Twitter ]

ที่ มา                               

  • Thank [ Reuters ]
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 21 ธันวาคม 2553.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 415897เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2010 05:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาคารวะ และ ฝากให้ช่วยคิดครับ หาก G2K หยุดการสร้างเครือข่าย สังคมแห่งการเรียนรู้ จะเกิดอะไรขึ้นครับ

มาอ่านและนำดอกไม้มาอวยพรปีใหม่2554 ครับผม

Large_redorchid2

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท