SHA Conference and Contest (๕) เคล็ดวิชาจากสามผู้นำ ผอ.ต้นทุนถูก คุณภาพสูง


ต้นทุนถูกกว่า คุณภาพสูงกว่า

      ถ่ายทอดสดมาจาก งาน SHA วันสุดท้าย เคล็ดวิชาจากสาม ผอ.ผู้นำคุณภาพ

      นพ.อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูล บัณฑิตเกียรตินิยม อันดับหนึ่งจาก รามาธิบดี ผอ.อุบลรัตน์กว่า ๒๗ ปี

      นพ.สุวัฒน์ ธนกรนุวัฒน์ ศิษย์เก่า มข ผอ.เสาไห้ ตั้งแต่ ๔๒

      นพ.เฉิดพันธุ์ ภัทรพงศ์สินธุ์ จุฬา หนองบัวระเหว ๒๐ ปี

 ท่านอาจารย์ อภิสิทธิ์ เจ้าของรางวัลเกียรติยศหลายแห่ง และ กรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวเล่าเรื่องก่อน ด้วยคุณภาพกับปริมาณของกาแฟที่ได้เราไปสั่งซื้อ มาถึงโรงพยาบาล หากยังคิดมาได้จะมีแต่คนไข้ที่มากมาย แต่ไม่มีคุณภาพ เลยต้องมาดูเรื่องสุขภาพใหม่ ที่ต้องสุขทั้ง กาย ใจ สังคม และ ทางปัญญา โดยต้องดูปรัชญาของโรงพยาบาลที่เราต้องทำให้ประชาชนด้วยใจ ทำให้เป็นโรงพยาบาลเป็นของประชาชน และ เป็นโรงพยาบาลชุมชน การทำมี ๔ มิติ คือ ความปลอดภัย เท่าเทียม มีปนะสิทธิผล และ ดูแลด้วยมิติความเป็นมนุษย์ ยิ่งทำงานนานคนไข้แน่นมากขึ้น เลยมาปรับให้เกิดการกระจายการรักษาพยาบาลออกไป และ จัดส่งเสริมสุขภาพเพื่อไม่ให้คนป่วย คุมโรคดีดี และ จัดกระบวนการเรียนรู้ให้เข้าถึงชุมชน การปรับให้เป็นโรงพยาบาลชุมชน โดยให้เขเข้สถึงได้ สามารถนำผลิตภัณฑ์มาให้กับโรงพยาบาลได้ มีจิตอาสาบริจาคกำลังทรัพย์ และ การให้ชุมชนบริจาคกำลังความคิด การปรับปรุงการทำงานของอุบลรัตน์จะใช้การตรวจสอบการทำงานจากชุมชน ผู้เฒ่าผู้แก่จะมาช่วยให้ข้อเสนอแนะได้มากและยังมีพลังมากมายการใช้พลังของเด็กส่งไปเรียนถึง ๒๔ คน กลับมาทำงานที่ อุบลรัตน์ แล้ว ๔ ท่าน เน้นการพัฒนาคุณภาพ รวมทั้งไปส่งเสริมป้องกันโรค งานวิจัยที่อุบลรัตน์ทำ แบ่งคน ๔ กลุ่ม กลุ่มแรก รักษาหาย ไม่รักษาตาย เช่น ไส้ติ่งแตก มีร้อยละ ๒๓ กลุ่มที่สอง คือ รักษาตาย ไม่รักษาหาย น้อยกว่าร้อยละ ๑ เช่น โรคหมอทำ กลุ่มที่สาม คือรักษาก็หาย ไม่รักษาก็หาย ร้อยละ ๗๖ กลุ่มสุดท้าย รักษาก็ตายไม่รักษาก็ตาย ร้อยละ ๑ เช่น มะเร็ง ระยะสุดท้าย กระบวนการเรียนรู้ทำให้ภาวะสุขภาพดีขึ้นและมีการคัดเด็กในอุบลรัตน์ไปเรียนเพื่อกลับมาช่วยโรงพยาบาล โดยสรุป จะพัฒนา คือ การคิดนอกกรอบ

 สรุป แนวคิด อ.นพ.อภิสิทธิ์ เคล็ดวิชา คือทำเรื่องที่ทำอยู่ให้ดี อย่าเอาเงินเป็นตัวตั้ง ตรวจสอบความพึงพอใจของผู้รับบริการ เมื่อทำดีแล้วรุกไปข้างหน้าทำเล็กๆก่อน สุดท้าย ทำแบบสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา คือ หาคนที่มีความรู้มาช่วยด้สนปัญญา ใช้สูตรการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อน node สร้างเครือข่าย สุดท้ายจัดการและเสนอแนะนโยบาย การมีแผน มีองค์กรรองรับและการจัดการที่เป็นระบบ มีความเชื่อมโยง การจดบันทึกข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ เงินแบบพอเพียงและเพียงพอให้คุณภาพเพิ่มขึ้น

 ท่านที่สอง ศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น นพ.สุวัฒน์ เล่าให้พวกเราฟังเรื่อง ที่ท่านประทับใจในโรงพยาบาลเล็กๆ เช่น เรื่องนิ้วที่เหลืออยู่ คนของที่เป็นอัมพาต โดยมีการรักษา เพราะพูดไม่ได้ แต่ต้องการสื่อสาร โดยใช้นิ้วหัวแม่มือที่เหลือข้อเดียวมาช่วยสื่อสาร โดยสามารถเขียนได้ และ คำแรกที่สื่อสาร คือ เค๊ก ซึ่งทาง ร.พ จัดให้ คำที่สองที่เขียน คือ ซ พยาบาลเดาใจได้ คือ ซ๊อตแม๊กกี้ การตอบสนองคุรภาพ ทำให้คนไข้มีคุณค่าและมีความสุข เป็นการเอาใจใส่เล็กๆน้อย อีกราย คือ คนไข้ CVA ที่กลั้นอุจจาระและปัสสาวะไม่ได้จนกลับมาเดินได้ และวาดรูปในภาพได้ อีกราย คนไข้อัมพาตที่หยุดการพูด ซึ่งหากไปเสาะหาติดตามเรื่องราว คือ แฟนจะไปแต่งงาน กรณีอย่างนี้เป็นเรื่องราวที่เราจะต้องใส่ใจเพราะทำให้เกิดปัญหาตามมา การฝึกเจ้าหน้าที่อย่างหนึ่ง กิจกรรม ๑๑๖ วัน ได้มวลชน ได้ใจ ไดกิจกรรม ๕๐๐ โครงการ

 สามฐาน คือ กาย ใจ และ คิด จะทำให้บริหารต้นทุนได้ลดลง ต้นทุน ที่สำคัญ คือ เวลา จิตใจ ความเชื่อมโยง

 นพ.เฉิดพันธุ์ หลักการจัดการง่าย คือ IPO model การลดทรัพยากร หรือ หากลดไม่ได้ คือ เพิ่มสมรรถนะคน ทำให้เกิดการพัฒนา และ ยั่งยืน คือ SHA ต้อง เคยชิน และ ชินชาจนเป็นปกติ ทำเป็นนิสัย ทำให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ทำไงไม่ต้องบอกไม่ต้องเขียน ต้องมีการเรียนรู้ ท่านไม่ได้ทำ HA แต่พัฒนาคุณภาพ คือ การมองไปที่ผลลัพธ์ เน้น สุขภาพผู้ป่วย มองไปที่เป้าหมาย เดินไปและเรียนรู้กับมัน หลายครั้ง SHA ยั่งยืนโดยชินชาและเคยชิน การเชื่อมั่นคน HA เหมือนแผนที่ หากเป็น ผอ.โรงพยาบาล ไม่ใช่หมอ ต้องบริหารให้รอดต้องดู ๕ ส การทำงานต้องบูรณาการอย่าแยกเป็นส่วน แต่ต้องคิดเป็นระบบ การทำงานต้องใช้ใจ ไม่ใช่ใช้เงิน หลักการทำงาน คือ เจ้าหน้าที่เบิกบาน การลดต้นทุน ดูว่าอยากได้อะไรทำเลย ค่านิยม คือ อุดมการณ์ ความเชื่อขององค์กร หลัก คือ การพัฒนาคน ดึงศักยภาพของคน กระตุ้นให้คนสร้างคุณค่า และ มาช่วยกันทำงาน การมองไปข้างหน้าหามาตรฐาน อย่าติดเครื่องมือ เช่น ต้องการไปทางลัด คือ ถามแท็กซี่ การคิดดี มองโลกในแง่ดี เลือกเรื่องดีดีมาคุยกัน สิ่งที่ยาก คือ ต้องรู้บริบท ต้อง คิดดี คิดเป็น และ ทำเป็น ต้องยืดหยุ่น การทำงานแบบมีส่วนร่วม โดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง คือ เป้าหมายเดียวกัน และ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ต้องใช้เครื่องมือที่ถูก การปรับมุมมอง คือ ชาวบ้านอยากได้อะไร หรือ หาความต้องการของผู้รับบริการก่อน แล้วปรับกระบวนการ โดยใช้ทีม เครือข่าย ใช้เครื่องมือ ใช้ข้อมูล ใช้การ ลปรร การเรียนรู้ที่สำคัญ คือ การปรับใช้กระบวนการ ต้องมีข้อมูลในการจัดการ

JJ2010 ฅนสานฝัน

หมายเลขบันทึก: 414370เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2010 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แวะจิบชา ก่อนไปทานมื้อเที่ยงค่ะ...

สุขภาพใหม่ ที่ต้องสุขทั้ง กาย ใจ สังคม และ ทางปัญญา

ขอบคุณเรื่องเล่าดีๆ ค่ะ

เรียนท่านชาดา blog นี้ จดสดสดที่ท่านบรรยาย นำมาฝากครับ ไม่ได้ถอดบทเรียนอะไรเลย จะได้รู้ที่ท่านผู้นำทั้งสามท่านได้ถ่ายทอดครับ

ขอบคุณค่ะ..ได้แง่คิดดีๆนำไปประยุกต์ใช้มากมาย..

                  บัตรอวยพรมูลนิธิสายใจไทยฯ

เรียนท่านพี่นงนาท กราบขอบพระคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท