SHA Conference and Contest (๔) การถอดบทเรียน เพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืน


SHA การถอดบทเรียน สิ่งที่น่ารู้ ในการนำองค์กรที่ยั่งยืน

       ช่วงบ่ายหลังอาหารกลางวัน ที่จัดหามาเอง เพราะอาหาร รร ไม่ถูกปาก คือไม่ได้ไปทาน สู้ไก่ทอดและ Coke Zero อร่อยกว่า

       ห้องที่ JJ ไปเข้าเรียนรู้ เพื่อรายงานสดสด คือ ห้องที่ทีมงาน KM พี่เอกมาเป็นวิทยากร ร่วมกับ อ.สุรชัย และ อ.วราวุธ


       พี่เอก เริ่มด้วยการถอดบทเรียนสายตาคนนอกสี่โรงพยาบาล ที่เล่าให้ฟัง การถอดบทเรียน คือ การ ทบทวนตนเอง เพื่อเข้าใจ เรียนรู้ เพื่อก้าวต่อไป และ ไม่ทำผิดซ้ำอีก วิธีการถอดบทเรียน คือ สร้างสรรค์ บรรยากาศที่เป็ฯธรรมชาติ มิตรภาพ ปลอดภัย มีความสุข และ ไว้วางใจ

       ปัจจัยที่พี่เอกเล่าให้เราฟัง คือ การเข้าไปเป็น Fa โดยการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกัน ตั้งประเด็น เข้าสู่ประเด็น คลี่คลายประเด็น บทเรียนจะมีชีวิต และ เคลื่อนไหวตลอดเวลา บทเรียนจะมีพลัง ต้อง ถอดบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ และ นำพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

       อาจารย์หมอวราวุฒิไปสองโรงพยาบาล คือ ร.พ เสาไห้ และ ร.พ ยางตลาด อ.หมอวราวุฒิ เป็นคนเขียนโครงการ SHA คือ นำ Outcome Mapping มาเป็นเครื่องมือ โดยผสมผสาน มิติทางจิตใจ สังคมและทางปัญญา มีความเอื้ออาทรในกระบวนการดูแลรักษาพยาบาล ที่ทำให้ผู้ให้บริการและผู้รับบริการมีความสุข ต่อมาปรับชื่อเป็น SHA = 5S +3H + 2A

       เสาไห้ เป็นโรงพยาบาลชนบทกึ่งเมือง คือ การทำ Health Promotion และ แพทย์ทางเลือก การทำงานของทีมงาน คือ การทำสิ่งที่ไม่คุ้นเตย คือ เน้นดวงจิตสมานฉันท์ คุณภาพได้ด้วย หยาดเหงื่อและน้ำตา คุณภาพ แยกจากงานประจำ เมื่อหกปีก่อนวันนี้ ได้มานั่งวิเคราะห์เพื่อปรับกระบวนการพัฒนา “สร้างนำซ่อม” มีการส่งทีมงานไปเรียนรู้ที่อื่น รวมทั้งไปเรียนรู้ที่โรงพยาบาลฉือจี้ โรงพยาบาลเสาไห้อาสาไปช่วยงาน สรพ ทุกอย่างเพราะได้เรียนรู้ โดยไปช่วยเป็น Node ในการพัฒนา จุดเด่น คือ อ่อนโยนและเป็นมิตรแต่แข๊งแกร่งในความมุ่งมั่น

       สำหรับโรงพยาบาลยางตลาดทำงานแนบแน่นกับ คปสอ ทำงานที่มีแต่ “เรา” ไม่มีเขาและเธอ ผอ.ชื่อ หมอชาญชัย ศิษย์เก่า คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เช่นเดียวกับ โรงพยาบาลเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ที่ยางตลาดทำคุณภาพทุกอย่าง เพื่อให้ประเมินให้ได้ และ แก้ไขทุกอย่างให้เป็นไปตาม surveyor ประเมิน เมื่อผ่านหยุดทุกอย่างหันหลังให้งานคุณภาพ ถึงวันหนึ่งกลับมาคิด จะทำอย่างไรให้มีสติ โดยนำมาตรฐานไปกองไว้ก่อน เชิญทีมงานมาคุย ว่าอยากทำอะไร เช่น การให้คนตรงกับงาน เช่น การดูแลผู้ป่วยหอบหืดโดยพยาบาลที่ครอบครัวเป็นหอบหืด มีการทำ PCT เฉพาะโรคเกาะติดถึงประตูบ้านแล้วมาเติมเต็มมาตรฐานทีหลัง ตอนหลังตั้งทีมแปดอรหันต์มาดูเรื่องมาตรฐานมาเติมเต็มกัน พอ SHA มาพร้อมกับ OM ซึ่งต้องฟังประชาชน ที่ยางตลาด SHA ไม่มีตัวตน แต่อธิบาย SHA ได้ทุกตัว โดยที่ Humanized อยู่ในทุกตัวคนของทีมงานของยางตลาด อย่าได้สนใจแต่เรื่องเล่า เพราะยางตลาดนำคนที่ชอบมาทำงาน การเป็นธรรมชาติเกิดจากเนื้องานที่คนทำรักงานนั้นๆ วิธีการทำงาน คือ โน้มน้าวให้ทำงานได้ แต่ ผอ.รพ.เสียใจที่โน้มน้าวได้ เพราะ เขาไม่ได้ทำตามที่เขาอยากทำ

       สรุปทั้งสองโรงพยาบาล คือ เสาไห้ และ ยางตลาด คือ การทำ SHA โดยใช้งานประจำมาเป็นตัวขับเคลื่อนให้การบริการด้วยหัวใจ ของความเป็นมนุษย์ ยึดมั้นการพัฒนาที่ยั่งยืน อบ่างมีส่วนร่วมกบประชาชน

JJ2010 ฅนสานฝัน

หมายเลขบันทึก: 414152เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2010 14:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

พี่เอก ถอดบทเรียนที่น่าสนใจ คือ

  • คน คือ ทรัพยากรที่คุ้มค่า
  • ผอ.รพ. เป็นทั้งผู้นำ และ Facilitator
  • มีการนำการจัดการความรู้ มีการใช้ความรู้ มีการสร้างความรู้ โดย ที่เป็นการจัดการที่เป็นธรรมชาติ เพราะ บรรยากาศที่ตรึงเครียด ไม่มีใครอยากเรียนรู้
  • การแสวงหากระบวนการทำงานที่ง่ายกว่า
  • การเทียบเคียงการยกระดับ เรื่องเล่าให้กลายเป็นโรงพยาบาลที่เข้มแข็ง ไม่ใช่แค่การเล่าเรื่องแล้วน้ำตาไหลพราก เล่าซ้ำไปซ้ำมา
  • ทำที่ทำงานให้เหมืนบ้าน หากวันศุกร์ อยากให้ถึงวันจันทร์เน็วๆ
  • การทำงานป็นทีม
  • Lean + R2R เพราะทำให้งานคุณภาพเร็วขึ้น
  • การสร้างเครือข่าย โดยดึงคนเก่งนอกโรงพยาบาลมาช่วยเหลืองาน
  • งานคุณภาพ คือ วิถี ตัวตน ร.พ นั้น
  • การพัฒนาคุณภาพ ให้เป็น "วิถีชีวิต"

พี่เอก จตุพร เสนอ ว่า การนำการจัดการความรู้เข้ามาใช้ โดยนำการถอดบทเรียน มา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะสามารถทำให้เกิดการพัฒนาของ SHA ที่ยั่งยืนได้

อาจารย์หมอสุรชัย นำเสนอ สิ่งที่น่าเรียนรู้ คือ

  1. รู้เขา รู้เรา ซึ่งรู้เขา คือ มาตรฐาน ซึ่งไม่มีการต่อรอง หรือ ลดลง ต้องรู้ criteria ค้องรู้ความคาดหวัง รู้วิถีชีวิต/ชุมชน
  2. รู้รักสามัคคี
  3. รู้รักษาคนดี
  4. รู้สร้างวิธีภูมคุ้มกัน

อ.สุรชัย พูดถึง รู้เขา เพิ่ม

  • คือ การที่เข้าใจประชาชน และ สื่อมวลชน
  • รู้เรา แถม คือ รู้ context
  • งานที่ต้องทำให้ดี กับกำลังความสามารถและ ทรัพยากรที่มีอยู่

รู้รักสามัคคี คือ การให้ความสำคัญต่อบุคลากร

  • มี Value on Staff มี Team work
  • มีการพัฒนาบุคลากร

รู้รักษาคนดี

  • การบริหารทรัพยากรบุคคล Put the right man on the right job
  • ใช้คนเป็นศูนย์กลาง ทำอะไร คิดถึงเจ้าหน้าที่

หลักเศรษฐกิจพอเพียง ต้องมีการเดินสายกลาง

อ.สุรชัย สรุปว่า SHA คือ มาตรฐานเหมือนเดิมแต่ เปลี่ยนวิธีการ approach เพื่อส่งเสริม คนที่ คิดดี พูดดี ทำดี และ มี ความสุข ในการพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลอย่างยั่งยืน

ขอบคุณอาจารย์หมอ JJ มากนะครับ ที่มาเป็นกำลังใจถึงขอบเวที

เเละยังได้สรุปบทเรียนได้เป็นอย่างดี

ผมเสร็จจากที่อิมพีเรียลฯ จำเป็นต้องกลับมาเตรียมงานที่ศาลายาต่อ เลยไม่ได้เสวนากับท่านอาจารย์ต่อเลยครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับ

แวะชิมชา ก่อนกลับบ้านค่ะ

พูดได้คำเดียว "เยี่ยม" ค่ะท่าน....

 

สวัสดียามเช้าค่ะอาจารย์ มาติดตามอ่านสรุปบทเรียนค่ะSHA Conference and Contest

เรียนท่านเอก ยินดี ครับ ฟังไป เรียนรู้ไป ลิขิตไป รายงานไป ครับ

สวัสดีปี่ใหม่ค่ะอาจารย์หมอ

เรียน ท่านอุ้มบุญ กราบขอบพระคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท