หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง


หลักแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

           การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกัน ที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจและ  การกระทำ

          ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่  5  ส่วน ดังนี้

           1.  กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น  โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และ ความยั่งยืน ของการพัฒนา

            2.  คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

            3.  คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย  3  คุณลักษณะ พร้อม ๆ กัน ดังนี้

                 3.1  ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น  การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

                3.2  ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล  โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

                3.3  การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

           4.  เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

                 4.1  เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย  ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

                 4.2  เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย  มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

            5.  แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน  ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม  ความรู้และเทคโนโลยี 

หมายเลขบันทึก: 414099เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2010 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

หลัก ๓ ห่วง ๒ เงื่อน

ห่วงที่๑ คือ ความพอประมาณ

ห่วงที่๒ คือ ความมีเหตุผล

ห่วงที่๓ คือ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว

ร้อยเรียงติดยึดด้วย ๒ เงื่อนไข กล่าวคือ

เงื่อนไขที่๑ คือ ความรู้

และเงื่อนไขที่๒ คือ คุณธรรม

เมื่อเริ่มจากเหตุปัจจัยที่เหมาะควร ผลสุดท้ายก็จะต้องสอดคล้องกับเหตุปัจจัย กล่าวคือ ความสุข สมดุลย์ และยั่งยืน

เป็นแนวทางที่ดีมากครับแต่พวกเรามักใช้เป็นเพียงการอ้างอิงถึงหลักของพระองค์ท่าน เวลานำมาทำเป็นนโยบายเชิงปฏิบัติกันจริงๆกลับไม่สอดคล้อง เรากลับไปเอาหลักวัตถุนิยมแบบสุดโต่ง เศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาใช้กัน จะมีเพียงบางท่านที่มีจุดยืน ยึดถือคำสอนของพระองค์ท่านแล้วนำมาใช้จริง ปฏิบัติจริง เห็นผลจริงรวมกันในกลุ่มชุมชนเล็กๆ ผลที่เห็นไม่ใช่วัตถุทรัพย์สินเงินทอง แต่เป็นความสุขจากการพึ่งพาตนเอง เลี้ยงชีพได้อย่างยั่งยืนครับผม

ขอบคุณที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท