หาดป่าตองสวรรค์ของนักลงทุนต่างชาติ


ปัจจุบันสืบเนื่องจากนโยบายส่งเสริมการลงทุนทางด้านธุรกิจการท่องเที่ยวและการให้บริการในประเทศไทยที่มีการขยายตัวมากขึ้นส่งผลให้สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศดึงดูดความสนใจของกลุ่มนักท่องเที่ยวและนักลงทุน

            ในปัจจุบันสืบเนื่องจากที่ภาครัฐได้มีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวและการลงทุนในประเทศที่มากขึ้นจึงส่งผลให้กลุ่มนักท่องเที่ยวหันมาให้ความสนใจที่จะมาใช้บริการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวต่างๆในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งในแต่ละปีนั้นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อต่างๆภายในประเทศมักจะคราคร่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและเมื่อมีนักท่องเที่ยวมากขึ้นธุรกิจเกี่ยวกับการให้บริการก็มักจะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

           โดยในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าในสถานที่ท่องเที่ยวตากอากาศที่มีชื่อในประเทศไทยมักจะเต็มไปด้วยโครงการก่อสร้างมากมายซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการก่อสร้างสถานที่พักตากอากาศที่มีลักษณะเช่าพักอาศัยชั่วคราว,แบบปลูกเพื่อขายให้กับนักท่องเที่ยวที่สนใจมาจับจองไว้เป็นบ้านพักตากอากาศยามเมื่อเข้ามาพักผ่อนในประเทศไทยซึ่งแหล่งที่พักตากอากาศในประเทศไทยที่มีการปฏิรูปที่ดินเพื่อทำธุกิจเช่นนี้ที่เห็นได้ชัดเจนนั้นก็คือที่หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ตและจากความนิยมในตัวสถานที่ท่องเที่ยวเป็นทุนเดิมอยู่แล้วของนักท่องเที่ยวเนื่องจากเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีทัศนียภาพสวยงามและทุกๆปีในช่วงฤดูการท่องเที่ยวจะมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวนมากหลั่งไหลมาที่หาดป่าตอง

            เมื่อมีนักท่องเที่ยวมากก็ย่อมเป็นธรรมดาที่จะมีธุรกิจการให้บริการมากขึ้นตามไปด้วยซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้ว่าราคาที่ดินในหาดป่าตองนั้นมีราคาที่สูงมากและมีกลุ่มบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เข้ากว้านซื้อที่ดินจากเจ้าของเดิมซึ่งเป็นคนท้องถิ่นเพื่อนำมาสร้างเป็นที่พักตากอากาศเพื่อขายและแบ่งเช่าในราคาสูงให้แก่ลูกค้าชาวต่างชาติที่หลงใหลในเสน่ห์ของป่าตองและในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์นี้มีส่วนที่น่าสังเกตคือ ในปัจจุบันกลุ่มผู้ลงทุนนั้นแม้ผู้จดทะเบียนนิติบุคคลจะเป็นคนไทยแต่แท้ที่จริงแล้วนั้นนายทุนที่แท้จริงกลับกลายเป็นกลุ่มชาวต่างชาติซึ่งเป็นเอกชนต่างด้าวที่ไม่มีสิทธิในการถือครองที่ดินตามกฏหมายแต่โดยอาศัยวิธีการหลีกเหลี่ยงกฏหมายทำให้ได้มาซึ่งสิทธิในการถือครองที่ดิน โดยการหลีกเลี่ยงกฏหมายที่เกิดขึ้นนั้นสามารถจำแนกได้เป็น 2 กรณีคือ

            (1) การให้คนไทยถือครองที่ดินแทน

                 ตามกฏหมายของไทยการที่เอกชนต่างด้าวจะได้มาซึ่งสิทธิในการถือครองที่ดินนั้นเอกชนต่างด้าวต้องมีคุณสมบัติเข้าเงื่อนไขตามประมวลกฏหมายที่ดิน,พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น ซึ่งตามเงื่อนไขทางกฏหมายที่กำหนดไว้ในกฏหมายเหล่านี้ทำให้เอกชนที่ไม่เข้าเงื่อนไขมักนิยมให้คนไทยถือครองที่ดินทางทะเบียนแทนแต่ในความเป็นจริงผู้ที่เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างแท้จริงก็คือเอกชนต่างด้าวทั้งนี้โดยคู่ความอาศัยความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันหรือการผูกมัดกันด้วยสัญญาตัวแทน แม้ว่าในประมวลกฏหมายที่ดินจะพยามที่จะวางมาตรการป้องกันไว้ในมาตรา 74วรรคสองก็ตามแต่ปัญหาเหล่านี้ก็ยังคงมีอยู่โดยที่ทางราชการไม่สามารถจะตรวจสอบได้

             นอกจากการให้เอกชนซึ่งเป็นคนไทยถือครองที่ดินแทนแล้วนั้นการหลีกเลี่ยงกฏหมายยังอาจเกิดขึ้นได้ในกรณีของการให้นิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นตามกฏหมายไทยถือครองแทนในนามแต่ทั้งนี้เนื่องจากกฏหมายไทยมาตรา 97ประมวลกฏหมายที่ดิน ได้กำหนดสัดส่วนของทุนหรือผู้ถือหุ้นหรือผู้ถือหุ้นเป็นเอกชนต่างด้าวเกินกว่ากึ่งหนึ่งของทุนหรือผู้ถือหุ้นทั้งหมดจะมีสิทธิถือครองที่ดินในประเทศไทยได้เสมือนคนต่างด้าวเท่านั้น ทำให้เอกชนต่างด้าวมักจะให้ผู้ที่มีสัญญชาติไทยเข้าถือหุ้นแทนโดยอาศัยสัญญาตัวการตัวแทนผูกพันกันอีกฉบับหนึ่ง แม้ว่ากรมที่ดินจะมีทางปฏิบัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคำร้องการขอถือกรรมสิทธ์ในที่ดินของนิติบุคคลที่มีสัดส่วนหรือผู้ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 40 ขึ้นไปมายังกรมที่ดินหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อพิจารณาก่อนมีคำสั่งทุกรายก็ตามแต่ก็ไม่อาจแก้ปัญหาเหล่านี้ได้เพราะเอกชนต่างด้าวเหล่านี้มักใช้วิธีการจัดการที่ดินดังกล่าวผ่านทาง nominee ของตนที่เป็นคนไทยซึ่งถือหุ้นในนิติบุคคลนั้น

              (2) การใช้นิติกรรมอื่นเพื่ออำพรางนิติกรรมซื้อขายที่ดิน

                   จากบทนิยามของคำว่า" สิทธิในที่ดิน"ตามมาตรา 1 ของประมวลกฏหมายที่ดินหมายถึงการมีกรรมสิทธิ์และสิทธิครอบครองในที่ดินเท่านั้นจึงไม่ขยายไปถึงการมีอำนาจครอบงำในการบริหารจัดการในที่ดินซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้วเราจะเห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นการถือครองตามสิทธิการครอบครอง การเช่า หรือการมีทรัพยสิทธิเหนือที่ดิน ล้วนแต่เป็นการให้อำนาจแก่เอกชนต่างด้าวเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ตัวอย่างเช่น การที่เอกชนต่างด้าวเข้าครอบครองที่ดินโดยอาศัยการเช่าแม้กรรมสิทธิ์จะยังไม่โอนมายังเอกชนต่างด้าวแต่เอกชนต่างด้าวก็เข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินได้อย่างเจ้าของตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา

                 ดังนั้นหากเอกชนต่างด้าวสามาถเช่าใช้ประโยชน์จากที่ดินได้เป็นระยะเวลาที่ยาวนานก็เท่ากับว่าเรายอมให้ที่ดินส่วนหนึ่งตกอยู่ในอำนาจการจัดการของคนต่างด้าวผลก็คือแม้จะระบุว่าเป็นการเช่าแต่แท้จริงแล้วนั้นการกระทำเช่นนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการขายที่ดินให้เอกชนต่างด้าวไปแล้ว

                ซึ่งปัญหาเหล่านี้นั้นผู้เขียนเห็นว่าหากปล่อยให้มีอยู่ต่อไปย่อมเป็นสัญญาณอันตรายและอาจนำมาซึ่งผลกระทบต่อปัญหาความมั่นคงในอนาคตก็เป็นได้

 

 

หมายเลขบันทึก: 41364เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อยากไปเที่ยวค่ะ และอยากให้หาดป่าตองเป็นสวรรค์ของคนบนดิน โดยเฉพาะหลังเกิดเหตุการณ์สึนามิควรถือโอกาสปรับปรุงชายหาดให้เป็นระเบียบ ระบบให้เป็นธรรมชาติมากที่สุดอย่ามุ่งธุรกิจเกินไป

สวัสดีครับ

เรื่องของหาดป่าตอง  หรือว่าจังหวัดภูเก็ตนั้น  นอตว่าต่อไปในอนาคต หากร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษผ่านการพิจารณาของสภาจนมีผลบังคับใช้แล้ว  เกาะภูเก็ตก็น่าจะเป็นอีกเขตหนึ่งที่จะนำเขตเศรษฐกิจพิศษมาใช้

นอต

       แต่ในประเด็นเรื่องนี้เห็นว่าหากจะมีการนำร่างเศรษฐกิจพิเศษมาใช้ก็ไม่รู้ว่าปัญหาเรื่องการถือครองที่ดินจะแก้ไขไปด้วยหรือเปล่า

การแข่งขันทางธุรกิจนำมาซึ่งการทำลายล้างทรัพยากรอันมีค่า

  • แวะมาอ่านและขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมครับ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท