สารฆ่าเชื้อรา (2)


จากข้อเขียนชุดอันตรายจากราในบ้าน คงทำให้เราไม่ละเลยการกำจัดเชื้อราให้หมดไปจากบ้าน เพราะโรคจากราที่เราไม่เคยคิดถึงอยู่แค่ปลายจมูกเรานี่เอง และอย่าลืมว่าสารเคมีทุกชนิดอันตราย ดังนั้นควรระมัดระวังขณะใช้ ขอให้สนุกกับ “รา ... killing day” นะคะ

สารฆ่าเชื้อรา (2)

 คราวที่แล้วเสนอ สารฆ่าเชื้อราในระดับค่อนข้างปลอดภัย  ตอนนี้จะเป็นสารเคมีที่มีระดับอันตรายเพิ่มขึ้น

 

1. แอลกอฮอล์ (ethanol, isopropanol)

พวกนี้จะทำลายทั้งแบคทีเรีย และรา (บางชนิด)

วิธีใช้  ใช้ที่ความเข้มข้น 60 - 90%. ควรให้ระยะสัมผัส อย่างน้อย 5-10 นาที

ข้อควรระวัง เวลาเตรียมหรือใช้อย่าจุดไฟ หรือสูบบุหรี่ในบริเวณไกล้เคียง

 

2. Chlorox  bleach หรือ sodium hypochlorites

สารนี้ส่วนใหญ่จะรู้จักกัน เป็นสารประกอบคลอรีน มีฤทธิ์ในการทำลายเชื้ออย่างกว้างขวาง มีราคาถูก และออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว สารละลาย hypochlorite เสื่อมสภาพได้เร็ว ประสิทธิภาพจะลดลงเมื่อสัมผัสอินทรียสาร จึงควรเตรียมใหม่เมื่อใช้และเก็บในภาชนะที่ป้องกันแสง ใช้อัตราส่วน 1:10

 ข้อควรระวัง การสัมผัสทางผิวหนัง ก่อให้เกิดการระคายเคืองปานกลางและเกิดผื่นแดง

การหายใจเข้าไป จะทำให้เกิดการระคายเคืองทางเดินหายใจ

ข้อแนะนำ เวลาใช้อย่าลืมใช้ผ้าปิดจมูก ปาก  เพื่อป้องกันไอระเหยของคลอรีนนะคะ และควรสวมถุงมือ

 

3.ไฮโดรเจนเพอรอกไซด์ (hydrogen peroxide)

สารนี้ใช้ล้างแผล แต่เวลาจะซื้อจากร้านสารเคมีต้องตรวจสอบเปอร์เซ็นต์ข้างขวดให้ดี เพราะที่ความเข้มข้นสูงสารนี้จะกัดมือ อันตราย

วิธีใช้  ใช้ที่ความเข้มข้น 3-6 % แต่ตัวนี้ระยะเวลาสัมผัสใช้ต้องใช้เวลานานหน่อย (แช่ไว้)

ข้อเสีย สารนี้เสื่อมเร็วเมื่อโดนแสงหรือความร้อน

ข้อดี ถ้าผสมกับ peracetic acid จะฆ่าสปอร์ได้

 

4. ไอโอโดฟอร์ (Iodophore)

ใช้ฆ่าสปอร์ได้ที่ความเข้มข้น  75 ppm (ส่วนในล้านส่วน) ระยะเวลาสัมผัสใช้ต้องใช้เวลานานเช่นกัน

ข้อเสีย ค่อนข้างแพง

 

 สารข้างต้นเหล่านี้หาซื้อได้ที่ ร้านขายยา  และร้านขายสารเคมี

 

บทสรุป   การฆ่าเชื้อราที่ได้แนะนำวิธีการบางส่วนนี้ คงต้องปรับประยุกต์ได้ตามสภาพ เรามีทางออกในการใช้สารธรรมชาติ หรือสารที่มีอันตรายน้อย ก็ควรที่จะเลือกใช้ให้เหมาะสม กับทั้งลักษณะของวัสดุ และสภาพผู้ใช้ (มีโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยง) ด้วย  และความสะดวกในการซื้อหา

การฆ่าเชื้อราบางชนิดหากอยู่ในระยะที่มีสปอร์ การใช้สารบางชนิดอาจมีประสิทธิภาพไม่ดีนัก หรือให้ผลได้ไม่นานก็อาจจะขึ้นซ้ำในบริเวณเดิมหรือไกล้เคียงอีก แต่เราก็สามารถทำซ้ำได้หลายๆครั้ง มันก็จะหมดไปเองในที่สุด แต่บางชนิดอาจเห็นผลไม่ขึ้นอีกเพราะเพิ่งเริ่มขึ้น  

ที่สำคัญขอย้ำเตือนคือ สารเคมีทุกชนิดอันตราย ดังนั้นควรระมัดระวังขณะใช้ และเชื้อราก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่นกัน หากจะใช้สารเคมีดังกล่าวในการกำจัด อย่าลืมย้อนกลับไปอ่านอันตรายของราและขั้นตอนก่อนหน้านี้ ให้เข้าใจเพื่อจะได้ปฏิบัติการฆ่าเชื้อราที่ปลอดภัยจริงๆ  ขอให้สนุกกับ “รา ... killing day” นะคะ

ตอนต่อไปมาสนุกกับ การฆ่าเชื้อราและตะไคร่ในห้องน้ำหรือมุมที่เปียกชื้นกันต่อนะคะ 

www.chemtrack.org/

หมายเลขบันทึก: 413500เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2010 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ขอบพระคุณนะคะมาติดตามต่อ
  • สวัสดีค่ะ
  • ขอบคุณนะคะที่ติดตาม เป็นกำลังใจที่ดีค่ะ และ
  • อย่าลืมตอนต่อ จะว่าด้วย ราในห้องน้ำค่ะ
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาอ่านบันทึกนี้ทำให้ได้ทราบสาระน่ารู้เกี่ยวกับ "เชื้อรา" เพราะที่บ้านกำลังมีปัญหานี้อยู่เหมือนกันค่ะ
  • ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันกันค่ะ

                                 

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณนะคะที่ติดตาม รบกับเชื้อราได้ผลอย่างไร บอกผลด้วยนะคะ

พันศักดิ์ เอนกอมรชัย

สวัสดีครับ เรื่องการให้พวกไฮเตอร์ผสมน้ำ 1:10 ส่วน เราต้องสเปรย์แล้วทิ้งไว้ 5-10 นาที หรือ เช็ดสเปรย์แล้วเช็ดได้เลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท