การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ


การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ

วันที่ 4 กรกฎาคม 2549

ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล

คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นตาม พรบ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 มีรองนายกรัฐมนตรีสุวัจน์ ลิมปตพัลลภ เป็นประธาน นายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และนายอนุสรณ์ คุณาสุสรณ์ ผู้แทนองค์กรสาธารณะประโยชน์เป็นรองประธานคนที่หนึ่งและสองตามลำดับ คณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการระดับกระทรวง ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้แทนองค์กรสาธารณะประโยชน์เป็นกรรมการ รวมทั้งสิ้นประมาณ 32-33 คน

การประชุมครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2/2549 มีวาระการประชุม 4 วาระ ประกอบด้วยเรื่องการแต่งตั้งคณะกรรมการเพิ่มเติม การพิจารณาค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายกรรมการ วาระที่น่าสนใจคือ รายงานเพื่อทราบความก้าวหน้าการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี สร้างสวัสดิการไทย (พ.ศ. 2550 – 2554) เรื่องการส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ เจ้าหน้าที่ของภาคเอกชน ได้ปฏิบัติงานอาสาสมัครที่เป็นประโยชน์แก่ประชากร สังคมและประเทศชาติ โดยไม่ถือเป็นวันเวลา และเรื่องการจัดสวัสดิการชุมชน : โครงการสัจจะวันละ 1 บาท เพื่อทำสวัสดิการสังคมภาคประชาชน จ.สงขลา เป็นโครงการนำร่อง

ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2549 ดร.ครูชบ ได้เสนอโครงการ โดยมีความเป็นมาคือ จังหวัดสงขลาได้มีหนังสือถึงกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ขอรับการสนับสนุนเงินงบประมาณเข้ากองทุนสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เพื่อทำสวัสดิการภาคประชาชนจังหวัดสงขลา เป็นจังหวัดนำร่องซึ่งเสนอโดย มูลนิธิครูชบ-ปราณี ยอดแก้ว โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลในรูปแบบเงินสมทบอัตรา 1:1 สามารถจัดสวัสดิการภาคประชาชน ให้แก่สมาชิกกองทุน และผู้ด้อยโอกาสในชุมชน โดยสัจจะครบ 180 วัน นำเงิน 30% ลงทุนวิสาหกิจ ธุรกิจชุมชนและการศึกษา 20% เป็นกองทุนและ 50% จ่ายสวัสดิการ 9 เรื่อง เช่น สวัสดิการการเกิด สวัสดิการการแก่ (เงินบำนาญ) สวัสดิการเจ็บไข้ และสวัสดิการการตาย เป็นต้น

ดร.ครูชบ ได้ขอเสนอการสนับสนุนเงินสมทบอัตร 1:1 ในปีงบประมาณ 2550-2551 ในปี 2550 จะให้ครอบคลุม 50 ตำบล 4 เทศบาลเป้าหมาย สมาชิก 29,485 คน และปี 2551 ครอบคลุม 70 ตำบล 7 เทศบาล เป้าหมายสมาชิก 50,000 คน

ข้อพิจารณา

ฝ่ายเลขานุการ ได้นำโครงการนี้เข้าสู่การพิจารณาของคณะอนุกรรมการนโยบายและแผนและได้จัดให้มีการลงไปศึกษาดูงานจริงในพื้นที่ มีความเห็นสรุปเป็นข้อเสนอแนะ ดังนี้

    1. แนวคิดโครงการนี้เป็นหลักการที่ดี เพราะคิดโดยชุมชน ประชาชน ได้มีการดำเนินการจริงมาแล้วเป็นเวลา 2 ปี และมีการขยายแนวคิดไปดำเนินการในพื้นที่อื่น ๆ มีสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ลงไปศึกษา รวมทั้งได้รับการสนับสนุนงบประมาณบางส่วน จากศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะความยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) ผ่านทางสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และได้รับการสนับสนุนงบประมาณบางส่วนจากองค์การบริหารส่วนตำบล ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่าแนวคิดหลักการของโครงการนี้จะดำเนินการต่อไปได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

    2. แนวคิดหลักการของโครงการตรงกับนโยบายหลักของรัฐบาลใน 4 เรื่อง

    1. นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ดำเนินการจริงในระดับชุมชน

    2. เป็นแก้ไขปัญหาความยากจนที่ดำเนินการโดยความสมัครใจของประชาชนเอง

    3. เป็นการส่งเสริมการออมภาคประชาชน ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้การออมในภาพรวมของประเทศซึ่งยังมีตัวเลขที่ต่ำอยู่ให้สูงขึ้นได้อีกทางหนึ่ง

    4. เป็นการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมทางเลือกโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนที่สามารถสร้างหลักประกันทางสังคมให้กับประชาชนทุกคน และลดภาระของรัฐในการดูแลประชาชนโดยตรงได้ในระยะยาว

    1. ฝ่ายเลขานุการฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควรเสนอ ก.ส.ค. พิจารณา ดังนี้

    1. ให้ความเห็นชอบในหลักการโครงการ

    2. มอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง (สำนักงานเศรษฐกิจการคลังและกรมบัญชีกลาง) สำนักงบประมาณ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน จังหวัดสงขลาและมูลนิธิ ดร.ครูชบ-ปราณี ยอดแก้ว เพื่อจัดทำรายละเอียดโครงการที่สมบูรณ์ โดยเสนอ ก.ส.ค. พิจารณาอีกครั้งหนึ่งก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป

ข้อเสนอ

  1. เสนอให้เป็นโครงการทั่วประเทศ

  2. เสนอให้พิจารณาตัวเลขต่าง ๆ เพื่อดูความยั่งยืน/มั่นคง ควรมีกรอบแนวคิดอย่างละเอียด บางโครงการอาจไม่จำเป็น เช่น การศึกษา/เพิ่มทุนาอาชีพ

  3. ในระยะยาว…การบริหารจัด ให้เป็นการจัดทำเป็นกระบวนการ ใช้กลไกใดต้องเป็นทั้งระบบ

มีตัวอย่างเรื่องการสวัสดิการฯ จากทั่วประเทศ

คำสำคัญ (Tags): #ทรงพระเจริญ
หมายเลขบันทึก: 41309เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2006 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 08:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท