โพชฌงค์ 7 กับการจัดการความรู้


สามขาสามมิติ

โพชฌงค์ 7 กับการจัดการความรู้

สวัสดีครับ...ผมนิติศาสตร์ สำราญรายงานตัวครับ

จากการศึกษาโพชฌงค์ 7 ประการ อันประกอบด้วย

1.สติสัมโพชฌงค์(ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง)

2.ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์( ความเฟ้นธรรม,ความสอดส่องค้นหาธรรม )

3.วิริยะสัมโพชฌงค์(ความเพียร)

4.ปีติสัมโพชฌงค์(ความอิ่มใจ)

5.ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(ความสงบกายสงบใจ)

6.สมาธิสัมโพชฌงค์(ความมีใจตั้งมั่น,จิตแน่วในอารมณ์)

7.อุเบกขาสัมโพชฌงค์(ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง)

จากโพชฌงค์ทั้ง 7 ประการ  ผมจะบูรณาการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรเพื่อการบริหารงาน  4  ฝ่ายในลักษณะสามขาสามมิติครับ  โดยจะกระทำในรูปแบบโครงการอบรมธรรมะ ณ วัดวังอ้อ    อำเภอเขื่องใน  จังหวัดอุบลราชธานีครับ  โดยจะเป็นความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับองค์กรไหลเวียนทั้งขึ้นในลักษณะสามมิติ แนวตั้งและแนวราบ  กล่าวคือ

  1. มิติที่ 1 (ขาที่1)  ข้าราชการครูมีความรู้ ความเข้าใจ และมีการสื่อสารในรายละเอียดให้งานสำคัญสำเร็จได้อย่างไร

ใช้เนื้อหา อุเบกขาสัมโพชฌงค์   ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

  1. มิติที่ 2 (ขาที่ 2) ฝ่ายบริหารวิเคราะห์องค์ความรู้เพื่อกำหนดทิศทางของงาน เพื่อเคลื่อนเข้าหาจุดหมายของโรงเรียนกำแพงองค์กร การดำเนินงานในลักษณะนี้ช่วยให้มองเห็นความซ้ำซ้อน ความด้อยประสิทธิภาพ และจุดอับที่ทำให้งานไม่เดิน

ใช้เนื้อหา ปีติสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์

  1. มิติที่ 3 (ขาที่ 3) นักเรียนโรงเรียนกำแพงจะมีความกระตือรือร้นและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

ใช้เนื้อหา สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์

โครงการดังกล่าวบุคลากรจะได้รับความรู้ที่เหมาะแก่สถานภาพโดยพระวิทยากร และบทบาทที่ได้รับตามมิติต่างๆ คือ ผู้บริหารและครูเป็นวิทยากรร่วม นักเรียนเป็นผู้เข้ารับการอบรม

โครงการดังกล่าวบุคลากรได้รับความรู้เพื่อการจัดการทุกภาคส่วนและพัฒนาอย่างยั่งยืน...ครับผม

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ศรีสะเกษ7
หมายเลขบันทึก: 412994เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2010 09:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ.....คุณนิติศาสตร์

ทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร ครู นักเรียน และบุคลากรในโรงเรียนหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่อการจัดการศึกษา ถ้านำหลักโพชฌงค์มาใช้ในการจัดการความรู้แล้ว เชื่อว่าผลของการจัดการความรู้มีสภาพที่ยั่งยืนแน่นอน และจะสามารถพัฒนาตนเอง สังคม และประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท