มุมมอง???


"สองคน ยลตามช่อง

   คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม

      คนหนึ่ง ตาแหลมคม

         เห็นดวงดาว อยู่พราวพราย"    

 

ผมฟังคำอธิบายที่มาที่ไปแบบลึกซึ้งจากอาจารย์หมอวิชัย โชควิวัฒน       ยอมรับว่าท่านเป็นนักอ่านตัวจริง  ท่านเล่าเรื่องราวจากหนังสือแบบฟังเพลินไปเลยครับ

ทราบจากท่านว่ากลอนบทนี้เป็นฝีมือคนต่างชาตินามว่า  ภราดา ฟ. ฮีแรห์ แห่งอัสสัมชัญ  แต่ท่านเข้าใจภาษาไทยที่แตกฉานมาก  ดูจากการใช้คำ  และการเปรียบเปรยที่กลายมาเป็นสำนวนอุปมาติดปากกันจนถึงวันนี้  

ผมชอบสำนวนอุปมานี้   โดยเฉพาะเอาไว้เตือนตัวเองว่า "ระวังให้ดีนะ  เวลาไปดู ไปเห็น ไปรู้อะไร  อย่าหยิบแต่ข้อเสียมาพินิจพิจารณาให้มากจนเกินไป  ลองดูดีๆ อีกทีซิว่ามันน่าจะมีดีอะไรบ้าง?"

ฟังดูคล้ายงานเขียนของท่านอาจารย์พุทธทาสบทหนึ่งที่กล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกัน

ผมกลับรู้สึกว่ามันมีหลักคำสอนที่อยู่ในนั้น  คล้ายๆ คำอุปมาที่สั้นกว่านั้นอีก  เช่น  ไก่ได้พลอย  จากนิทานอีสป  หรือ ลิงได้แก้ว ที่เขียนไว้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน   มันเหมือนมีความพยายามอยู่ในคำสอนเชิงอุปมาเหล่านั้น  เตือนสติเราในแง่  มุมมอง  การให้ความหมาย ให้คุณค่าอะไรสักสิ่งอย่าง

ผมไม่รู้จะเรียกมันแทนด้วยคำว่าอะไรดี  ตอนนี้เลยขอใช้คำว่า "มุมมอง" ไปก่อนนะครับ

สิ่งนี้สำหรับผมตอนนี้คิดว่าเป็น  "เรื่องพื้นฐานที่สำคัญมากๆ" สำหรับการเรียนรู้ และการศึกษา   หากถามผมว่าทำไมจึงคิดเช่นนั้น?

ผมตอบได้เพียงว่า  "บรรดาปราชญ์ของแผ่นดิน  ทั้งไทย ทั้งเทศ  เอกลักษณ์อย่างหนึ่งที่เหมือนกันก็คือ  คนเหล่านั้น  เขาสามารถให้ความหมาย หรืออธิบายคุณค่าของบางสิ่งอย่างที่เราๆ ท่านๆ มองเป็นเรื่องธรรมดาๆ ไม่น่าจะมีอะไร  กลับกลายว่ามันต้องมีอะไรดีที่คนทั่วไปมักมองข้าม"  ดังนั้นเรื่องมุมมองเช่นนี้ น่าจะเป็นองค์ประกอบหนึ่ง (เพราะน่าจะมีองค์ประกอบอื่นอีก) ที่ช่วยทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ปัญญา"

ลองดูจาก ผลงานนวัตกรรมที่เพิ่งเกิดขึ้นมาก็ได้ หลายอย่างมันใกล้ตัวเรามาก จนแทบไม่อยากเชื่อเลยว่า  "มันมีคุณค่าขนาดนั้นเลยหรือ?"  ทำไม่เรามองไม่เห็น  ทำไมเขาจึงมองเห็นมัน  ทั้งๆ เรื่องที่เรามองเป็นเรื่องเีดียวกัน 

 

หมายเลขบันทึก: 412692เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2010 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 10:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เมื่อแมงมุมมันมอง
  • ก็ย่อมมองได้หลายมุม
  • มีขาขยับขยุ้ม
  • กำกับเหยื่อให้ยินยอม
  • มองซ้ายและมองขวา
  • มองข้างหน้าหาแปลกปลอม
  • ข้างหลังตั้งตัวพร้อม
  • แมงมุมย่อมพร้อมทุกมุม
  • ..เป็นงานเขียนที่ให้แง่คิดดีมากครับ
  • ...ขอบคุณครับ
  • -ปณิธิ ภูศรีเทศ-
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท