ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

ขอเชิญร่วมส่งบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวันวิสาขบูชาโลก ปี ๕๔


ขอเชิญร่วมส่งบทความทางวิชาการ  เรื่อง 
“พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ”
 Buddhist Virtues in Socio-Economic Development
เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ประจำปี ๒๕๕๔
ระหว่างวันที่  ๑๒-๑๔  พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ

@@@ @@@

 

     นับตั้งแต่องค์การสหประชาชาติมีมติรับรองของคณะมนตรีความมั่นคงในวันที่ ๑๕  ธันวาคม พ.ศ ๒๕๔๒ พุทธศาสนิกชนทั่วโลกได้ร่วมกันจัดงานเพื่อเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา อันเป็นการระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญ ๓ อย่าง คือเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

     จากการประชุมของคณะกรรมการจัดงานวิสาขบูชาโลก ระหว่างวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึง วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓  ได้มีฉันทามติร่วมกันในการจัดงานวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ ๘ ขึ้นในระหว่างวันที่ ๑๒-๑๔  พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๔ การจัดงานครั้งนี้ได้มีการสัมมนาทางทางวิชาการนานาชาติเรื่อง “พุทธธรรมกับการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ”(Buddhist Virtues in Socio-Economic Development) โดยมีเป้าหมายให้มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๕,๐๐๐ รูป/คน จาก ๘๔ ประเทศ เพื่อเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่จะมีพระชนมายุครบ ๗ รอบ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔  โดยมีการจัดงาน ณ  มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และศูนย์ประชุมสหประชาชาติ  ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร   

     จากสภาวการณ์ดังกล่าว  คณะกรรมการจัดงานวิสาขบูชานานาชาติ จึงเห็นความสำคัญที่จะสัมมนาระดับนานาชาติ และพิจารณารับบทความทางวิชาการ ภายใต้หัวข้อหลัก (Main Theme)  เรื่อง“พุทธธรรมการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ” (Buddhist Virtues in Socio-Economic Development)  ซึ่งจะสนับสนุนการศึกษาวิจัยรอบด้าน และยินดีรับข้อเสนอจากนักวิชาการทั่วไปที่เกี่ยวกับหัวข้อย่อย (Sub-Theme) ดังต่อไปนี้:

             ๑. ภาวะผู้นำเชิงพุทธกับการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ  

                  (Buddhist Leadership and Socio-Economic Development)

            ๒. พุทธธรรมกับการสร้างสังคมปรองดอง

                 (Building a Harmonious Society)

            ๓. พุทธธรรมกับการรักษา และการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม 

                (Environmental Preservation and Restoration)

            ๔. พุทธิปัญญาเพื่อสังคมแห่งการตื่นรู้

                 (Wisdom for Awakening Society)

     คณะกรรมการซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยมหาวิทยาลัยจะเป็นผู้คัดเลือกบทความเพื่อตีพิมพ์ในหนังสือวิชาการระดับนานาชาติ สำหรับบทความทางวิชาการระดับนานาชาติที่มีสิทธิ์ที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์นั้นควรมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องระหว่างพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่อันจะนำไปสู่การตีความและประยุกต์ใช้สอดรับสังคมโลกในสภาวการณ์ปัจจุบัน


คำแนะนำเกี่ยวกับเปิด และปิดรับบทความทางวิชาการระดับนานาชาติ

๕ ก.พ.๕๓             วันหมดเขตรับหัวข้อ บทคัดย่อ และประวัติย่อของผู้เขียนบทความ

๑๕  ก.พ. ๕๓          แจ้งเตือนเกี่ยวกับการยืนยัน การปฏิเสธรับข้อเสนอ

๑๕  มี.ค. ๕๓          วันปิดรับบทความฉบับสมบูรณ์

๑  เมษายน ๒๕๕๓   แจ้งให้ผู้เขียนบทความได้ทราบผลการพิจารณา


     ผู้เขียนควรเขียนบทความทางวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ แต่ในกรณีที่ผู้เขียนไม่สามารถเขียนเป็นภาษาอังกฤษ  ให้เขียนบทความเป็นภาษาไทย หากผลงานใดได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการ  คณะทำงานจะดำเนินการแปลเป็นภาษาอังกฤษเพื่อนำลงตีพิมพ์ในวารสารของการจัดการวันวิสาขบูชาโลก


คำแนะนำเกี่ยวกับการรับบทความทางวิชาการ

     บทความทั้งหมดจะถูกคัดเลือกโดยขึ้นอยู่กับคุณภาพ และความสอดคล้องกับหัวข้อหลักและหัวข้อย่อยของการประชุมงานวิสาขบูชาโลก ปี ๒๕๕๓  บทความทุกหัวข้อจะต้องผ่านการตรวจ ปรับปรุง หรือว่าอาจถูกปฏิเสธโดยขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ บทความที่ถูกปฏิเสธอาจมีการสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติม

     ความยาวของบทความภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษร “Angsana New” ไม่ควรเกิน ๑๕ หน้ากระดาษ A ๔ ขนาดของตัวอักษรไม่เกิน ๑๖ พ้อยท์ สำหรับภาษาอังกฤษต้องใช้ “Times EXT Roman” (คำศัพท์ที่เป็นบาลี และสันสกฤต ควรมีสัญลักษณ์บอก) ขนาดตัวหนังสือไม่เกิน ๑๒ พ้อยท์ โดยในบทความต้องมีการอ้างอิงถึงแหล่งที่มาอย่างถูกต้อง ในขณะเดียวกัน ผู้เขียนควรแนบบทคัดย่อความยาวประมาณ ๕๐๐ คำมาด้วยเพื่อนำลงเผยแพร่ในเวปไซต์


รางวัลสำหรับผลงานที่ได้รับการพิจารณา

       ๑. นำเสนอผลงานในการสัมมนาทางวิชาการ

       ๒. การตีพิมพ์ในวารสารสมาคมวิสาขบูชาโลก

       ๓. ใบประกาศเกียรติคุณ

     ผู้เขียนที่เป็นอาจารย์ของสถาบันการศึกษา ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการในระดับนานาชาติ สามารถนำผลงานดังกล่าวไปประกอบตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาทั้ง สกอ. และสมศ.

รายละเอียดเพิ่มเติม
:  

นักวิชาการ ๑ ท่านสามารถเขียนบทความทางวิชาการได้หลายบทความ บทความทางวิชาการจะมีการตีพิมพ์ในงานประชุมวันวิสาขบูชาโลก ปี ๒๕๕๓ กรุณาส่งบทความทั้งหมดและบทคัดย่อในรูปแบบของ Word ไปที่ E-mail: [email protected]  เท่านั้น ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.icundv.com/vesak2010


ติดต่อสอบถาม

     สำนักงานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา( ๐๓๕-๒๔๘-๐๙๘ แฟกซ์ ๐๓๕-๒๔๘-๐๙๙    ( ๐๘๑-๔๘๐-๓๓๗๔ E-mail: [email protected]

ภาพการรับมอบรางวัลและวุฒิบัตร พร้อมทั้งการนำเสนอผลงานของรุ่นที่ ๑       

พระเดชพระคุณ พระธรรมโกศาจารย์,ศ.ดร.อธิการบดี
มอบวุฒิบัตรและรางวัลให้แก่ผู้เขียนการเขียนบทความดีเด่นในวันวิสาขบูชาโลก ๕๓

ผู้เขียนบทความที่ได้คุณภาพจะได้รับการพิจารณาพิจารณาให้นำเสนอและตีพิมพ์ในวันวิสาขโลก ปี ๕๓

บรรยายกาศการสัมมนานำของนักวิชาการ และนำเสนอบทความของนักเขียนบทความรุ่นใหม่ในปี ๕๓

นักเขียนรุ่นใหม่นำเสนอบทความทางวิชาการที่ได้มาตรฐานโดยการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ

ผู้บริหารของมหาจุฬาฯ เช่น พระธรรมโมลี,ดร. รองอธิการบดีวิทยาเขตสุรินทร์ พระศรีสิทธิมุนี,ดร. คณบดีบัณฑิต และผู้บริหารของมหาวิทยาลัยนั่งฟังนั่งวิชาการรุ่นใหม่เสนอบทความในปี ๕๓

หมายเลขบันทึก: 412669เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2010 19:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท