การประเมินค่า (Evaluation) เป็นความรู้ระดับสูงจริงหรือ


การประเมินค่า มีอคติ และมีธง

รู้จำ ใจ ใช้ วิ สัง ประ
เป็นคำที่นักการศึกษา
ใช้ท่องกันอยู่เสมอ
เพื่อให้เข้าใจถึงสภาพลำดับขั้น
ของความรู้ ของ คุณ บลูม โดยมี
การประเมินค่า (Evaluation) เป็นตัวสุดท้าย
ซึ่งเป็นการกระทำต่อข้อมูลโดยการตัดสินใจด้วยเกณฑ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเกณฑ์ภายนอก
หรือเกณฑ์ภายใน เขาใช้คำว่า judgement เลยทีเดียว โดยบลูมนำเสนอว่า เป็นสติปัญญา เป็นการเรียนรู้ และเป็นการแก้ปัญหา

การลำดับของนักวิชาการฝรั่งท่านนี้เรียงลำดับด้วยการประเมินค่า
และน้ำหนักอยู่ที่การกระทำต่อข้อมูล ซึ่งในยุคแรก ๆ ที่นำเสนอ
ทฤษฎีความรู้นี้ สังคมอเมริกันกำลังแบ่งแยกกันด้วยสีผิว มีการวัด
ไอคิวที่เบี่ยงเบนว่า คนผิวดำีมีไอคิวต่ำ คนผิวสาวมีไอคิวสูง การ
สร้างที่ัวัดและประเมิน สมัยนั้นมีอคติอย่างสูง โดยเฉพาะคิดว่า
การวัด และ ประเมิน นั้นมีความเป็นกลาง ปราศจากอคติ และได้
ตัดสินคนผิวดำว่าโง่ ซึ่งก็มีหลักฐานมากมายในยุคนั้น ได้แก่การวัด
ไอคิวที่ออกข้อสอบวัดโดยอยู่ในบริบทวัฒนธรรมของคนผิวขาว
แต่ต่อมาเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป คนผิวสีนั้นก็ได้พิสูจน์แล้วว่ามีสติปัญญา
ไม่ด้อยไปกว่ากันเลย ต่อมา การ์ดเนอร์ ได้นำเสนอว่าคนนั้นมีสติปัญญา
ไปในทิศทางที่แตกต่างกัน เพราะสมองและความถนัดของคนนั้นมีความ
แตกต่างกัน เขาำนำเสนอพาหุัปัญญา ทำให้กระจ่างแจ้งขึ้นว่า การวัดและ
การประเมินผล ที่มีมาตรฐานเดียวกันใช้ไม่ได้ เนื่องจากผู้คนนั้นแตกต่างกัน
จะใช้แค่สติปัญญาเชิงตรรกกะวัดกันในสมัยเริ่มแรกไม่ได้ ในยุคนั้นวิทยาการ
ทางด้านสมองและระบบประสาทยังไม่เจริญพอที่จะทราบถึงการทำงานของ
สมองอย่างแท้จริง จึงวัดได้แค่พฤติกรรมที่เป็นสิ่งที่แสดงออกมาเท่านั้น
เมื่อเรามาดูชีวิตประจำวันของเราก็มีพฤติกรรมการประเมินค่าที่แทบจะเป็น
อัตโนมัติเลยทีเดียว เช่นโยนถ่านไฟก้อนแดง ๆ ลงไปในมือคน เพียงแค่รู้
เป็นก้อนไฟก็ตัดสินใจปัดให้ไกลจากตัว โดยไม่ต้องวิเคราะห์สังเคราะห์ให้
เสียเวลา การที่ขับรถแล้วมีก้อนหินหล่นใส่ตรงหน้า สมองก็สั่งการให้เบรค
รถทันทีโดยอัตโนมัต โพลต่าง ๆ ที่สร้างความน่าเชื่อถือจากกระบวนการนี้
ล้วนแต่ใช้คำถามนำ มีธงนำหน้าแล้วหาข้อมูลตามทั้งนั้น เนื่องจากมนุษย์มี
อคติ 4 เป็นทุนอยู่แล้ว ได้แก่ลำเีอียงเพราะรัก ลำเอียงเพราะชัง ลำเอียงเพราะกลัว
ตราบใดที่ยังไม่เป็นอรหันต์ก็เชื่อว่าการประเมินค่านั้นประเมินตามสัญชาตญาณ
หรือแม้แต่พระอรหันต์อาจผิดพลาดเพราะประเมินค่าจากข้อมูลที่ผู้อื่นชงให้ก็ได้
บริบทต่าง ๆ มักซับซ้อน เลื่อนไหล เอาเป็นว่าพวกวิทยาศาสตร์ในยุคนั้นเป็นการ
ทดลองเช่นแปลงเกษตร แต่โลกจริง ๆ ก็คือระบบนิเวศวิทยา ที่เืลื่อนไหลไปตาม
เหตุตามปัจจัย ไม่หยุดนิ่ง  

หมายเลขบันทึก: 411759เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2010 06:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท