แนวทางการปฏิรูปที่ดินภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับ 11


โลกกำลังห่วงเรื่องอาหาร เนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการด้านอาหารสูงมากขึ้น ผลผลิตลดน้อยลง เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ทิศทางของโลกเน้นความมั่นคงและปลอดภัยทางด้านอาหาร อีกปัจจัยเกิดจากภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ ส่งผลต่อการเพาะปลูก เกิดความไม่มั่นคงต่อผลผลิต การเกษตรได้รับผลกระทบ จำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนหรือหยืดหยุ่นได้ตามการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยเรื่องการค้าเสรี เกิดการแข่งขัน การแย่งชิง

         ระบบของโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก การมีองค์ความรู้ช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงาน สร้างความเข้มแข็ง เครือข่ายของชุมชน การอบรมในครั้งนี้เพื่อการพัฒนาการเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของ กระแสโลก

แนวทางการปฏิรูปที่ดินภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับ 11

           การมีองค์ความรู้ในแบบสหวิทยาการ มีเครือข่ายองค์ความรู้ระหว่างหน่วยงาน องค์กร สนธิเรื่องของกำลัง ความรู้ความสามารถ

          ในปี 54 งบประมาณทิศทางงบประมาณเปลี่ยน กระจายงบประมาณสู่ท้องถิ่น จะอยู่ในจังหวัด การจัดทำแผนฯ จึงต้องประสานใช้รูปแบบของพื้นที่ในการพิจารณางบประมาณ  นิคมเศรษฐกิจพอเพียง การจัดทำแผนเน้นใน 2 ด้านคือ

         1.กระบวนการเรียนรู้

         2.เรื่องแหล่งน้ำ

          เนื่องจาก สปก. มีศักยภาพพร้อมทุกด้าน ส่วนครุภัณฑ์จะลงไปสู่จังหวัด ท้องถิ่น หากจำเป็นหรือมีความสำคัญ ก็คุยกับชุมชนว่าต้องการหรือไม่ จึงตั้งงบขอไปกับจังหวัด  ต้องมีการเตรียมข้อมูลและเตรียมแผนไว้ก่อนเดือนหน้าเพื่อขออนุมัติงบ

          แผน 11 เริ่มใช้ในปี 2555 การปฏิรูปที่ดินต้องตอบสนองทิศทางแผนพัฒนาฯ ของชาติ  ก้าวสู่ทิศทางภาคการเกษตรและอาหารมากขึ้น  เป็นการพัฒนาในด้านเกษตร ใช้กรอบปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการวิเคราะห์ในทุกๆ ด้าน

ทิศทางการเกษตรของสถานการณ์โลก 

          โลกกำลังห่วงเรื่องอาหาร เนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มสูงขึ้น ความต้องการด้านอาหารสูงมากขึ้น ผลผลิตลดน้อยลง เกิดภาวะขาดแคลนอาหาร ทิศทางของโลกเน้นความมั่นคงและปลอดภัยทางด้านอาหาร อีกปัจจัยเกิดจากภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ ส่งผลต่อการเพาะปลูก เกิดความไม่มั่นคงต่อผลผลิต การเกษตรได้รับผลกระทบ จำเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ที่สามารถปรับเปลี่ยนหรือหยืดหยุ่นได้ตามการเปลี่ยนแปลง     ปัจจัยเรื่องการค้าเสรี เกิดการแข่งขัน การแย่งชิง  สำหรับประเทศไทยมีปัจจัยสำคัญคือกรรมสิทธิ์การถือครองที่ดินของเกษตรกร เกษตรกรต้องมีองค์ความรู้ในการจัดการที่ดิน  เกิดมูลค่าและประโยชน์ต่อเกษตรกรและทายาทเกษตร หรือเกษตรกรรุ่นใหม่ ป้องกันการซื้อขายกรรมสิทธิ์ที่ลดพื้นที่เกษตรกรรมลง

กรอบแนวคิดแผนพัฒนาฯ ฉบับ 11

          ความปลอดภัยและมั่นคงด้านอาหาร

          ความสมดุลด้านอาหารและพลังงาน

          ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของโลก

ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ สปก. เช่น

          การสร้างความเป็นธรรมในสังคม

          การพัฒนาคนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน

          การสร้างความมั่นคงของอาหารและพลังงาน

                   พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรให้ยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตรและสร้างมูลค่า สร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้แก่เกษตรกร สร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานในระดับครัวเรือน สร้างความมั่นคงด้านพลังงานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศเข้มแข็งภาคเกษตร ปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐ เสริมสร้างความสมดุลด้านพลังงาน

          การสร้างสร้างภาคเกษตรให้เข้มแข็ง

ความเชื่อมโยงของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่  11 กับการดำเนินงานของ สปก.

พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน

          - รักษาคุ้มครองพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตร สนับสนุนเกษตรกรรายย่อยมีที่ดินเป็นของตนเองหรือสิทธิการทำกิน

          - พัฒนาและปรับปรุงกฎหมายให้สามารถซื้อที่เอกชนมาดำเนินการปฏิรูปได้

          - เร่งรัดศึกษาระบบธนาคารที่ดินเพื่อรวบรวมและนำที่ดินยังประโยชน์มาจัดสรรให้เกษตรกรรายย่อยมากขึ้น  สนับสนุนดำเนินการให้ได้สิทธิใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐแก่เกษตรกรและเป็นของตนเอง

    ***สรุปจากการบรรยายของ รองเลขาธิการ ส.ป.ก. ดร.วีระชัย นาควิบูลย์ 

ในการเปิดอบรมโครงการเพิ่มศักยภาพบุคลากรฯ 29 พ.ย.53

 

หมายเลขบันทึก: 411664เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2010 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท