อุปกรณ์ใส่ฟิล์มเอกซเรย์สำหรับการตรวจหลอดเลือด


เครื่องตรวจระบบหลอดเลือดทางรังสีวิทยาด้วยการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือด มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพที่เรียกว่า PUCK และ AOT

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอภาพของอุปกรณ์ที่ทางหน่วยรังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เก็บรักษาไว้ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน 

 

อุปกรณ์ชิ้นนี้ นักรังสีเทคนิคและผู้เกี่ยวข้องในงานทางรังสีวิทยาหลายคน ที่เข้าทำงานหลังปี พ.ศ.2535 อาจจะยังไม่เคยเห็นมาก่อน เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้ในปัจจุบันโดยส่วนใหญ่เลิกใช้งานแล้ว

 

 

 

 

การตรวจระบบหลอดเลือด (Angiography) จะใช้การฉายรังสีจากเครื่องเอกซเรย์ชนิดฟูลออร์โรสโคฟี เพื่อมองหาตำแหน่ง และกำหนดทิศทางในการสอดใส่สายสวนเข้าไปในหลอดเลือดที่ต้องการตรวจพร้อมกับการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในอวัยวะนั้นๆ ร่วมกับการถ่ายภาพรังสีที่ใช้อัตราการถ่ายภาพที่รวดเร็ว มีการเปลี่ยนตำแหน่งของฟิล์มและการปล่อยรังสีที่สัมพันธ์กัน เพื่อให้สามารถถ่ายภาพของสารทึบรังสีที่ผ่านจุดต่างๆของหลอดเลือดได้อย่างทันเวลาที่เหมาะสม

 

 

ในสมัยแรกๆจะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Rapid serial film changer หรือ ใช้ฟิล์มขนาดเล็กชนิดเป็นม้วน (Roll film changer or Cine film) หรือ PUCK จากนั้นจะนำฟิล์มที่ได้ไปผ่านขบวนการล้างฟิล์ม และแสดงภาพถ่ายที่แสดงส่วนของหลอดเลือดและสารทึบรังสี

  

 

อุปกรณ์นี้สามารถใส่ฟิล์มเอกซเรย์ เพื่อนำไปใช้ในการถ่ายภาพรังสีแบบต่อเนื่อง หรือเป็นชุดได้ครั้งละหลายแผ่น (ระหว่าง 1-20 แผ่น)

 

อุปกรณ์นี้ แยกออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

1. กล่องที่ใส่ฟิล์ม (Magazine) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับการใส่ฟิล์มที่ยังไม่ผ่านการถ่ายภาพ (ฟิล์มใหม่)

 

 

ตัวอย่างในภาพ ขนาดฟิล์มเท่ากับ 14 x 14 นิ้ว

 

เปิดฝา เพื่อนำอุปกณ์ที่ใส่ฟิล์ม ออกมาใส่ฟิล์ม โดยขบวนการนี้ต้องทำในห้องมืด

 

ฟิล์มเอกซเรย์ต้องจะใส่ลงในที่ละแผ่น เข้าไปยังช่องที่กำหนด (ในตัวอย่างใส่ฟิล์มเพียงบางส่วนเท่านั้น ไม่ได้ใส่ครบตามจำนวน)

แต่หากใส่ฟิล์มซ้อนกัน 2 แผ่น ใน 1 ช่อง จะเพิ่มโอกาสที่จะทำให้ฟิล์มติดในเครื่องมือรับภาพ ทำให้ฟิล์มเสีย ทำให้การตรวจล่าช้า 

 

จากนั้นนำฟิล์มใส่เข้าใน Magazine

 

2. กล่องที่รับฟิล์ม (Receiver)

 

 

 

3. PUCK เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างส่วนที่ 1 กับ ส่วนที่ 2 และเป็นบริเวณที่พักของฟิล์ม เพื่อรอรับการถ่ายภาพ หรือพื้นที่รับรังสี (Expose area)

  

 

ภาพ : การทำงานของ PUCK ระหว่างการตรวจระบบหลอดเลือด จะมีการลูกกลิ้งดึงฟิล์มจากกล่องใส่ฟิล์มมายังบริเวณรับรังสี เมื่อถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์แล้ว ฟิล์มจะถูกส่งไปเก็บยังกล่องรับฟิล์ม ส่วนฟิล์มใหม่ก็จะถูกดึงขึ้นมาแทนที่ในตำแหน่งรับรังสี

 

ส่วนอุปกรณ์ชุดนี้ เรียกว่า AOT ก็เป็นอุปกรณ์ที่ใส่ฟิล์มเป็นชุด เช่นเดียวกับ PUCK เพียงแต่มีรูปร่างใหญ่กว่า แบบที่เห็นเป็นแบบตั้งพื้น สำหรับใช้ถ่ายภาพในด้านข้าง (Lateral view)

 

 

ส่วนประกอบก็เช่นเดียวกับ PUCK คือ มีกล่องใส่ฟิล์ม กล่องรับฟิล์ม และ กล่องตัวกลางที่รับรังสี

 

 

ภาพแสดง ส่วนประกอบของ AOT

 

 

กล่องใส่ฟิล์มของ AOT

 

 

เมื่อเปิดฝาออก จะมีลวดตัวยู วางเรียงกัน เราก็ใส่ฟิล์มลงไปในระหว่างช่องดังกล่าว

 

 

ผมให้นักศึกษาทดลองใส่ฟิล์ม

 

การตรวจระบบหลอดเลือดด้วยการใช้ฟิล์มแบบนี้ บางครั้งจะทำให้มองภาพเพื่อวินิจฉัยโรคของหลอดเลือดไม่ชัดเจน เนื่องจากมีกระดูกมาปิดบังบางส่วนของหลอดเลือด ดังนั้นจึงใช้เทคนิคการขบวนการลบภาพบางส่วนของกระดูกออกไป เรียกว่า Subtraction image ซึ่งเทคนิคนี้ต้องทำมือ โดยผู้ชำนาญ ด้วยการนำฟิล์มที่มีภาพหลอดเลือดที่สนใจศึกษามาซ้อนทับกับฟิล์มชนิดพิเศษ (Subtraction film) จากนั้นก็นำไปผ่านไฟ แล้วนำฟิล์มไปผ่านขบวนการล้างฟิล์ม (ตามตัวอย่างขั้นตอนข้างล่าง)

  

 

ในการใช้งานด้วยอุปกรณ์ใส่ฟิล์มที่นำเสนอมานี้ พบว่า...   

1. มีขั้นตอนในการเตรียมความพร้อมในการทำงานที่ค่อนข้างจะยุ่งยาก โดยเฉพาะขั้นตอนในการใส่ฟิล์ม ต้องใช้เวลานาน ต้องใช้ความชำนาณ

 

 

2. บุคลากรที่ปฎิบัติงานต้องมีทักษะในการทำงานเป็นอย่างดี โดยเฉพาะทักษะการใส่ฟิล์มและการใช้อุปกรณ์ รวมถึงต้องมีพละกำลังดี เพื่อหยิบ จับ และยก อุปกรณ์นี้ เนื่องจากอุปกรณ์มีน้ำหนักมากประมาณ 3-5 กิโลกรัม (ผมได้ให้นักศึกษาบางคนที่มีรูปร่างเล็ก ทดลองยกอุปกรณ์เหล่านี้ ว่าสามารถทำได้หรือไม่ พบว่า... บางคนไม่สามารถอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้น เพื่อใช้งานได้)

  

3. ขณะทำการตรวจอาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้ เช่น ลูกกลิ้งจับฟิล์มไม่ดี ทำให้ฟิล์มหลุดระหว่างทาง หรือ เคลื่อนที่ไม่ตรงตำแหน่ง อาจทำให้เกิดฟิล์มซ้อนทับกัน ทำให้ฟิล์มติดในตัวอุปกรณ์ของกล่องรับและส่งฟิล์ม จึงต้องเปิดฝากล่องออกมา ทำให้ฟิล์มที่อยู่ภายในจะเสียทั้งหมด ต้องทำการตรวจใหม่ ทำให้ใช้เวลาในการตรวจนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายในการตรวจเพิ่มขึ้น   

 

 

จากปัญหาเหล่านี้ ทำให้มีการพัฒนาอุปกรณ์ในการตรวจระบบหลอดเลือดจากระบบการใช้ฟิล์มถ่ายภาพมาเป็นระบบดิจิตอล ที่เรียกว่า Digital Subtraction Angiography ที่ใช้การบันทึกภาพลงคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

 

 

 

แวะอ่านเพิ่มเติม

การเยี่ยมนักศึกษาฝึกงานระบบหลอดเลือด

http://gotoknow.org/blog/tomtom/309486

 

 

การทำงานสหสาขาวิชาชีพระบบหลอดเลือด

http://gotoknow.org/blog/tomtom/225224

 

 

 

 

สำหรับอุปกรณ์เหล่านี้ หากท่านใดสนใจ ขอเชิญชวนแวะมาเยี่ยมชมได้ที่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยายาลัยขอนแก่น นะครับ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 410254เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2010 12:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เรียน อ.ต้อม..ขอบคุณมากค่ะ ได้เติมอาหารสมองแต่เช้าเลย..ถ้าไม่ได้อ่านอีกก็คงลืมไปแล้วค่ะเพราะไม่ได้ใช้งานเลย..ขอบพระคุณอีกครั้งค่ะ..

ขอบคุณที่ช่วยเตือนความจำ

เป็นอดีต ที่น่าจดจำ เพราะพัฒนามาสู่ความรุ่งเรืองในปัจจุบัน เหมือนชีวิตหนูเลยค่ะ อาจารย์

ขอบคุณท่านอาจารย์มากกกก นะคราบบ สำหรับความรู้หลายๆอย่าง ผมจะนำมันไปปรับใช้นหน่วยงาน และในชีวิตตัวเอง

สวัสดีค่ะ

  • คุณยายมาส่งกำลังใจให้นะคะ
  • ขอให้มีความสุขทุกๆวันค่ะ

เรียน ทุกท่าน

เครื่องมือเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้ทราบพื้นฐาน ความเป็นมา การนำจุดอ่อน จุดด้อยของอดีตมาเรียนรู้ มาศึกษา มาพัฒนา ทำให้ไปสู่อนาคตที่แจ่มใส เรียนรู้อดีต เพื่อสร้างอนาคต

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยม ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท