ตัวอย่าง K เพื่อพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร (5) Best Practice จังหวัดชลบุรี


เรื่อง ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงหนองเหียง หนึ่งความภูมิใจของชาวชลบุรี
โดย สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี

==============

     ศูนย์การเรียนรู้การเกษตรพอเพียงตำบลหนองเหียง อำเภอพนัสนิคม เป็นหนึ่งในศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียงของจังหวัดชลบุรี   จุดเด่นที่พบ ได้แก่  เป็นแบบอย่างที่ดีในการบูรณาการอย่างมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดชลบุรีอย่างต่อเนื่อง  

     วิทยากร มีความรู้ด้านการเกษตรอย่างเป็นระบบ มีการจัดสรร/บริหารจัดการงบประมาณดี  มีการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ทำการประมง ขุดสร้างบ่อน้ำ ไว้ใช้ร่วมกัน มีการจัดตั้งกลุ่มโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่ตนมีในการผลิตร่วมกับเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดีเป็นอาสาสมัครเกษตรหลายสาขา มีความเสียสละ อดทน และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาชุมชนหมู่บ้านของตน  

     กิจกรรมการเกษตรภายในศูนย์ มีการกำหนดเลือกองค์ความรู้ประจำศูนย์ตามนโยบายกรม 3 โครงการ การดำเนินงานเริ่มจากรับสมัครสมาชิกและรวมตัวจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียง จากนั้นประชุมระดมความคิดเห็น สอบถามความต้องการของสมาชิกในการแก้ไขปัญหา เสนอแผนของบประมาณจากหน่วยงานราชการ/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อได้รับงบประมาณ ก็จะมีการกำหนดข้อตกลงภายในกลุ่ม และการทำกิจกรรมร่วมกัน 

     ความยั่งยืนของศูนย์ มีการประชุมกลุ่มแสดงความคิดเห็น รับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นประจำทุกเดือน มีกฎระเบียบกลุ่มให้สมาชิกร่วมมือปฏิบัติตาม  เกิดการบูรณาการหนวยงานภายในศูนย์  พัฒนาชุมชนร่วมกัน 

     ผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียง ได้รับคัดเลือกยกย่องให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรพอเพียงต้นแบบ โดยการจัดกระบวนการเรียนรู้ ตามหลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การประยุกต์และปรับใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทางการเกษตร และศึกษาดูงานภายในศูนย์เรียนรู้ฯ และจัดทำแปลงตัวอย่างให้เกษตรกรได้เรียนรู้แนวทางการจัดการฟาร์มตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้พัฒนาเกษตรกรให้สามารถประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในฟาร์มของตนเอง ตามศักยภาพของครัวเรือน ด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และการศึกษาดูงาน ศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียงตำบลหนองเหียง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ได้รับการเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี เอกสารเผยแพร่แผ่นพับ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น  มีสื่อมวลชน/สำนักข่าว มาถ่ายทำเผยแพร่ผ่านรายการเกษตรทางโทรทัศน์ มีนักเรียน นักศึกษาจากสถานศึกษาต่าง ๆ มากมายมาติดต่อดูงาน เป็นสถานที่ศึกษางานของอำเภอ  เฉลี่ยเดือนละไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง

มัณฑนา  คันธราษฎร์ : เรียบเรียง

หมายเลขบันทึก: 410047เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2010 12:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 07:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท