การผลิตพืชผักเชิงระบบ เริ่มต้นที่ผักกางมุ้ง


การปลูกผักในมุ้งตาข่ายหรือผักกางมุ้ง หมายถึง การปลูกผักโดยการใช้วิถีการทางธรรมชาติร่วมกับวิถีการอื่น ๆ ที่ปลอดภัย

          การทำโรงเรือนกางมุ้งต้องมีทีมช่างที่มีประสบการณ์ ต้องมีโต๊ะแบบในการดัดเหล็ก เออถ้าสนใจที่จะทำจริงๆเอาแบบไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขก็ได้ตามแต่ขนาดที่เราต้องการ ส่วนเรื่องมุ้งทั้งสองรูปทรงเหมือนกันในความหมายของการใช้ประโยชน์ ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ส่วนที่แตกต่างกันคือ การสร้างโรงเรือนให้ตรงตามความต้องการ สภาพแวดล้อม ขนาดและทุนในการก่อสร้าง ระวัง..ถ้าเราทำโรงเรือนเตี้ยเกินไป อุณหภูมิในมุ้งก็จะสูงขึ้นด้วย เพราะหลังคามุ้งเป็นพลาสติกและปูสแลนทับเพื่อพลางแสง

     การปลูกผักในมุ้งตาข่ายหรือผักกางมุ้ง หมายถึง การปลูกผักโดยการใช้วิถีการทางธรรมชาติร่วมกับวิถีการอื่น ๆ ที่ปลอดภัย เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีและยาปราบศัตรูพืช การปลูกผักวิธีนี้เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกผักที่มีการปลูกหลายรุ่น และปลูกต่อเนื่องกันตลอดปี   โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกษตรกรมีการใช้ตาข่ายที่ได้มาตรฐาน ก็จะสามารถป้องกันศัตรูพืชชนิดต่างๆ ได้มากกว่าร้อยละ 70 และยังช่วยป้องกันการเล็ดลอดของแมลงในพืชที่ที่มีการระบาดได้มากถึงร้อยละ 80 อีกด้วย ในการปลูกผักกางมุ้ง นอกจากจะมีประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ยังมีประสิทธิภาพในการจัดการแปลงปลูกสูงด้วย คือ สามารถจะประหยัดการใช้น้ำได้มากกว่าร้อย 50 ทั้งนี้เพราะภายในมุ้งตาข่ายจะมีอุณหภูมิและความชื้นสูงกว่าภายนอก และยังช่วยลดแรงปะทะของเม็ดฝนที่จะให้ผักชะงักการเจริญเติบโต จึงทำให้พืชผักเจริญเติบโตเร็วกว่าปกติอีกด้วย ชนิดของผักที่เหมาะกับการปลูกในมุ้ง ควรเป็นผักที่เสี่ยงต่อการเข้าทำลายของแมลง เช่น ผักคะน้า กวางตุ้ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร๊อคโคลี่ ผักกาด เป็นต้น หรือควรเป็นพืชที่มีผู้นิยมบริโภคและตลาดมีความต้องการสูง

หมายเลขบันทึก: 409947เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2010 20:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 14:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ลุงตามมาดู โลง

เอ๊ย ไม่ใช่ โรงเรือน ไว้ปลูกผักกางมุ้ง กิน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท