น้ำย่อยสลายฟางช่วยลดต้นทุนในการทำนา


ลดต้นทุนการผลิต โดยทำการเกษตรแบบอย่างยั่งยืน คืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับธรรมชาติ

                    ลดต้นทุนการทำนาโดยการใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ย่อยสลายฟาง

                        

            นายถวิล   สีวัง   อายุ  45   ปี  อยู่บ้านเลขที่ 2  หมู่ที่ 3 บ้านสามง่าม  ตำบลวังบัวอำเภอคลองขลุง   จังหวัดกำแพงเพชร      ได้รับคัดเลือกเป็นเกษตรกรดีเด่น  สาขาทำนาระดับจังหวัด   ประจำปี  2553   ของจังหวัดกำแพงเพชร   เนื่องจากทำนาได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ยไร่ละ  1  ตัน ต่อไร่  และสามารถลดต้นทุนการทำนาจากปกติไร่ละประมาณ4,000  บาทเหลือไร่ละ  2,700  บาท     นายถวิล  เล่าให้ฟังว่าแต่เดิมทำนาใช้ปุ๋ยเคมีไร่ละประมาณ 50  กิโลกรัมต่อไร่และใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดแมลงอย่างมาก

            ต่อมาได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำนามาเป็นแบบลดต้นทุนการผลิต  โดย ทำการเกษตรแบบยั่งยืน   คืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับธรรมชาติ   โดยปลูกปอเทือง  ในแปลงนาแล้วไถกลบปีเว้นปี   ไม่เผาตอซังแต่ใช้น้ำหมักย่อยสลายฟาง  โดย การขุดหน่อกล้วยทั้งเหง้าที่มีความสูงไม่เกิน  1  เมตรเพราะเป็นช่วงหน่อกล้วยมีจุลินทรีย์กลุ่ม  แอ็คติโนมัยซิสมากซึ่งมีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสูง  และควรคัดเลือกหน่อที่สมบูรณ์ไม่มีโรคแมลงในช่วงเช้ามืด  มาสับให้เล็กโดยสับปนกันทั้งใบ  เหงา   ราก  อัตรา  30-40  กก.ผสมกับน้ำตาล  20    กก.  และหัวเชื้อซุปเปอรพด. 2    4  ซอง  โดยใช้น้ำผสมกับหัวเชื้อซุปเปอร์พด2   ก่อนคน ประมาณ 5  นาที ในการคนให้คนไปทางเดียวกัน   แล้วนำส่วนผสมเทลงในถัง   200  ลิตรแล้วเติมน้ำคนทุกวันเช้า-เย็น เพื่อเพิ่มอากาศให้กับจุลินทรีย์     โดยถังดังกล่าวต้องเก็บไว้ในร่ม    จนครบ 7  วันนำมากรองเอากากต้นกล้วยออก   นำไปฉีดพ่นในอัตราส่วนน้ำหมัก  5 ลิตรต่อน้ำ 20  ลิตรฉีดพ่นในพื้นที่นา  1   ไร่    ก่อนฉีดพ่นน้ำหมักเอาน้ำเข้านา 1  วัน  แล้วทำตีฟางแล้วทำการฉีดพ่น หลังจากทำการฉีดพ่นอย่าให้น้ำไหลออกจากนาเพราะน้ำย่อยสลายฟางจะไหลออก  หลังจากนั้น ประมาณ  10 -15 วันฟางจะย่อยสลาย  แล้วทำการไถปลูกข้าวรุ่นใหม่ได้เลย    โดยทั่วไปตอซังในพื้นที่  6   ไร่  จะให้ฟาง  5  ตัน ให้ธาตุอาหารไนโตรเจน  9   กก.ต่อไร่   ฟอสฟอรัส  2  กก.ต่อไรและโปสแตสเซียม   20  กก.ต่อไร่

                           

      คุณถวิล  เล่าต่อว่า ในหนึ่งถึงสองปีแรกผลผลิตข้าวอาจจะลดลงกว่าปกติอาจจำเป็นใช้ปุ๋ยเคมีร่วมในปริมาณที่ลดลงกว่าปกติ     แต่พอในปีที่3   ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมี   ในนาของตนเองทำมาเป็นปีที่ 7  ไม่ได้ใช้ปุ๋ยเคมีใดๆผลผลิต  1 เกวียนกว่า ต่อ 1ไร่      นอกจากนี้ในนาของตนเองใช้เชื้อราบิเวอร์เรียฉีดพ่นในการป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแทนการใช้สารเคมี  จึงทำให้ต้นทุนในการทำนาของตนเองต่ำกว่าเกษตรกรรายอื่นๆ และผลผลิตสูง    ในปัจจุบันตนเองผลิตพันธ์ข้าวและน้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วยจำหน่ายด้วย       มีเกษตรกรมาศึกษาดูงานที่แปลงนาของตนเองเป็นประจำ และได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรให้กับกลุ่มเกษตรกรและนักเรียน  สิ่งที่คุณถวิลฝากบอกอีกอย่างหนึ่งคือเกษตรกรต้องรู้จักวางแผนช่วงเวลาปลูกให้เหมาะสมโดยให้ดูว่าในพื้นที่ของตนเองน้ำท่วม  ฝนแล้ง   พายุ   อากาศเย็นจัด  อากาศร้อนจัดในช่วงไหนให้เว้นโดยเฉพาะช่วงที่ข้าวออกดอก ออกรวง  ควรวางแผนให้พ้นช่วงดังกล่าว     

                        จากที่เล่ามาก็เห็นได้ว่าคุณถวิล   สีวัง   ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของเกษตรกรที่น่าเอาเป็นแบบอย่างและยกย่องให้เกษตรกรดีเด่นสาขาทำนาระดับจังหวัดประจำปี 2553  ของจังหวัดกำแพงเพชร

 

หมายเลขบันทึก: 409825เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2010 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอ Share ครับ

ฟางข้าวมีโยชน์หลายสถาน แต่ต้องลงคนละไม้คนละมือ ครับ

ราชการส่วนใหญ่ ไม่ค่อยส่งเสริม เครื่องไม้เครืองมือ ครับ ให้แต่ตำรา มันก็เลยยากในขั้นตอนการปฏิบัติ จริงในวงกว้าง ...

 

คงต้องช่วยกันคิด ออกมาในรูปแบบของกลุ่มเกษตรกร รวมพื้นที่ ให้ได้ซัก

 1,000 ไร่

คนซัก 50 คน เฉลี่ยคนละ 20 ไร่

ใช้ปัจจัยการผลิตร่วมกัน หรือหมุนเวียนรับจ้างอัดฟางในกลุ่ม

คนที่พร้อม ออกเครืองมือ คนที่เหลือ ช่วยเหลือเอาแรงกัน

1,000 ไร่ ได้ฟางข้าว =1,000*30=30,000 ก้อน

เป็นเงิน =30,000*20 บาท =600,000 บาทครับ

หรือจะอัดฟางไว้เก็บ เก็งกำไรขายช่วงหน้าฝน ก้อนละ 30-35 บาท เงินก็จะเพิ่มขึ้นอีก 300,000-450,000 บาท รวมๆ รายได้เฉลี่ย ไร่ละ 1,000 บาท จากฟางข้าวอัดก้อน ครับ

ต้องรวมกลุ่ม share cost +utiliization เครืองมือ +สร้างอำนาจต่อรองกับตลาด ครับ

และต้องใจเย็นพอ ที่จะรอความสำเร็จร่วมกัน

สำหรับพื้นที่นาปี แนะนำให้เอาฟางไว้ในนาหลังการเก็บเกียว เพื่อคลุมหน้าดิน และปลูกถั่วต่อครับ

แต่ถ้าเป็นนาเขตภาคกลาง และเหนือล่าง ทำนา 2 ปี 5 ครั้ง

แนะนำให้เอาฟางข้าว ออกจากนา แทนการหมักฟางข้าวในนา ครับ

เหลือไว้แต่ตอฟางข้าวในนา

ถามว่าทำไม??? :

1.ปริมาณฟางข้าวมากเกินไป : ใช้กระบวนการหมักในนานาน ทำให้เกิดก๊าซมีเทน ปล่อยก๊าซ สู่บรรยากาศ ทำให้ โลกร้อน

2.กรณีใช้ เครืองจักรเตรียมดิน  ไถ หรือทำเทือก ทำให้ใช้พลังงานสิ้นเปลือง เนื่องจากมีอุปสรรคในการทำงานเพิ่มขึ้น

3.กรณีปักดำ ถ้าหมักฟางไว้ในนา แล้วยังไม่หมดแก๊ส จะทำให้ต้นกล้า เมาฟางข้าว ต้นเหลือง เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตครับ ต้องเสียปุ๋ยโดยไม่จำเป็นอีก

4.ทิ้งฟางหมักสะสมไว้ในนาหลายๆคราว ทำให้ดินเป็นเลนมากขึ้น นาหล่มมากขึ้น ทำงานในนายากขึ้น

5.การย้ายฟางข้าวขึ้นมาหมักนอกเเปลงนา ทำให้สามารถปรุงแต่งความสมบูรณ์ของ ฟางหมัก ได้ให้มีความสมบูรณ์ของธาตุอาหารเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขึ้หมู ขี้วัว ขี้ไก่ ใส่จุลินทรีย์ + เร่งปฏิกิริยาการหมักได้ ด้วยการควบคุม ภายนอกได้ครับ  กระบวนการหมักเสร็จสิ้น

ค่อยนำกลับไปปรับปรุงบำรุงพื้นที่นา ต่อ ครับ

 

รับรองเเจ่ม ......

ต้องให้ ศอฉ.ประกาศกระชับพื้นที่ ทั่วท้องนาไทย ว่า "ห้ามเผาฟาง"ครับ

 ที่ผ่านมามีแต่คนพูด ถึง "การเผาเมือง" แต่ไม่ค่อยมีคนพูด ถึง การ "เผาชนบท" ครับ

 

 เสียหายทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม หน้าดิน จุลินทรีย์ ปีๆหนึ่งหลายหมื่นล้านบาท

 เท่าไหร่เอาไปดูกัน เพิ่มเติมครับ ....

งานศึกษา จาก มูลนิธิชีววิถี (BioThai Foundation)

มูลค่าทางเศรษฐกิจของจุลินทรีย์

1. มูลค่าทางเศรษฐกิจของจุลินทรีย์ในระดับโลก

1.1 มูลค่าทางเศรษฐกิจของจุลินทรีย์ทั้งโลกมีมูลค่ามากกว่า 6 ล้านล้านบาท

1.2 เฉพาะตลาดผลิตภัณฑ์ที่ได้จากจุลินทรีย์ในญี่ปุ่นประเทศเดียวสูงถึง 1.97 ล้านล้านบาทในปี 2540

1.3 ยาที่ผลิตจากจุลินทรีย์เป็นแหล่งตั้งต้นมีมูลค่าประมาณ 1.3 – 2 ล้านล้านบาทในประเทศอุตสาหกรรม3 โดยมียาปฏิชีวนะที่ได้จากจุลินทรีย์ถึง 3,222 ชนิด

2. มูลค่าทางเศรษฐกิจของจุลินทรีย์ต่อเกษตรกรรม

2.1 มีการคำนวณพบว่าประเทศบราซิลประหยัดค่าปุ๋ยได้ถึง 63,000 ล้านบาทเนื่องจากจุลินทรีย์ที่ตรึงปุ๋ยไนโตรเจนได้จากอากาศจากการปลูกถั่วเหลือง แทนที่จะต้องซื้อปุ๋ยเคมีไนโตรเจนมาใส่ในดิน

2.2 ในสหรัฐอเมริกายอดขายเชื้อบีที (Bacillus thuringiensis)เพียงชนิดเดียว ซึ่งใช้ทั่วไปในการกำจัดหนอนแทนสารเคมีมียอดขายประมาณ 2,000 ล้านบาทในปี 2530 ส่วนยอดขายเชื้อไรโซเบี้ยม (Rhizobium)ซึ่งใช้ในการบำรุงดินมียอดขายในสหรัฐประมาณ 750 ล้านบาท ในปี 2528

3. การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในประเทศไทย ข้อมูลของกรมพัฒนาที่ดินเมื่อปี 2547 ระบุว่ามีเกษตรกรที่ใช้จุลินทรีย์เพื่อการปรับปรุงบำรุงดินและควบคุมศัตรูพืชประมาณในประเทศไทยจากการส่งเสริมของราชการมีอย่างน้อย 1.5 ล้านครอบครัว หรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่มากกว่า 15 ล้านไร่ คิดเป็นมูลค่าผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจากการลดการใช้สารเคมีการเกษตรและทำให้รายได้ครอบครัวเพิ่มขึ้นมีมูลค่าทางเศรษฐกิจประมาณ 9,400 ล้านบาท อย่างไรก็ตามมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย)คาดการณ์ว่ายังมีเกษตรกรที่ใช้น้ำหมักชีวภาพเพื่อปรับปรุงบำรุงดินโดยการส่งเสริมขององค์กรที่ไม่ใช่ราชการเองอีกอีกหลายแสนครอบครัวซึ่งไม่นับรวมอยู่ในยอดรวมข้างต้น

4. ศักยภายทางเศรษฐกิจของการจุลินทรีย์ในประเทศไทยมาใช้ประโยชน์ หากคำนวนศักยภาพทางเศรษฐกิจในการนำจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในประเทศไทยมาใช้ประโยชน์โดยการคำนวณจากมูลค่าทางเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์ที่ได้จากจุลินทรีย์ในระดับโลกมาเป็นฐานในการคำนวณ โดยเปรียบเทียบกับตัวเลขxxxส่วนความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับความหลากหลายทางชีวภาพที่มีอยู่ในโลก ประมาณการว่าศักยภาพทางเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์นั้นจะมีมูลค่าสูงถึง 1.6 – 6 แสนล้านบาท/ปี 1

ประมาณการจากงานศึกษาของ National Research Council Committee on Managing Global Genetic Resources, US และ Microorganisms and the development of bioindustries in Japan โดย S.Sumida 2 Microorganisms and the development of bioindustries in Japan by S.Sumida 3ity, August, 1995, p. 3. Report of a workshop organized by the Center for Microbial Ecology at Michigan State Univers4 Robbins-Roth, Cynthis. "Xenova Ltd.: Growing New Technology", Bioventure View, May 1993. 5 THE VALUE OF MICROORGANISMS AND GENOMIC INFORMATION, Economic Valuation of the Diversity of Biological Nitrogen Fixing Microorganisms in Agriculture. Heitor L. C. Coutinho ([email protected]), Norma G. Rumjanek ([email protected]), Eduardo Cadavid & Johanna 6 The Economic Value of Microbial Diversity, Hamdallah Zedan, Biodiversity and Biotechnology, UNEP

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท