KM ที่รัก ตอนที่ 29 เปลือกทุเรียน อาหารอันโอชาของปลาดุก


ทางรอดของชาวบ้านพื้นฐานการพึ่งตนเอง
        การแก้ปัญหาความยากตน เป็นคำที่ใหญ่และศักดิ์สิทธิ์มาก เป็นภาระแห่งชาติ ที่ทุกฝ่ายให้ความสำคัญ แม้แต่การตีความของความคิดว่า ยากจน นักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ หรือแม้แต่ตัวของชาวบ้านเองก็ตีความต่างกัน ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงรายได้ และรายจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   แล้วมันมาเกี่ยวข้องกับ เปลือกทุเรียน.... อาหารอันโอชะของปลาดุกได้อย่างไร..        เรื่องนี้ต้องกลับไปดูความหมายของคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ  แปล ตามตัวว่า ตนนั่นแหละ เป็นที่พึ่งแห่งตน  แต่ความหมายแค่นี้ยังไม่ เนียนพอ จึงไปขอคำชี้แจงจาก อาจารย์มหาพิสิฐชัย  สายระดา  อาจารย์ที่ปรึกษาภาควิชา พัฒนาบูรณาการศาสตร์ เพื่อที่จะให้ความหมายที่เนียนและลึก อาจารย์อธิบายว่า การพึ่งตนเองนั้นคนเราต้องพึ่งตนเองก่อน ทุกเรื่องหากความสามารถของเราไม่พร้อมในทุกเรื่องค่อยพึ่งพาคนอื่น ขอคำแนะนำจากเขา คือครู อาจารย์         การที่ไปขอคำแนะนำจากคนอื่นก็เกิดจากการพึ่งตนเอง เพราะเราสามารถรู้ว่าใครจะให้คำแนะนำเราได้เรื่องนั้นๆ        ทฤษฏีต่างๆที่การพึ่งตนเองเราอ่านมามากแล้ว ลองมาดู กรณีนักวิชาการที่ลงปฏิบัติเอง ปกติแล้ว ปลาดุก จะมีอยู่ 2 ประเภท คือปลาดุกตามธรรมชาติ และปลาดุกเลี้ยงที่ต้องให้อาหาร นั้น...... มีโจทย์จากนักวิชาการทางการเกษตร (ประมง)  ปลาดุกที่เลี้ยงไว้ถ้าไม่ให้อาหารสำเร็จรูปจะไม่โต เด็ดขาด แต่มีนักวิชาการทางการเกษตร (นอกกรอบ) ไม่เชื่อและลงมือปฏิบัติลองดู เลี้ยงปลาทุกอย่าง( อ.แสวง   รวยสูงเนิน) หลังจากท่านมีความแตกหักทางความคิดกับนักวิชาการหลักเหล่านั้นแล้วก็ลงมือปฏิบัติ  โดยการขุดบ่อ เลี้ยงปลาในที่นาของตนเองทันที  โดยมีคติประจำตัวที่ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าวสิ่งแรกที่ลงมือทำคือ การขนเศษไม้ ใบไม้   มูลสัตว์ ทุกอย่างลงไปในบ่อปลาดุก ยังตามด้วย เศษเปลือกทุเรียน ต่อมาเปลือกทุเรียนเปื่อยเป็นวุ้น และหายไป จาการสังเกตเห็นว่าปลาดุกกินไปนั้นเอง หลังจากนั้น อ.แสวง ก็ได้นำเปลือกทุเรียนมาโยนให้ปลาดุกกินทุกวัน และปลาดุกเติบโตเร็วมาก และโตเร็วกว่าการเลี้ยงปกติถึง 4 เท่า ที่สำคัญสามารถตอบคำถามว่า สามารถเลี้ยงปลาทุกชนิดอยู่ร่วมกันได้ ถ้าสามารถทำให้ระบบนิเวศที่สมบูรณ์จะสร้างอาหารอย่างเพียงพอ หรือมีก็น้อยมาก และปลาบางชนิดทำหน้าที่เป็นเทศบาล เช่นปลาไหล จะกินซากสัตว์ที่ตายแล้ว           น่าจะเป็นกรณีตัวอย่างที่อธิบายแนวทางการพึ่งตนเองของ ชาวบ้านที่อยากจะ แก้ปัญหาความยากจน เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  เป็นอยู่อย่างมีความสุข ตามอัตภาพต่อไป   

 

หมายเลขบันทึก: 40959เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2006 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
น่าสนใจมากครับที่ใช้เปลือกทุเรียนมาใช้เลี้ยงปลาดุก 
จากนี้ไปเปลือกทุเรียนก็จะมีคุณค่า  ระวังฝรั่งจะมาจดลิขสัทธิ์ก่อน

ขอบคุรน่ะค่ะ...สำหรับข้อมูล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท