การบริหารจัดการเพื่อการยกคุณภาพการศึกษา


การบริหารจัดการคุณภาพ

          ผมได้อ่านข่าวหนังสือพิมพ์ พบว่า อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏทางภาคอีสานแห่งหนึ่งถูกปลดให้พ้นตำแหน่ง เพราะการบริหารไม่มีคุณภาพ ในระยะเวลาที่ผ่านมา 1 ปี ข่าวนี้สะท้อนให้ทราบถึงระบบบริหารของมหาวิทยาลัยที่มุ่งยกระดับคุณภาพ มีความเข้มงวดมาก และมุ่งประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ที่ส่งผลต่อองค์กร ที่น่าจะนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารขององค์กรอื่นด้วย โดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ละโรงเรียนก็มีคณะกรรมการเหมือนกันกับมหาวิทยาลัย และที่ผ่านมาก็มีการทำข้อตกลง โดยการทำเป็นเอกสารว่าผู้บริหารจจะดำเนินการให้สู่เป้าหมายที่กำหนด แต่ไม่มีเงื่อนไขว่าผลที่เกิดขึ้น ผ่าน ไม่ผ่านไม่ทราบเป็นอย่างไรดีมากก็ไม่กล่าวถึง ล้มเหลวก็ไม่มีผลอย่างไร แต่ละปีก็เงียบหาย

         หากเป็นไปได้ ควรที่จะทำข้อตกลงที่ทุกฝ่ายได้รับรู้และตั้งตัวชี้วัดเป็นรายข้อ เมื่อไม่ผ่านเกณฑ์ควรจะทำอย่างไร นำมาตรการที่เป็นเงื่อนไขต่างๆไปใช้ เช่นการเลื่อนขั้น ความชอบ เพิ่ม หรือ ลดลง การได้ย้ายไปสู่โรงเรียนที่ดีขึ้น หรือไม่มีสิทธิขอย้าย หรือให้ย้ายไปโรงเรียนที่ต่ำกว่า กรณีที่ไม่ผ่านตามตัวชี้วัด หรืออาจจะนำผลการสอบ O-net ผลสอบ NT มาใช้ประกอบ ผลการบริหารจัดการ ถ้าวิเคราะห์โรงเรียนที่มีคุณภาพ การบริหารมักใช้เชิงวิทยาศาสตร์ กล่าวคือ ตั้งเป้าหมายไว้ ดำเนินการ เรียงลำดับความยากง่าย ความเข้มของตัวชี้วัดว่าต้องแก้อย่างไร จากนั้นจึงระดม ความร่วมมือในการบริหารจัดการที่เป็นกระบวนการ แก้ไขปรับปรุง ตามหลักบริหาร  หากกำหนดให้ ผู้อำนวยการสำนักงานเขต เป็นผู้จัดการโรงเรียน ผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้รับข้อตกลง  รับปากว่าจะดำเนินการตามนั้น พอสิ้นปีการศึกษา ก็ประเมินผลตามตัวชี้วัด ถ้าไม่ผ่าน ก็ดำเนินการตามที่สถาบันดังกล่าวดำเนินการ ก็น่าจะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา นำมาใช้ในการปฏิรูปรอบ 2 ได้ กระผมเคยคิดรูปแบบนี้ไว้ เคยคิดจะตั้งบริษัทรับเหมา ยกระดับคุณภาพโรงเรียนที่คุณภาพต่ำ ภายในระยะเวลา 3 ปี โดยมีข้อตกลงที่คล้ายกับการรับประกันว่า ถ้าไม่ดีจริง ไม่สูงขึ้น ก็ต้องยอมให้ปรับ หรือยกเลิกสัญญา งดจ่ายค่ารับเหมา เหมือนงานก่อสร้าง การบริหารแบบนี้น่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การบริหารที่เกิดจากความกล้าตัดสินใจและคิดนอกกรอบจะทำให้การศึกษาไทยมีคุณภาพ

          ผู้ที่ไม่เห็นด้วยเรื่องนี้ ผมเชื่อว่าจะมีมาก แต่ การที่จะพิสูจน์ว่าเป็นไปมากน้อยเพียงใด ก็น่าจะนำมาทดลองใช้ในบางเขตพื้นที่ เป็นการวิจัยและพัฒนา(R&D)ดู น่าจะได้คำตอบนะครับ

หมายเลขบันทึก: 409559เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2010 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท