การบริหารโรงเรียนมัธยม แบบมัธยมศึกษา


โรงเรียนมัธยม ควรบริหารตามวัยของนักเรียน

การบริหารโรงเรียนมัธยม แบบมัธยมศึกษา

     เมื่อวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2553 ได้มีการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพมและสพป) ทั่วประเทศ ณ โรงแรมทวินโลตัส ผมได้มีโอกาสได้รับใช้ท่าน ผอ.สพป. ทางภาคอิสาน 5 ท่านด้วยกัน  โดยการบริการในฐานะชาวนครศรีฯ ซึ่งมีหน้าที่เป็นพนักงานขับรถ มีท่าน ผอ.สพป ท่านหนึ่งได้ถามว่า เมื่อแยกเป็นเขตพื้นที่มัธยมศึกษา แล้วเป็นอย่างไรบ้าน ผมตอบท่านว่า ดี ครับ  ในวงสนทนาบนรถผมสรุปใจความสำคัญว่า

     1. สพฐ. ควรตั้งเป็นสำนักบริหารมัธยมศึกษา และสำนักบริหารประถมศึกษา

     2. ควรเป็นเขตพื้นที่มัธยมศึกษาจังหวัด จังหวัดละ 1 เขตพื้นที่

     3.ไม่เห็นด้วยกับการที่รวมโรงเรียนมัธยมศึกษา และประถมศึกษา มารวบศูนย์อำนาจการบริหารไว้ที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแห่งเดียวกัน

     4. ไม่ต้องการเป็น ผอ.สพม. เพราะมี  2-3 จังหวัดเป็น 1 เขตพื้นที่

     5. โรงเรียนมัธยมศึกษาบริหารแบบมอบหมายงาน บุคลากรมีหน้าที่พิเศษเฉพาะ และชัดเจน เช่นเจ้าหน้าที่การเงิน เจ้าหน้าที่พัสดุ แบ่งงานกันชัดเจน และปฏิบัติได้จริง เป็นรูปธรรม ซึ่งแตกต่างกับโรงเรียนประถมศึกษาบางแห่ง ผอ.เป็นทั้งครูใหญ่ ครูน้อย และภารโรง บางโอกาสเป็นเจ้าหน้าที่ธุรการเอง

     6. หากต้องการคุณภาพนักเรียนประถมศึกษา ควรแก้ไขเกณฑ์ครูเกิน ครูขาด ไม่ควรยึดจำนวนนักเรียนเป็นเกณฑ์ แต่ควรยึดจำนวนห้องเรียน เช่นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก มีนักเรียน ป.1 - ป.6 ควรจัดให้มีครูครบชั้นเรียน (6 คน) ไม่ว่านักเรียนแต่ละชั้นเรียนมีมากน้อยเพียงใด

     7. ควรกำหนดขนาดโรงเรียนมัธยมศึกษา เช่น โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดควรรับนักเรียนประมาณ 2000-2500  คน โรงเรียนมัธยมศึกษา ประจำอำเภอ ประมาณ 1000 - 1999 คน ที่เหลือให้เป็นหน้าที่ของโรงเรียนมัธยมศึกษประจำตำบล ซึ่งเป็นการกระจายการบริหารเยาวชนร่วมกัน

     8.  การแก้ปัญหาในสำนักงานเขตพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นปัญหาบุคลากรทั้งนั้น บางครั้งเป็นปัญหากับเจ้านายระดับสูง และกระทั้งการเมือง

     ผมนั่งขับรถไป ฟังไป คิดไป นึกในใจว่า ดีแล้ว ที่ไม่เป็น ผอ สพป

หมายเลขบันทึก: 409076เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2010 03:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เมืองไทยเรานี่แปลก ก่อนหน้านี้ก็เป็นโครงสร้างที่ดีอยู่ แล้วมาเปลี่ยนใหม่จนเกิดปัญหา ก็กลับมาแยกเหมือนเดิมอีก นี่ล่ะครับมันสมองของบรรดานักการศึกษาระดับหอคอยงาช้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท