เอกซเรย์สนามบินเสี่ยงมากไหม


สำนักข่าว 'Dailymail.co.uk / Mailonline' ตีพิมพ์เรื่องความเสี่ยงเอกซเรย์สนามบินไฮเทครุ่นใหม่ หรือเครื่องสแกนเอกซเรย์ภาพผิวหนังทั่วตัว (backscatter scanner) ในสหรัฐฯ และยุโรป
.
เครื่องนี้ทำให้มองผ่านผิวกายได้อย่างทะลุประโปร่ง เห็นไส้เห็นไซส์หมดว่า หุ่นดีหรือไม่ ขนาดเท่าไร, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ Dailymail.co.uk / Mailonline ]
.
.
ศาสตราจารย์ปีเตอร์ เรซ จากมหาวิทยาลัยอริโซนา สเตท สหรัฐฯ กล่าวว่า ความเสี่ยงมะเร็งจากการตรวจสแกน 1 ครั้ง = 1 ใน 30 ล้าน, นั่นคือ ถ้าตรวจสแกนเอกซเรย์สนามบินแบบนี้ 30 ล้านครั้งจะมีโอกาสเป็นมะเร็ง 1 ครั้ง
.
โอกาสเป็นมะเร็งจากการตรวจมีต่ำกว่าโอกาสเครื่องบินถูกระเบิด หรือคน 1 คนถูกฟ้าผ่าใน 1 ปี
.
.
บริเวณที่ได้รับปริมาณรังสีสูงหน่อย คือ ผิวหนัง เนื่องจากเป็นทางเข้า-ทางออกของรังสี
.
อ.ดร.เดวิด เบรนเนอร์ ผอ.ศูนย์วิจัยทางรังสี มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐฯ กล่าวว่า ความเสี่ยงอันตรายในเด็กเฉลี่ยจะสูงกว่าผู้ใหญ่
.
.
ประชากรที่มียีนส์หรือพันธุกรรมผ่าเหล่า (gene mutations) ซึ่งทำให้การซ่อมแซมสายพันธุกรรม DNA ทำได้น้อยลงจะเสี่ยงกว่าประชากรทั่วไปเช่นกัน
.
คนเรามีโอกาสมียีนส์ผ่าเหล่าแบบนี้ประมาณ 1/20 หรือ 20 คนมีความบกพร่องแบบนี้ 1 คน
.
.
ประชากรบนโลก 6,882.337 ล้านคน มีคนที่ขึ้นเครื่องบินทุกปีประมาณ 800 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 11.62[ census ]
.
สำนักอากาศยานพลเรือน UK (Civil Aviation Authority / CAA) รายงานว่า ความเสี่ยงจากการเอกซเรย์ภาพผิวหนังทั่วตัวแบบนี้ 5,000 ครั้งจะทำให้คนเราได้รับปริมาณรังสี = เอกซเรย์ปอด 1 ครั้ง
.
.
ปริมาณรังสีจากการตรวจ 1 ครั้ง = การนั่งเครื่องบินข้ามมหาสมุทรแอทแลนติค (transatlantic flight) 2 นาที
.
CAA ประมาณการณ์ว่า ขนาดที่ถือว่าปลอดภัยสำหรับประชากรทั่วไป คือ ตรวจสแกนแบบนี้ไม่เกิน 5,000 ครั้ง/ปี
.
สรุปคือ ปริมาณรังสีจากการตรวจสแกนเอกซเรย์ภาพผิวหนังทั่วตัวที่สนามบินปลอดภัยกว่าความเสี่ยงภัยจากการก่อการร้ายเยอะแยะเลย
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

ที่ มา                               

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 18 พฤศจิกายน 2553.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 409066เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2010 23:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นหัวเรื่องแล้วรีบเข้ามาอ่านทันที

เลยโล่งใจไประดัับหนึ่งเพราะเอกซเรย์บ่อยๆค่ะ  โดยเฉพาะสนามบิน  บางครั้งเราไปรับหรือส่งคนอื่นก็ต้องโดนไปด้วย  หวังว่าคงไม่มียีนส์ผ่าเหล่าอยู่ในตัวนะคะ..

ภาพรวมแล้ว ปลอดภัยมากกว่าความเสี่ยงจากการก่อการร้ายมากมายครับ.......... // เมืองไทยเราเป็นเมืองท่องเที่ยว ภาพพจน์ทางด้านความปลอดภัยมีความสำคัญต่อความอยู่รอดของการท่องเที่ยวไทยมากๆ เลย

เรียนท่านอาจารย์หมอวัลลภ

  • เจ้าหน้าที่ที่นั่งประจำเครื่อง และ ยืนใกล้ๆ เครื่องดังกล่าว มีผลอย่างไรใหมครับ
  • วานก่อนเห็นที่สนามบินแถวแถว ขก คนคุมเครื่องท้องอีกต่างหาก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท