ปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน


ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก,นักเรียนมีส่วนร่วม,มีเครื่องมือในการแก้ปัญหา

          ที่ผ่านมา ยอมรับว่ายังเข้าไม่ถึงการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Child Centred จนมาถึงวันนี้ วันที่อยู่ในยุคปฏิรูปรอบสอง ปัญหาของดิฉันอยู่ที่ผ่านมาคือ ไม่ได้ศึกษาองค์ประกอบสำคัญของการจัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปให้ชัดเจน ก็เลยสะเปสะปะไม่เป็นท่าอยู่หลายภาคเรียน ปัจจุบันปัญหาดังกล่าวของดิฉันได้รับการแก้ไขจนกระจ่างด้วยตนเอง เนื่องจากดิฉันได้ประสบการณ์ตรงมาด้วยตนเอง โดยวิเคราะห์คำกล่าวของนักวิชาการที่ได้กล่าวไว้ว่า"ปรับวิธีเรียน เปลี่ยนวิธีสอน" ปรากฏว่า เห็นผลจริง คือผลผลิตหรือนักเรียนที่อยู่ในความรับผิดชอบสามารถสร้างความรู้ด้วยตนเองในระดับที่ทั้งดิฉัน โรงเรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง และชุมชนพอใจมากถึงมากที่สุด จึงอยากขอเสนอองค์ประกอบที่สำคัญของ การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดนี้โดยสังเขป ตามบทบาทและหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ไว้ดังนี้ 

           ครู -เป็นผู้อำนวยความสะดวก จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย, บูรณาการไอซีทีมาใช้ในการเรียนการสอน และวัดผลและประเมินตามสภาพจริง ด้วยวิธีการที่หลากหลายเช่นกัน 

           นักเรียน -มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน แก้ปัญหาที่เกิดจากการเรียนรู้อย่างมีขั้นตอน, สร้างความรู้ด้วยตนเอง และมีชิ้นงาน

           ผู้ปกครอง - กำกับ ดูแล เอาใจใส่ สังเกตพฤติกรรม อบรมเลี้ยงดูตลอดจนมอบหมายหน้าที่ในฐานะที่เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคมระดับครอบครัว

           สรุปได้ว่า การจัดการศึกษาตามแนวคิดนี้นำมาใช้ในการแก้ปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบเดิมเดิมที่น่าเบื่อหน่ายไม่เร้าใจทั้งครูผู้สอนที่มีบทบาทเป็นผู้บอกความรู้ใช้วิธีการสอนแบบเดียว สื่อประกอบเก่าไม่ทันสมัย รวมทั้งวิธีการวัดผลประเมินผลที่ใช้แบบทดสอบแต่เพียงอย่างเดียว หันมาเปลี่ยนวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอน ครูเปลี่ยนบทบาทจากผู้บอกความรู้มาเป็นผู้อำนวยความสะดวกคอยแนะนำ ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนตามศักยภาพ วิเคราะห์ผู้เรียน ใช้ขั้นตอนการวิจัยเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของนักเรียนและจัดประสบการณ์ให้นักเรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และที่สำคัญที่สุดให้นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้แก้ปัญหาที่เกิดจากการเรียนและปัญหาที่เกิดขึ้นจากการดำเนินชีวิตประจำวันได้ นับว่าเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืนบนรากฐานของความพอเพียงตามแบบฉบับของคนไทยได้

หมายเหตุ  สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจนั้น ดิฉันจะนำมาเสนอขั้นตอนการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป ..

หมายเลขบันทึก: 408905เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2010 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 13:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตามมาเรียนรู้ครับ ครูเป็นคุณอำนวย วิธีคิดแบบนี้ ชื่นชมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท