ทดสอบความรู้ : ภาพอะไรเอย? (8)


ทบทวน ทดสอบความรู้ของตนเอง เกี่ยวกับเรื่องทางรังสีเทคนิคจากเครื่องมือที่น้อยคนจะได้เห็นภาพเหล่านี้ ลองคิดดูว่า... ภาพของอะไรเอย?

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำภาพมาให้ชมกัน เพื่อเป็นการทบทวน หรือทดสอบตัวเองของบุคลากรทางรังสีเทคนิคและผู้สนใจ ครับ

 

ผมมีเฉลยให้ด้วย แต่ก่อนที่จะดูเฉลย ทดลองถามตัวเองว่ารู้อะไรบ้างจากภาพ

ภาพที่เห็น คือ อะไร? อยู่ตรงไหน? ทำหน้าที่อะไร? เป็นส่วนประกอบของเครื่องมืออะไร?

 

 

 

 

 

  

  

เฉลย  ให้ลาก Cursor ด้านล่างแล้วจะพบข้อความ

อุปกรณ์นี้ คือ แผ่นกรองรังสีที่อยู่ด้านหน้าของหลอดเอกซเรย์สำหรับการถ่ายเต้านมด้วยรังสีเอกซ์ สารที่นิยมใช้กัน คือ เบอริลเลี่ยม (Berrylium : Be ; Z=4) หนาประมาณ 1 มิลลิเมตร  แผ่นนี้ทำหน้าที่ช่วยกรองรังสีเอกซ์พลังงานต่ำออกไป ช่วยลดปริมาณรังสีที่ไม่จำเป็นออกไป ทำให้ผู้รับบริการไม่ได้รับรังสีเกินความจำเป็น 

 

 

 

ภาพของเครื่องเอกซเรย์เต้านม ที่ถอดอุปกรณ์บางส่วนออกไป เพื่อให้เห็นส่วนประกอบอื่นๆที่ชัดเจน เช่น กระจกที่ใช้สะท้อนแสงไฟ สำหรับการควบคุมลำรังสี

 

 

 

หลอดเอกซเรย์เต้านมที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอก แสดงขนาดและตำแหน่งจุดโฟกัส

 

หมายเลขบันทึก: 408841เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2010 16:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอบคุณค่ะอาจารย์ พึ่งเคยเห็นเครื่อง Mammo ผ่าตัดข้างในค่ะ..

ขอบคุณครับอาจารย์ต้อม

ลากไม่หมด ตกใจหมดเลยครับ เพราะมันขึ้นด้วย นมด้วยเอกซเรย์

อาจารย์ เครื่องรุ่นไหนครับ เปลี่ยน tubeใหม่ หรือเปล่าครับ

มาชมเครื่องมือเอกซเรย์เต้านมคะ นมเล็กๆๆ แต่ทำไมถ่ายเครื่องเสียดูเครื่องใหญ่มโหฬารเลยคะ  หลอดเอกซเรย์เต้านม ใหญ่เท่าไหนหนอ  และได้กดเคอร์เซอร์ คำเฉลย  สุทำเป็นด้วยคะ อาจารย์มีเทคนิค ซ่อนตัวหนังสือคำเฉลยได้ด้วย เก่งมากเลย ที่เก่งเพราะสุไม่เคยรู้ว่า ซ่อนตัวหนังสือก้ได้คะ น่าสนใจนะคะ

-สำหรับนักศึกษาเทคนิคคงได้ประโยชน์มากเลย สำหรับสุก็ได้ รู้ในสิ่งที่ไม่รู้คะ ขอบคุณมากคะ  ส่งเสริมประสบการณ์ชีวิตเรื่องเครื่องเอกซเรย์เต้านมได้คะ

-โดยเฉพาะเครื่องกรองรังสี ที่ไม่ให้มีจำนวนมากเกินความจำเป็น เก่งนะคะ คนที่ผลิต และคนที่ใช้เป็น และเข้าใจอุปกรณ์ ว่าใช้ทำอะไรบ้าง ยิ่งเก่งไปอีกคะ

เรียน คุณปรีชา

ที่ผมได้ถ่ายภาพ ก็เนื่องมาจากหลอดเอกซเรย์ชำรุด ต้องเปลี่ยนใหม่ ทำให้เป็นโอกาสดี ที่พวกเราจะได้เห็นอุปกรณืภายในมากขึ้น

เรียน คุณสุฯ

เครื่องเอกซเรย์เต้านม เป็นขนาดมาตรฐาน สำหรับคนไทย อาจดูว่าเครื่องใหญ่ แต่ชาวยุโรป อเมริกา เครื่องดูเล็กไปเลยครับ

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยี่ยม ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท